เยอะเว่อร์! นี่คือปริมาณของขยะอวกาศ ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1957 – 2015

ไม่น่าเชื่อว่า รอบโลกของเราจะมีขยะอวกาศโคจรอยู่เป็นจำนวนมหาศาล

ตอนนี้ นาซ่ากำลังติดตามขยะอวกาศกว่า 20,000 ชิ้นที่เป็นชิ้นส่วนของจรวด ดาวเทียมหมดอายุ และเศษชิ้นส่วนเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่าลูกซอฟท์บอล ที่โคจรอยู่รอบโลกด้วยความเร็วกว่า 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 27,353 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีวัตถุขนาดลูกแก้วหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยกว่า 500,000 ชิ้น ที่ถูกติดตามอยู่เช่นกัน ส่วนวัตถุที่เล็กกว่านั้นมีอีกนับล้าน ที่ไม่สามารถติดตามได้

spacejunk-2

ด้วยจำนวนที่มากมายขนาดนั้น เป็นการยากที่จะเห็นภาพได้ แต่วีดีโอใหม่ล่าสุดนี้ที่ถูกจัดทำโดย ดร.สจวต เกรย์ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงให้เห็นถังปริมาณขยะอวกาศที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1957 จนถึง 2015 ว่ามีมากมายขนาดไหน ลองไปชมกัน

และภาพนี้แสดงให้เห็นว่าการทดลองจรวดมิสไซล์ของจีนในปี 2007 ส่งผลให้เกิดขยะอวกาศชิ้นใหม่จำนวนกว่า 2,000 ชิ้น โคจรอยู่รอบโลก

spacejunk-1

แน่นอนว่า ในเมื่อขยะอวกาศมีเยอะมากและอาจเป็นอันตรายต่อดาวเทียมได้ นักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องติดตามขยะอวกาศเหล่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่มาพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ แต่ก็ไม่โชคดีเสมอไป เพราะในปี 2013 คริส แฮดฟิลด์ นักบินอวกาศชาวแคนาดา พบหลุมขนาดใหญ่ในแผงโซลาเซลล์ บนสถานีอวกาศ ถึงแม้ความเสียหายไม่ได้รุนแรง แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า ขยะอวกาศเหล่านี้เป็นปัญหาที่อันตรายจริงๆ

ที่มา : Stuart Grey | mashable | เรียบเรียงโดย เพชรมายา