10 สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่เข้าใจผิดคิดว่าธรรมชาติสร้าง

ถ้าหากให้คุณทายของสักสิ่งว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หลายคนคงมั่นใจว่าจะต้องทายถูกอย่างแนนอน แต่มันจะเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า คุณมั่นใจแค่ไหนว่าสามารถแยกออกระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น วันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาชมหลายสิ่งที่เราอาจเข้าใจผิดคิดว่ามันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่จริงๆ แล้วมันคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นต่างหาก

1. เพชร

ประมาณ 90% ของเพชรที่อยู่ในแหวนแต่งงานคือเพชรจากธรรมชาติ แต่ส่วนที่เหลือมันคืออัญมณีที่ถูกสร้างมาจากห้องแล็บ แต่คุณมั่นใจแค่ไหนว่าจะแยกของปลอมกับของจริงที่แตกต่างกันได้ ?

2. ลุ่มน้ำอะเมซอน

เรารู้จักกันดีว่าลุ่มน้ำอเมซอนเป็นพื้นที่ๆ มีพืชและสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์มากมายหลายชนิด แต่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำทั้งหมดในอเมซอนไม่ได้เกิดจากธรรมชาติอย่างที่คุณคิด นักวิจัยพบว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกปรับเปลี่ยนใหม่จากการแทรกแซงของมนุษย์ ชาวอเมซอนสร้างเขื่อน ขุดคลอง ปลูกต้นไม้ที่จำเป็นต้องการดำรงชีวิตในป่าแห่งนี้ และยังทำให้มันกลมกลืนไปกับธรรมชาติ เพื่อให้ทั้งธรรมชาติและมนุษย์สามารถเติบโตไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่ทำลายซึ่งกันและกัน

3. หมอกในท้องฟ้า

บางครั้งที่เรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า และเห็นว่ามันไม่ได้สดใส กลุ่มหมอกควันจางๆ ที่ปกคลุมท้องฟ้าเหล่านี้ไม่ใช่หมอกที่เกิดจากธรรมชาติเสมอไป เพราะท้องฟ้าแบบนี้เกิดมาจากระดับมลพิษในอากาศที่เพิ่มขึ้น จนถึงระดับที่เกิดเป็น “หมอกควัน” คล้ายกับหมอกที่เกิดตามธรรมชาติ ดังที่เราเห็นในเมืองใหญ่ๆ ในประเทศจีน และมันจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ เด็ก คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอดและหัวใจ

4. บ่อน้ำพุหลากสี Morning Glory Pool

ถ้าหากใครที่เคยเห็นบทความเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน ก็มักจะเห็นภาพบ่อน้ำพุร้อนหลากสีนี้ ซึ่งมันมีชื่อเรียกว่า “Morning Glory Pool” สิ่งที่โดดเด่นของมันก็คือสีสันที่หลากหลายที่ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และแน่นอนว่าหลายคนคงคิดว่ามมันเป็นบ่อน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นตามมธรรมมชาติ แต่คุณเข้าใจผิดถนัด

ในช่วงทศวรรษที่ 1960 สีของบ่อแห่งนี้คือสีน้ำเงินเนื่องจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในน้ำ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ก็มักจะขว้างเหรียญ ก้อนหิน และขยะลงไป จนส่งผลให้เกิดการอุดตันช่องระบายน้ำ ทำให้อุณหภูมิของบ่อน้ำร้อนลดลง และสารเคมีจากเหรียญและขยะ ส่งผลให้แบคทีเรียบางชนิดเกิดการเจริญเติบโตและเกิดแบคทีเรียชนิดใหม่ขึ้น เมื่อระบบนิเวศเปลี่ยนไป สีสันของบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

5. ไข่มุก

ไข่มุกจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่หายากมากๆ ไข่มุกส่วนใหญ่ที่เราเห็นในท้องตลาดเกิดจากการเพาะเลี้ยงไข่มุกโดยมนุษย์ ที่จำลองกระบวนการตามธรรมชาติภายในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมอย่างจำกัด

6. น้ำพุร้อนลอยฟ้า ฟลาย ไกเซอร์ (Fly Geyser)

ไกเซอร์ คือลักษณะของน้ำพุร้อนปล่อยกระแสน้ำร่วมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ การเกิดของไกเซอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยา แต่ในบางครั้งมนุษย์เองก็มีส่วนทำให้เกิดบ่อน้ำพุร้อนเหล่านี้ขึ้น ตัวอย่าเช่นบ่อน้ำพุร้อนชื่อดังอย่าง ฟลาย ไกเซอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการขุดเจาะสำรวจพื้นที่บริเวณดังกล่าวในปี ค.ศ. 1964 ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้บ่อน้ำร้อนปะทุขึ้นโดยบังเอิญ

7. แมงมุม

การเติบโตของบ้านเมืองอย่างรวดเร็วสร้างความอันตรายต่อสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยป่าคอนกรีต แต่มีสัตว์บางชนิดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่นี้ได้ โดยเฉพาะ “แมงมุม” ที่ถือเป็นผลดีมากยิ่งขึ้นไปอีก ตัวอย่างเช่น แมงมุมใยไหมทอง (Golden Silk Orb-Weaver Spider) คือหนึ่งในเผ่าพันธุ์แมงมุมที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้เมืองใหญ่

8. พืช ผลไม้ และสัตว์

คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า หน้าตาของผักผลไม้หลายชนิดนั้นถูกปรับเปลี่ยนหน้าตามาหลายร้อยปี มนุษย์ใช้วิธีการ “คัดเลือกพันธุ์” คือกระบวนการที่มนุษย์ผสมพันธุ์สัตว์และพืชเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) คือการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตหนึ่งมาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ที่ตามปกติแล้วจะไม่ได้มีโอกาสผสมพันธุ์กันตามชาติ ดังนั้นหน้าตา พืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น

9. แผ่นดินไหวบางครั้ง

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น เรามักจะตำหนิว่าเป็นเพราะผลจากความโกรธเกรี้ยวของธรรมชาติ แต่แผ่นดินไหวบางครั้งก็ไม่ใช่ความมผิดของธรรมชาติเสมอไป เพราะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การขุดเจาะน้ำมันแบบทั่วไป การขุดเจาะน้ำมันแนวนอน โดยการใส่สารเคมีทำลายชั้นใต้หิน หรือการสร้างเขื่อน ตัวอย่างเช่นการเกิดแผ่นดินไหวในอินเดียที่เป็นผลมาจากการสร้างเขื่อน Koyna ที่ส่งผลให้มีผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 50,000 ชีวิต

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ