14 ภาพถ่ายที่เป็นกระแสบนโลกออนไลน์ แต่ถูกจับได้ว่าเป็นภาพปลอม

สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องจำเอาไว้เวลาที่พบเจออะไรเจ๋งๆ บนโลกออนไลน์ นั่นก็คือไม่ใช่ทุกสิ่งที่เห็นจะเป็นเรื่องจริงเสมอไป เพราะยังมีภาพถ่ายมากมายที่ปรากฏว่าจริงๆ แล้ว มันคือของปลอม 100% และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาชมภาพถ่ายเหล่านี้ ที่เคยหลอกลวงชาวเน็ตมานาน จนกระทั่งถูกจับได้ว่ามันคือของปลอม มาดูกันว่าคุณจะเคยถูกหลอกด้วยภาพถ่ายเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

1. ป่าสีม่วงในสกอตแลนด์

หลายๆ คนที่เห็นภาพป่าสีม่วงที่อยู่ระหว่างหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่านนี้ อยากจะเดินทางไปที่นี่สักครั้งในชีวิต ซึ่งในความเป็นจริง สีม่วงที่เราเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตัดต่อด้วย Photoshop และภาพต้นฉบับก็คือภาพถ่ายใกล้กับแมน้ำ Shotover ในประเทศนิวซีแลนด์ แต่ถึงแม้มันจะมีแค่ป่าสีเขียว แต่ก็ยังสวยงามมากอยู่ดี

2. เกาะรูปพระจันทร์เสี้ยวและดาว

ภาพของเกาะโมโลกินี แห่งนี้ถูกมือดีนำไปโปรโมทว่า มันคือเกาะที่มีรูปดาวและพระจันทร์เสี้ยวตามธรรมชาติ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเกาะเมาวีและเกาะคาฮูลาวี ในฮาวาย แต่ในความเป็นจริง เกาะโมโลกินี มีเพียงแค่พระจันทร์เสี้ยวเท่านั้น ส่วนดาวนั้นถูกตัดต่อใส่เข้าไปเอง

3. น้ำทะเล 1 หยดเมื่อถูกขยาย 25 เท่า

ภาพนี้กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์และถูกนำไปเล่าต่อมานานหลายปี และทำให้คุณเข้าใจผิดว่าในน้ำทะเลเพียง 1 หยด มีจำนวนแพลงก์ตอนมากมายขนาดนี้ ในความเป็นจริง คุณอาจต้องกรองน้ำที่มีปริมาณพอๆ กับสระว่ายน้ำ 1 สระ ด้วยตาข่ายขนาดเล็กแบบพิเศษ เพื่อตามหาแพลงก์ตอนมากมายขนาดนี้

4. หญิงสาวที่ปีนไปนั่งท่ากบ

จริงๆ แล้วเธอแค่ยกขาขึ้นไปวางเพียงข้างเดียวเท่านั้น แต่ชาวเน็ตกลับนำภาพของเธอไปตัดต่อจนเละเทะ และภาพที่โดดเด่นที่สุดก็คือภาพที่ดูเหมือนเธอปีนขึ้นไปนั่งท่ากบ ซึ่งถูกแชร์ออกไปบนโลกโซเชียลมากมาย จนทำให้ใครหลายๆ คนเข้าใจผิด

5. ภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำ

นี่คือหนึ่งในภาพภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อกันมากมาย แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือภาพถ่ายนี้ถูกทำมาจากภาพถ่าย 3 ภาพนำมาประกอบกัน ราล์ฟ คลีเวนเจอร์ เจ้าของภาพนี้กล่าวว่า ภาพในส่วนของเมฆบนท้องฟ้าถูกถ่ายในเมืองซานตา บาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย ภาพยอดภูเขาน้ำแข็งถูกถ่ายในแอนตาร์กติกา ส่วนภาพภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำ จริงๆ คือภาพถ่ายภูเขาน้ำแข็งธรรมดาในอลาสกา แต่ถูกนำมากลับหัวแล้ววางเอาไว้ใต้น้ำแทน

6. ฉลามที่กำลังว่ายน้ำอยู่บนถนน ระหว่างน้ำท่วมจากเฮอร์ริเคน

ภาพนี้ทำให้ชาวเน็ตแตกตื่นกันมาก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนเออร์มาเข้าถล่มทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายน 2017 อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการตัดต่อภาพฉลามเข้ามาใส่เองแน่นอน ซึ่งภาพต้นฉบับของปลาฉลามก็คือภาพนี้

7. เด็กชายวัย 4 ขวบ กำลังปกป้องน้องสาวหลังแผ่นดินไหวในเนปาล

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเนปาล เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2015 นี่คือหนึ่งในภาพถ่ายจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่อยู่บนหน้าข่าวต่างๆ โดยถูกนำไปอ้างว่าเป็นภาพของเด็กชายวัย 4 ขวบ ที่กำลังปกป้องน้องสาวในระหว่างเกิดแผ่นดินไหว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่มาของภาพนี้เป็นของ เหงียน นาซุน ช่างภาพชาวเวียดนามที่ระบุว่า เขาถ่ายภาพนี้ตอนที่เขาพบเด็กๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งกำลังเล่นกัน ตอนที่พ่อแม่กำลังยุ่งอยู่กับการทำงาน แต่เด็กหญิงกลับร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า จนเด็กชาวต้องเข้ามาปลอบเธอ

ภาพนี้ไม่ได้ถูกนำไปอ้างในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลเพียงอย่างเดียว เพราะมันเคยถูกนำไปอ้างว่าเป็นภาพของ “เด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่ไป” ทั้งในเวียดนามและในเมียนมาร์ จนไปถึงนำไปอ้างว่าเป็นเหยื่อจากสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย

8. นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อฟ้าผ่าลงทราย

คุณสามารถค้นหาจาก Google ได้และมักจะเห็นภาพนี้เสมอ ซึ่งการที่ฟ้าผ่าลงทรายแล้วกลายเป็นผลึกนั้นเป็นเรื่องจริง โดยผลึกแท่งนี้จะถูกเรียกว่า ฟูลกาไรท์ (Fulgurite) ที่เกิดจากการที่ฟ้าผ่าลงพื้นทรายเท่านั้น แต่ภาพที่คุณเห็นอยู่นี้เป็นเพียงงานศิลปะจากทรายเปียก ที่ถูกทำขึ้นโดยศิลปินที่ใช้ชื่อว่า Sandcastle Matt โดยเป็นหนึ่งในผลงานของเขาที่ถูกอัปโหลดไว้บนเว็บไซต์ Flickr เท่านั้น

9. วัวขึ้นไปนอนอยู่บนฝากระโปรงรถ BMW

ในช่วงต้นปี 2013 ภาพของวัวที่นอนอยู่บนฝากระโปรงรถ BMW นี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกบนโลกออนไลน์ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่ จนกระทั่งวันที่ 18 ตุลาคม 2013 ทางทวิตเตอร์ของตำรวจทางหลวงของอังกฤษได้นำภาพนี้มาโพสต์ พร้อมกับระบุว่า “จำไว้ว่า สัตว์ที่กำลังหนาวจะตามหาสถานที่ๆ อุ่นกว่าบนรถคุณ ดังนั้นโปรดตรวจสอบซุ้มล้อและสถานที่ซ่อนตัวอื่นๆ ให้ดี”

และนั่นทำให้โพสต์ดังกล่าวกลายเป็นกระแสอยู่บนทวิตเตอร์ และชาวเน็ตต่างก็นำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์อื่นๆ นับหมื่นๆ ครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วัวตัวนี้ถูกตัดต่อไปวางบนฝากระโปรงรถ BMW นั่นเอง

10. แมวยักษ์

ภาพแมวยักษ์นี้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกออนไลน์ตั้งแต่ในปี 2003 ผ่านทางฟอร์เวิร์ดเมล โดยมีชื่อเรื่องระบุว่า “นี่คือ สโนว์บอล แมวยักษ์ที่หนัก 87 ปอนด์ (40 กิโลกรัม) ซึ่งแม่ของมันอาศัยอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” แต่ในความเป็นจริง แมวตัวนี้มีชื่อว่า จัมเปอร์ ซึ่งมีขนาดเท่ากับแมวบ้านปกติทั่วไป ส่วนภาพตัดต่อก็มาจากเจ้าของๆ มันเองที่นำภาพไปตัดต่อด้วย Photoshop เพื่อนำไปเป็นมุกตลกให้เพื่อนๆ ของเขาดู แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นภาพที่โด่งดังขนาดนี้

11. สตีเวน ซีซัล แอบล้อ วลาดิเมียร์ ปูติน

ในระหว่างการไปเยือนสถาบันสอนศิลปะป้องกันตัวในรัสเซีย สตีเวน ซีกัล ได้มีโอกาสถ่ายภาพกับประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน และบุคลสำคัญคนอื่นๆ แต่ปรากฏว่าภาพที่ชาวเน็ตเห็นกลับเป็นภาพที่เขาแอบชู 2 นิ้วอยู่บนศีรษะของปูติน และมีหลายคนเชื่อว่าเป็นของจริง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันคือภาพถ่ายธรรมดาๆ และสตีเวน ซีกัล ก็ไม่ได้แอบไปโชว์เหนือบนศีรษะปูตินแต่อย่างใด

12. ภาพวาด The Scream ในออฟฟิศของ เทเรซา เมย์

ในเดือนกันยายน 2016 ภาพของ เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและสมาชิกคณะรัฐมนตรีทั้ง 27 คน กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ เพราะภาพที่หลายๆ คนเห็นอยู่ด้านหลังคือภาพ The Scream ที่โด่งดังของจิตรกร เอ็ดวาร์ด มุนช์ ที่มีมูลค่ามหาศาล แต่จริงๆ แล้วภาพต้นฉบับกลับกลายเป็นงานศิลปะชิ้นอื่น

13. ตู้แกะสลักที่ดูบิดเบี้ยว

ภาพตู้แกะสลักดังกล่าวปรากฏขึ้นบนโลกออนไลน์เมื่อปี 2013 และถูกอ้างว่ามันคือ “ตู้แกะสลักที่ดูคล้ายกับสัญญาณรบกวน” ซึ่งจริงๆ แล้ว นี่เป็นเพียงแค่เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกออกแบบโดย เฟอร์รัคซิโอ ลาเวียนี ศิลปินชาวอิตาลี ที่ทำออกมาเป็นแค่ “ดิจิตอล คอนเซปต์” เท่านั้น ไม่ได้ถูกทำออกมาจริงๆ แต่อย่างใด

ส่วนของจริงที่ถูกทำออกมาคือตู้ที่เห็นด้านบนนี้ ที่ถูกนำมาจัดแสดงให้นิทรรศการเฟอร์นิเจอร์ในปี 2013 ที่ประเทศอิตาลี

14. อีกด้านของดาวพฤหัส

นี่คือภาพมุมมองด้านล่างของดาวพฤหัสที่ถูกส่งกลับมาโดยยานแคสซินี ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวเสาร์และดาวพฤหัส จนกระทั่งปลายปี 2000 แคสซินีได้ส่งภาพขั้วโลกใต้ของดาวพฤหัสกลับมาให้พวกเราได้ชมกัน

ส่วนภาพด้านบนทำให้หลายคนคิดว่า ภาพถ่ายของนาซ่าเป็นของปลอม ซึ่งภาพที่เป็นของปลอมก็คือภาพตัดต่อบนขนมไข่ยักษ์ Mega Bruiser ต่างหาก

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ