9 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่เราเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต

ไดโนเสาร์ เริ่มกลายเป็นภาพที่ชัดเจนในหัวมนุษย์ตั้งแต่มีการค้นพบครั้งแรกในปี 1864 และนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เวลานานนับศตวรรษที่พยายามทำความเข้าใจไดโนเสาร์ให้มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าการค้นพบใหม่ๆ จะเปลี่ยนสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์อยู่ตลอดเวลา และนั่นทำให้ภาพของไดโนเสาร์แบบดั้งเดิมที่ติดหัวเรามาตั้งแต่ในภาพยนตร์หรือในหนังสือสมุดภาพต่างๆ ทำให้เรายังเข้าใจผิดเกี่ยวกับไดโนเสาร์อยู่มาก และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับไดโนเสาร์มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณรู้ว่าเรายังเข้าใจไดโนเสาร์ผิดอยู่หลายเรื่องทีเดียว

1. ทีเร็กซ์ มีแขนกระจิ๋วหลิวที่อ่อนแอ

ทีเร็กซ์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่โตมโหฬารและขึ้นชื่อในเรื่องของความโหดเหี้ยมดุร้าย แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของมันอย่างมากก็คือ พวกมันมีแขนที่เล็กกระจิ๋วหลิว จนทำให้เราเชื่อว่าแขนของทีเร็กซ์ช่างอ่อนแอและไร้ประโยชน์สิ้นดี

แต่จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า แขนของทีเร็กซ์อาจมีความยาวแค่เพียง 3 ฟุต แต่แขนของพวกมันมีความแข็งแรงอย่างมาก พวกมันสามารถใช้แขนยกน้ำหนักหลายร้อยปอนด์ได้ไม่ยาก และใช้แขนฉีกมนุษย์ตัวเล็กๆ แบบเราได้สบายๆ แน่นอนว่าแขนของมันไม่ได้ไร้ประโยชน์อีกต่อไป

2. สัตว์โบราณในยุคไดโนเสาร์ทุกตัว คือไดโนเสาร์

มีหลายคนใช้คำว่า “ไดโนเสาร์” เพื่อเรียกสิ่งมีชีวิตทุกอย่างที่อาศัยอยู่ในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก ไปจนถึงยุคครีเทเชียส แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดโนเสาร์ คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในยุคเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งยังมีสัตว์โบราณอีกมากมายหลายประเภทที่อาจมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ แต่มันอาจถูกจัดให้อยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรือปลาเท่านั้นเอง

3. ไดโนเสาร์เดินลากหาง

เป็นเรื่องปกติสำหรับสัตว์ในยุคปัจจุบันนี้ที่มีหางแล้วมันจะเดินพร้อมกับลากหางของมันไปด้วย นั่นจึงทำให้ผู้คนคิดว่าไดโนเสาร์ก็คงไม่ต่างอะไรกับสัตว์ยุคนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไดโนเสาร์ไม่ได้เดินลากหางของมัน ว่าแต่นักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไร ?

สิ่งที่พิสูจน์ทฤษฎีนี้คือ นักโบราณคดีไม่เคยพบรอยลากหางของไดโนเสาร์พร้อมๆ กับรอยเท้าของพวกมันหลายพันรอย ซึ่งหางของไดโนเสาร์ก็มีขนาดใหญ่โต และถ้าหากพวกมันเดินลากหางล่ะก็ จะต้องมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอย่างแน่นอน

4. ไดโนเสาร์เป็นพ่อแม่ที่ไม่ดี

เรามักอ้างอิงไดโนเสาร์กับสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน และเชื่อว่าพวกมันจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน อย่างเช่นจิ้งจกและอิกัวน่า ที่วางไข่แล้วทิ้งไป แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็พบหลักฐานใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ไดโนเสาร์หลายชนิดดูแลลูกๆ ของพวกมันเป็นอย่างดีหลักจากฟักตัวออกมา อย่างเช่น Pelycosaur ไดโนเสาร์ขนาดเล็กคล้ายกิ้งก่า ที่มักจะสร้างอาณานิคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นครอบครัว

5. ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานพวกแรกที่ครองโลก

เนื่องจากไดโนเสาร์ใช้เวลาปกครองโลกใบนี้มานานหลายล้านปีก่อนที่จะถึงยุคของมนุษย์ จึงไม่แปลกที่เราจะคิดว่าไดโนเสาร์คือสัตว์เลื้อยคลานพวกแรกที่ครองโลก แต่นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ก่อนไดโนเสาร์หลายล้านปี ชื่อของมันคือ Pareiasaurs ต้นกำเนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังก่อนไดโนเสาร์ แถมมันยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่น่าเกลียดที่สุดอีกด้วย

6. ไดโนเสาร์ข่มขู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดโนเสาร์

จากที่เราเห็นในภาพยนตร์ เมื่อไดโนเสาร์ขนาดใหญ่เดินผ่านไปที่ใด ก็มักจะมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยวิ่งหนีกระจัดกระจายหายไปหมด แต่ในความเป็นจริง ไดโนเสาร์ยังมีศัตรูตามธรรมชาติอีกมากมาย และหลายครั้งที่ไดโนเสาร์ตกเป็นเหยื่อซะเอง อย่างเช่นเจ้า Razanandrongobe Sakalavae ญาติห่างๆ ของจระเข้ ที่เขมือบไดโนเสาร์เป็นว่าเล่น

7. ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากไม่สามารถวิวัฒนาการต่อได้

นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดเพราะพวกมันไม่สามารถวิวัฒนาการให้อยู่รอดได้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายหลังจากเกิดอุกกาบาตชนโลก แต่ทฤษฎีก็ถูกปัดตกไปเพราะคุณอาจไม่รู้ว่า นกจำนวนมากบนโลกใบนี้ก็เป็นลูกหลานของไดโนเสาร์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึง 3 เท่า นั่นหมายความว่า พวกมันวิวัฒนาการมาตลอดจนมาถึงปัจจุบัน

8. อุกกาบาตลูกเดียวชนโลก ฆ่าไดโนเสาร์ทั้งหมด

อุกกาบาต Chicxulub คือผู้อยู่เบื้องหลังความสูญเสียของไดโนเสาร์เกือบทั้งหมด แรงปะทะของมันรุนแรงกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ทิ้งลงบนเกาะฮิโรชิม่าถึง 10,000 ล้านเท่า กินพื้นที่ความเสียหายไปถึง 110 ไมล์ สิ่งที่เกิดตามมาคือความพินาศบนอ่าวเม็กซิโก เกิดคลื่นยักษ์สึนามิขนาดยักษ์กระจายไปทั่ว เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดเขม่าควันลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าปิดกั้นแสงอาทิตย์นานถึง 2 ปี เต็ม และนั่นส่งผลต่อระบบนิเวศบนโลกนี้ทั้งหมด

แต่อุกกาบาตลูกนี้ไม่ใช่เหตุผลเดียวของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ เพราะการระเบิดของซุปเปอร์โวลเคโน่ในอินเดียก็ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบนโลกสูญพันธุ์ไปมากถึง 3 ใน 4 เช่นกัน

9. ไดโนเสาร์ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด

หลายคนคิดว่า ไดโนเสาร์ยอดนิยมที่เราเคยได้ยินชื่อกัน ไม่ว่าจะเป็น ทีเร็กซ์, สเตโกซอรัส, เทอร์โรซอร์, บรอนโตซอรัส และ ไทเซอราทอป จะมาเดินอยู่ในยุคเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง ยุคของไดโนเสาร์มีอยู่หลายยุค ไม่ว่าจะเป็น ไทรแอสซิก, จูราสสิก และครีเตเชียส ซึ่งไดโนเสาร์แต่ละชนิดก็อยู่ต่างยุคต่างสมัยกัน ไดโนเสาร์บางตัวอยู่ห่างกันเป็นหลายสิบล้านปี แต่คุณอาจเจอมันในภาพยนตร์ Jurassic Park ในภาคต่อๆ ไปนั่นเอง

ที่มา : toptenz | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ