พบอีก! ดาวเคราะห์ดวงใหม่คล้ายโลกมากที่สุดถูกพบนอกระบบสุริยะ

เรื่องราวของดาวเคราะห์คล้ายโลก ถูกพบเห็นกันอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วดวงดาวดังกล่าวมักจะอยู่ไกลเกินสังเกตและถูกคาดคะเนว่า ไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยปัจจัยบางอย่าง

GJ1132b-1

GJ 1132b คือดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ทำการสังเกตชั้นบรรยากาศเพื่อวิเคราะห์การมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยมันมีขนาดใหญ่กว่าโลกเพียงแค่ 16% และอยู่ห่างออกไปเพียง 39 ปีแสง

เปรียบเทียบระยะห่างระหว่าง โลกกับดวงอาทิตย์ และดาว GJ1132b กับดาวฤกษ์ Gliese1132 ที่ให้อุณหภูมิและแสงสว่างแก่มัน ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก

GJ1132b-2

โครงสร้างของ GJ1132b ประกอบไปด้วยหินและเหล็ก มีแรงโน้มถ่วงคล้ายกับโลกมาก แต่นักดาราศาสตร์คำนวนว่า อุณหภูมิพื้นผิวของมันน่าจะคล้ายดาวศุกร์ คือสูงถึง 136-306 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

GJ1132b-3

นั่นหมายความว่าดวงดาวนี้อาจจะยังไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดย ดร. ซาโชรี เบอร์ตา-ทอมป์สัน นักดาราศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ กล่าวว่า ในปี 2018 เราจะมีกล้องโทรทรรศน์ เจมส์ เว็บบ์ ที่จะสามารถส่องดูมันได้ละเอียดขึ้นและจะสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศของมันได้มากขึ้น

ที่มา dailymail