ในขณะที่เรากำลังมองหาดาวเคราะห์ที่น่าสนใจในจักรวาลอันไกลโพ้น แต่หลายคนก็ลืมไปว่า โลกของเรานี่แหละคือดาวเคราะห์ที่มหัศจรรย์ที่สุด โดยถูกตั้งอยู่ในเขตที่เรียกว่า Goldilocks Zone หรือ Habitable Zone ซึ่งเป็นบริเวณที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด ในขณะที่ในเขตที่ใกล้ดวงอาทิตย์เข้าไปอุณหภูมิก็ถือว่าสูงเกินไป ส่วนถ้าอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ออกไปก็จะมีอุณหภูมิที่เย็นเกินไปอีกเช่นกัน และนอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้โลกใบนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตแห่งเดียวในจักรวาล
แล้วถ้าสมมติกันเล่นๆ ว่า โลกเรายังอยู่ในตำแหน่งที่เดิม เพิ่มเติมคือขนาดที่ใหญ่ขึ้น 2 เท่าล่ะ ทุกอย่างบนโลกจะยังเหมือนเดิมหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน วันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาเรียนรู้กัน
1. น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
ถ้าขนาดของโลกใหญ่ขึ้น 2 เท่า มวลของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า แต่ยังคงมีความหนาแน่นเท่าเดิม นั่นจะทำให้แรงโน้มถ่วงมีมากขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากคุณลองช่างน้ำหนักลงบนตาช่าง คุณจะพบว่าน้ำหนักตัวคุณจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าทันที
2. คุณจะเหนื่อยง่ายขึ้น
และจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อคุณเดินตามปกติ คุณจะรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะคุณจะรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังแบกตัวคุณอีกคนอยู่บนหลังตลอดเวลา
3. เตี้ยลงหรือตาย
ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ทุกชนิด จะมีโอกาสเตี้ยลงทั้งหมดหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวจากแรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไปไม่ได้
4. เกิดวิวัฒนาการใหม่ๆ
เมื่อผ่านไปหลายปี หน้าตาของสัตว์ต่างๆ จะเปลี่ยนไป แรงโน้มถ่วงมีผลต่อวิวัฒนาการของสัตว์แต่ละชนิดอย่างมาก และพวกมันต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา สัตว์ที่เกิดใหม่จะเตี้ยล่ำมากขึ้น ส่วนสัตว์ขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า นอกจากนั้นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ ก็จะถือกำเนิดขึ้นมา
5. การปรับตัวของมนุษย์
ส่วนมนุษย์จะเริ่มปรับตัวกับแรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไปได้ กระดูกของเราจะแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะกระดูกขา ที่จะช่วยรองรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ ร่างกายแข็งแรงบึกบึนขึ้น แน่นอนว่าความชาญฉลาดของมนุษย์จะถูกสืบทอดต่อไปภายใต้ร่างกายอันเตี้ยล่ำมากขึ้นตามไปด้วย
6. กีฬาจะเปลี่ยนไป
ผลที่ตามมาจะทำให้มนุษย์มีความสามารถด้านกีฬาที่ลดลง คุณจะไม่สามารถกระโดดได้สูงเท่าเดิม วิ่งช้าลงกว่าเดิม เหนื่อยง่ายขึ้น และอาจเกิดกีฬาใหม่ๆ ที่เหมาะสมกว่ากีฬาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
7. การเปลี่ยนแปลงของต้นไม้
ต้นไม้เก่าๆ ที่มีอยู่จะเริ่มหักโค่นลง และต้นไม้ที่เติบโตขึ้นมาใหม่จะมีลักษณะที่เตี้ยกว่าเดิม เนื่องจากต้นไม้สูงๆ จะไม่สามารถส่งน้ำหล่อเลี้ยงจากรากขึ้นไปถึงยอดได้ ต้นไม้ที่เกิดขึ้นใหม่ ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เดิม แต่มันจะเตี้ยกว่าเดิมแน่นอน
8. เกิดอะไรขึ้นกับดวงจันทร์
โชคดีที่ถึงแม้แรงโน้มถ่วงของโลกจะมีมากขึ้น แต่มันก็ยังไม่สามารถดึงดวงจันทร์ให้เข้ามาใกล้ขอบเขตโรช (Roche Limit) ได้ เพราะถ้าหากดวงจันทร์ถูกดึงเข้ามาในขอบเขตโรชเมื่อไหร่ มันจะถูกฉีกด้วยแรง Tidal Force และเศษซากของดวงจันทร์ก็จะกลายเป็นวงแหวนให้แก่โลกเหมือนอย่างดาวเสาร์
9. ภูเขาไฟระเบิด
จำนวนแร่ธาตุภายในโลกที่มีมวลที่ใหญ่ขึ้นนี้จะไม่เสถียร นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความร้อนที่ทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟหลายๆ แห่ง ภูเขาไฟที่ดับไปแล้วอาจตื่นขึ้นอีกครั้งในรอบหลายพันปี การระเบิดของภูเขาไฟจะเปลี่ยนลักษณะทางภูมิศาสตร์ แผ่นดินหลายแห่งจะมีรูปร่างเปลี่ยนไป รวมถึงมีแผ่นดินใหม่ๆ เกิดขึ้น เขม่าควันจากภูเขาไฟจะเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ
10. จุดจบของโลก
และไม่ใช่แค่ภูเขาไฟธรรมดา หากบรรดา Supervalcano หลายแห่งเกิดระเบิดขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานแห่งชาติ Yellowstone หรือที่ทะเลสาบ Toba ในอินโดนีเซียล่ะก็ โลกของเราคงจะถึงกาลอวสาน นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกรวมถึงมนุษย์ เกิดขึ้นมาจากความสมดุลของปัจจัยต่างๆ มากมาย และเมื่อไหร่ก็ตามที่ขนาดของโลกเปลี่ยนไปจนขาดความสมดุลล่ะก็ เมื่อนั้นจุดจบของโลกคงจะมาถึงในไม่ช้าแน่นอน
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : Life Noggin | Brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา