นักเขียนอเมริกามาร์ค ทเวนได้กล่าวไว้ว่า อย่าให้โรงเรียนปิดกั้นการเรียนรู้ของคุณ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้นก้าวหน้าไปไกลมากและได้พิสูจน์หลายสิ่งไปแล้ว แต่วิชาที่คุณได้เรียนรู้มานั้นอาจจะล้าหลังไปทำให้เข้าใจผิดหรือเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นจริง วันนี้เรามาบอกเรื่องราวที่น่าตกใจในความเชื่อที่เราคิดว่าถูกมาเป็นเวลานานว่าแท้ที่จริงแล้วมันเป็นเช่นไรกันแน่
1. มนุษย์พัฒนามาจากลิงชิมป์แปนซี
ความคิดนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดมาทั้งหมดในการสรุปว่าเราวิวัฒนาการมาจากวานร ชาร์ล ดาร์วินไม่เคยอ้างถึงการที่เรานั้นวิวัฒนาการมาจากวานรแต่อย่างใด แท้จริงแล้วเขาได้อ้างเหตุผลที่ว่า เนื่องจากความคล้ายคลึงกันที่อย่างมากที่เรามีกับวานรและลิง เราทุกคนต้องมีบรรพบุรุษร่วมกันที่อาศัยอยู่เมื่อหลายล้านปีก่อนเป็นแน่
2. มนุษย์คือจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร
กลุ่มนักวิจัยของฝรั่งเศสได้คำนวนอย่างแม่นยำถึงอันดับของมนุษย์ในการจัดอันดับของห่วงโซ่อาหาร ตามพฤติกรรมการกินของมนุษย์นับได้ว่าเราไม่ได้สูงส่งไปกว่าปลาแองโชวี่หรือสุกรเลย ในการเป็นจุดสูงสุดได้ควรเป็นสัตว์ที่ทำการล่าเนื้อของผู้ล่าอื่น ๆเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่สำหรับมนุษย์ที่ผสานการกินระหว่างพืชและสัตว์
3. สุนัขและแมวตาบอดสี
นี้คือสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมาเป็นเวลานั้นว่าสุนัขและแทวนั้นมองเห็นแค่สีดำและขาวเท่านั้น จากการทดสอบในปี 1915 ซึ่งล้มเหลวในการสอนแมวในการแยกความแตกต่างของกระดาษสี และเทา ภายหลังมีการทดสอบที่แสดงให้เห็นว่าแมวสามารถมองเห็นสีได้แต่ล้มเหลวในการมองเห็นสีแดง หรือเห็นได้น้อยกว่าที่มนุษย์เห็น ในทางเดียวกันนี้สุนัขตาบอดเพียงบางสีเท่านั้น และล้มเหลวในการแยกแยะสีแดงกับส้มแต่ไม่มีปัญหากับสีอื่น ๆ
4. มีแค่ 5 สัมผัสเท่านั้น
สัมผัสทั้ง 5 คือสิ่งพื้นฐานที่เราเรียนรู้กันมาย้อนไปตั้งแต่ยุคของอริสโตเติ้ล ถ้าส่วนสัมผัสมาจากสมองเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโลกนี้ เราควรจะมีมากกว่า 5 ชื่อของความรู้สึกสัมผัสเช่นหิว, กระหาย และเจ็บปวดซึ่งเป็นชื่อของความรู้สึกที่บอกเราในข้อมูลต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้เรายังมีส่วนที่อ่อนไหวต่ออุณหภูมิและความกดดันที่เปลี่ยนไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็นับเป็นหนึ่งในความหมายของส่วนสัมผัสได้ด้วย
5. แผนที่รสชาติในลิ้น
คุณอาจได้รับรู้มาว่าลิ้นแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนในการรบรสหวาน,เปรี้ยว, เค็มและขม เอาละได้เวลาลืมสิ่งเหล่านี้ไปซะเพราะแท้จริงแล้วลิ้นเราสามารถรับรู้รสได้ 5 อย่างตามหลักวิทยาศาสตร์และทั่วทั้งลิ้นสามารถสัมผัสมันได้ทั้งหมด เรื่องของการแบ่งส่วนในลิ้นนั้นย้อนไปในการทดลองในปี 1901 ซึ่งมีการพิสูจน์มากมายที่บ่งบอกว่ามันผิด
6. น้ำตาลทำให้สมาธิสั้น
พ่อแม่หลายคนเชื่อน้ำตาลมีส่วนในการทำให้เด็กสมาธิสั้น แต่ในความจริงแล้วมีการศึกษามากมายที่ล้มเหลวในการหาความเชื่อมโยงในการบริโภคน้ำตาลกับพฤติกรรม นอกจากนี้มีการศึกษาที่แสดงว่าเมื่อพ่อแม่ไม่เห็นว่าลูกของตนได้ทานน้ำตาลลงไป พวกเขาจะแยกไม่เชื่อมโนงพฤติกรรมทั้งหมดกับเรื่องของการทานน้ำตาล
7. การสละชีพหมู่ของเลมมิ่ง
เลมมิ่งคือสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บริเวณใกล้แถบอาร์กติก มีลักษณะคล้ายกระรอกผสมกับหนู ข่าวลือเริ่มต้นจากการที่มีการฉายหนังสารคดีของดิสนีย์ในปี 1958 เรื่อง White Wilderness ที่มีภาพของตัวเลมมิ่งกำลังโดดหน้าผาอย่างจงใจ ในความจริงแล้วไม่มีอะไรเลยนอกจากพฤติกรรมการอพยพย้ายถิ่นฐานของพวกมันตามปกติเมื่อพวกมันที่มีจำนวนมหาศาลต้องหาที่อยู่ใหม่
8. นกกระจอกเทศซ่อนหัวตัวเองในทราย
นกกระจอกเทศมักซ่อนหัวในทรายเมื่อมันกลัวนับเป็นเรื่องราวยอดฮิตที่เรารับรู้กันมา แต่ในความจริงแล้วนกกระจอกเทศเลือกที่จะวิ่งหนีมากกว่าเมื่อรู้สึกอันตราย ถ้าพวกมันไม่สามารถวิ่งได้มันจะหมอบลงที่พื้นและทำตัวนิ่ง ๆ การที่เราเห็นมันเอาหัวมุดทรายเนื่องจากพฤติกรรมในการหาหินมาช่วยย่อยในกระเพาะหรือต้องการรูทำรังเพื่อวางไข่เท่านั้นเอง
9. ปลาทองความจำสั้นในแบบเสี้ยววินาที
มีการเปรียบเทียบคนที่ความจำสั้นว่าเหมือนปลาทองที่จำได้เพียง 3 วินาทีเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมีการทดลองที่บ่งชี้ว่า ปลาทองสามารถฝึกฝนในการตอบโต้กับเสียงได้หลังการฝึกฝนนานเป็นเดือน ซึ่งปรากฎว่าปลาทองสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆได้นานถึง 3 เดือนเลยทีเดียว
10. มนุษย์ไม่สามารถสร้างเซลล์สมองใหม่ได้
นี้คือเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมากเมื่อเซลล์สมองของคนตายว่าจะไม่มีเซลล์ใหม่งอกออกมา มีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่าสมองของเรานั้นผลิตเซลล์ใหม่ ๆ ขึ้นมา กระบวนการนี้เรียกว่าการกำเนิดประสาท
11. เลือดที่มีค่าออกซิเจนต่ำจะเป็นสีน้ำเงิน
การเข้าใจผิดในเรื่องของการที่เลือดเป็นสีน้ำเงินจากการที่ออกซิเจนในเลือดต่ำเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก เลือดของคนเรามีแสดงเรื่องจากมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก การที่เราเห็นว่าเลือดเป็นสีน้ำเงินนั้นมาจากที่ความยาวของแสงสะท้อนจากผิวของคุณ:แสงสีแดงจะถูกดูดซึมและสีน้ำเงินจะสะท้อนออกมา
12. อูฐเก็บน้ำไว้ที่หนอก
ในความจริงอูฐสามารถอยู่รอดในทะเลทรายได้หลายวันโดยไม่ต้องทานน้ำ แต่ไม่ใช่เพราะการที่มันกักน้ำไว้ที่หนอกอย่างที่หลายคนคิด หนอกของอูฐเป็นที่สะสมไขมันไม่ใช่น้ำแต่อย่างใดซึ่งมอบพลังงานให้อูฐทดแทนได้หลายวัน ส่วนที่เก็บน้ำไว้อย่างดีในร่างกายของอูฐคือไตและลำใส้
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา