ในทุก ๆ ธุรกิจ ต่างใช้ความพยายามอย่างมากในการค้นหาราคาที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเอง การตั้งราคาที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อาจส่งผลให้ธุรกิจของคุณปิดตัวลงได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
ซึ่งไม่นานมานี้ สมาชิกจากเว็บไซต์ Imgur นามว่า ShlomoGenchin ได้พยายามสรุปกลยุทธ์การตั้งราคาที่แบรนด์ต่าง ๆ เลือกใช้ มาทำให้ชาวเน็ตเข้าใจง่าย ๆ ด้วยภาพที่ไม่ซับซ้อน และเพชรมายาขอนำข้อมูลเหล่านี้มาให้ทุกท่านได้ชมกัน ซึ่งเชื่อว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณบ้างไม่มากก็น้อย
1. Decoy Pricing – ตั้งราคาตัวลวง
ตั้งราคาแบบ Premium ให้แพงกว่าราคาตัวลวง (Decoy) เล็กน้อย แต่ให้คุณค่ามากกว่าเยอะ ถือเป็นการตั้งราคาสินค้าหนึ่งขึ้นมา เพื่อทำให้ราคาของสินค้าอีกชิ้นดูคุ้มค่าขึ้น
2. Location Pricing – ตั้งราคาตามสถานที่
เมื่ออยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตจะทำให้รู้สึกแพง แต่เมื่ออยู่ในงานเทศกาลดนตรีกลับกลายเป็นราคาเหมาะสม
3. Relative Pricing – ตั้งราคาสัมพัทธ์
การวางตำแหน่งสินค้าที่ดีทำให้เกิดการเปรียบเทียบสินค้าของคุณกับสินค้าราคาแพงกว่า
4. Social Pricing – ตั้งราคาโซเชียล
ผู้คนมีแนวโน้มที่จะพูดถึงสิ่งของที่พวกเขาซื้อมาในราคาที่แพงมากหรือถูกมากเท่านั้น
5. Magic of the Middle – เวทมนตร์แห่งแดนกลาง
ผู้คนที่ไม่รู้จักตลาดหรือไม่สนใจ มักเลือกตัวเลือกในราคากลาง ๆ ไว้ก่อน
6. Bundle Pricing – ตั้งราคาแบบมัดรวม
การขายแบบเหมารวมกันช่วยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น โดยลดราคาเพียงเล็กน้อย
7. Breakdown Pricing – ตั้งราคาแบบแบ่งขาย
สิ่งของที่มีราคาแพง ถูกแบ่งขายออกเป็นหน่วยย่อย เปรียบเทียบเหมือนบุหรี่แบ่งขาย
8. Price vs. Value – ราคา vs. มูลค่า
ราคา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกค้าหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็กำหนดราคาจากคุณค่าของสินค้าแทน เพราะมีคนยินดีที่จะจ่ายแพงหากพวกเขารู้สึกถึงคุณค่าของสินค้าคุณ
9. Urgency-Based Pricing – ตั้งราคาให้ฉุกเฉิน
ทำให้เกิดการขาดแคลน ด้วยการสัญญาว่าจะเพิ่มราคาสินค้าในอนาคต
10. The Rule of 100 – กฎของ 100
ถ้าซื้อราคารวมต่ำกว่า 100 เหรียญ จะลดกี่ 30% แต่ถ้าซื้อราคารวมสูงกว่า 100 เหรียญจะลด 60% (ลดกี่ % เป็นแค่ตัวอย่าง)
11. Premium vs. Low-Cost – ราคาพรีเมียม vs. ราคาประหยัด
ในขณะที่สินค้าราคาประหยัดแข่งกันว่าใครจะเสนอราคาที่ถูกที่สุด แต่สินค้าพรีเมียมยังใช้ราคาเป็นตัวกำหนดสถานะของแบรนด์
12. Penetration Pricing – ตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด
ตั้งราคาในช่วงเปิดตัวให้ถูกหรือให้ทดลองฟรี จากนั้นค่อยปรับราคาขึ้นทีละนิด เพื่อสร้างพฤติกรรมการซื้อ จนทำโปรโมชันเพื่อสร้างพฤติกรรมการซื้อระยะยาว
โบนัส: ตั้งราคาแบบยาหลอก
หากคุณตั้งราคาสินค้าให้สูงขึ้นและทำให้ดูว่ามันเป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า ผู้บริโภคไม่เพียงจะซื้อมันเท่านั้น แต่พวกเขายังเชื่อว่าสินค้าที่มีราคาแพงจะดีกว่าหรือได้ผลมากกว่า ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว สินค้าทั้ง 2 เหมือนกันทุกประการ
ในการศึกษาหนึ่ง มีการให้อาสาสมัคร 2 กลุ่มดื่มไวน์ชนิดเดียวกัน โดยบอกกลุ่มหนึ่งว่ามันเป็นไวน์ราคาถูก และบอกอีกกลุ่มว่าเป็นไวน์ราคาแพง กลุ่มที่คิดว่าเป็นไวน์ราคาถูกเกลียดรสชาติของมัน แต่กลุ่มที่คิดว่าไวน์แพงกลับชื่นชอบรสชาติ
การศึกษาดังกล่าวมีชื่อว่า “ทำไมไวน์แพงถึงมีรสชาติดีกว่า” (2017)
ที่มา: Imgur