7 สัญลักษณ์ที่คุ้นเคย แต่คุณไม่เคยรู้ความหมายที่แท้จริงของมัน

นอกจากภาษาที่เราใช้พูดคุยสื่อสารกันในชีวิตประจำวันแล้ว บรรดาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ป้ายจราจร, สัญลักษณ์สัญญาณ Wi-fi, สัญลักษณ์จากป้ายห้ามต่างๆ เหล่านี้ ก็ถือเป็นสิ่งที่ทำให้คุณเข้าใจได้ง่ายๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องสื่อสารผ่านข้อความตัวอักษร และถึงแม้เราจะเข้าใจสัญลักษณ์เหล่านี้ แต่บางทีเราก็ไม่เคยรู้ที่มาและความหมายที่แท้จริงของมันมาก่อน ซึ่งวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาเรียนรู้และเข้าใจความหมายที่แท้จริงของสัญลักษณ์เหล่านี้ให้มากขึ้นกัน

 

1. เครื่องหมาย & (The Ampersand)

meaning-known-symbol-02

 

สัญลักษณ์ที่เราทุกคนรู้กันดีในชื่อเครื่องหมาย แอนด์ (&) ซึ่งมันมาจากภาษาลาติน ‘et’ ที่แปลว่า ‘และ’ โดยคำย่อนี้ถูกคิดค้นครั้งแรกโดย มาร์คัส ทุลลิอุส ทิโร เลขาส่วนตัวของ ซิเซโร นักคิดนักเขียนชาวโรมัน ตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ และเพื่อความรวดเร็วในการจดบันทึก เขาจึงได้คิดค้นระบบ ‘ตัวย่อ’ ขึ้นมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ทิโรเนียน โน๊ต” (Tironian Notes)

meaning-known-symbol-03

 

หลายร้อยศตวรรษต่อมา ตัวย่อต่างๆ กลายเป็นที่นิยมในยุโรปและอเมริกา และถูกรวมเข้าไปอยู่ในตัวอักษรภาษาอังกฤษ ถึงแม้ช่วงต้นศตวรรษที่ 10 มันจะถูกมองข้ามไปบ้าง และจริงๆ เครื่องหมาย The Ampersand มาจากวลีคำว่า “And per se and” ที่แปลว่า “และ แทนตัวมันเองว่า และ” ที่คุณครูให้เด็กๆ ท่องในห้องเรียนหลังจากท่อง A-Z และเมื่อกาลเวลาผ่านไป ตัวอักษร ET ถูกหลอมรวมกันจนกลายเป็นสัญลักษณ์ & อย่างที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้

meaning-known-symbol-01

 

2. สัญลักษณ์รูป ‘หัวใจ’

แม้ว่าในปัจจุบัน สัญลักษณ์รูปหัวใจจะสื่อถึง ‘ความรักข้างในหัวใจ’ ที่มีรูปร่างเหมือนกับหัวใจจริงๆ ของมนุษย์ แต่จริงๆ แล้ว มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายต้นกำเนิดของสัญลักษณ์หัวใจนี้

meaning-known-symbol-05

 

ทฤษฎีแรกมาจากหงส์ 2 ตัวที่ติดพันกัน และว่ายเข้ามาหากันกลางทะเลสาบ จนมีรูปทรงออกมาเป็นรูปหัวใจ ในหลายๆ วัฒนธรรมของโลก หงส์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดี เนื่องจากหงส์เป็นสัตว์ที่จะอยู่ด้วยกันคู่เดียว ตลอดชีวิตของมัน

meaning-known-symbol-06

 

ทฤษฎีต่อมาพูดถึงสัญลักษณ์หัวใจว่าเป็นตัวแทนของสรีระผู้หญิง โดยรูปหัวใจคือสัญลักษณ์แทนกระดูกเชิงกรานของผู้หญิง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ชาวกรีกโบราณมักจะมีนัยสำคัญเป็นพิเศษกับสรีสระของผู้หญิงในส่วนนี้ และเกี่ยวโยงไปถึงการสร้างวิหารพิเศษให้กับเทพอโฟรไดท์ ซึ่งเป็นวิหารแห่งเดียวที่มีการบูชาก้น

meaning-known-symbol-07

 

ทฤษฎีสุดท้ายเชื่อว่า สัญลัญษณ์หัวใจมาจากรูปร่างของใบไม้เลื้อยในแจกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว ชาวกรีกมักจะใส่เถาไม้เลื้อยเหล่านี้ในภาพวาดของไดโอนีซุส เทพแห่งการทำไวน์และพระคุณของความรัก

meaning-known-symbol-08

 

3. สัญลักษณ์บลูทูธ

ในช่วงศตวรรษที่ 10 เดนมาร์กถูกปกครองโดยกษัตริย์ ฮาราลด์ บลาทานด์ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ จากการที่รวมชนเผ่าชาวเดนนิชไว้ในอาณาจักรเดียว ฮาราลด์ ถูกเรียกบ่อยครั้งว่า ‘บลูทูธ’ (Bluetooth) มาจากที่เขาเป็นคนที่คลั่งไคล้บลูเบอร์รี และมีฟันซี่หนึ่งที่เป็นสีน้ำเงิน

meaning-known-symbol-10

 

ส่วนเทคโนโลยีบูลทูธ ถูกออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ให้มาอยู่ในเครือข่ายเดียว สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของเทคโนโลยีนี้ มาจากการรวมกันของพยัญชนะสแกนดิเนเวีย 2 ตัว คือ ‘Hagall หรือ Hagalaz” ซึ่งเป็นตัวอักษร H ในภาษาลาติน และตัวอักษร ‘Bajarkan’ คือตัวอักษร B ในภาษาลาติน โดยตัวอักษรทั้ง 2 มาจากชื่อของ ฮาราลด์ บลาทานด์ (Harald Blåtand) นั่นรวมไปถึงสีน้ำเงินและสัญลักษณ์การรวมกันของ HB ที่ดูคล้ายกับฟันอีกด้วย

meaning-known-symbol-09

4. สัญลักษณ์การแพทย์

meaning-known-symbol-11

 

หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า สัญลักษณ์ทางการแพทย์ที่เป็นรูปไม้เท้ามีปีก และงู 2 ตัวพันกันนี้ เกิดจากการนำมาใช้โดยความผิดพลาด อ้างอิงจากตำนาน เทพกรีกนามว่าเฮอร์มีส ผู้ครอบครองไม้เท้าเวทมนตร์แคดดูเซียส ที่มีอำนาจให้การหยุดข้อพิพาท แถมยังช่วยให้ศัตรูคืนดีกันได้ โดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการรักษา

meaning-known-symbol-12

 

แต่เมื่อร้อยกว่าปีก่อน แพทย์ในกองทัพอเมริกันจำสับสนระหว่างไม้เท้าแคดดูเซียส กับไม้เท้าของแอสคลิพลิอัส เทพแห่งการรักษา (ไม้เท้าของทั้งคู่คล้ายกัน แต่ของแอสคลิพลิอัสไม่มีปีกและมีงูตัวเดียว) และได้นำมาใช้อย่างผิดๆ จนกระทั่งมันฝังรากลึก ซึ่งทุกคนจำสัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์ไปเสียแล้ว

meaning-known-symbol-13

 

5. สัญลักษณ์ Power On บนปุ่มเปิด

คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เพราะมันอยู่บนหน้าจอทีวี คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ แต่หลายคนคงไม่เคยสงสัยว่า สัญลักษณ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากไหนกันแน่

meaning-known-symbol-14

 

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1940 บรรดาวิศวกรได้ใช้ระบบเลขฐานสองแทนสัญลักษณ์ของการเปิดปิด โดย 1 หมายถึง ‘เปิด’ และ 0 หมายถึง ‘ปิด’ จนกระทั่งในอีกหลายทศวรรษต่อมา มันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ วงกลม (0) และเส้นแนวตั้ง (1) รวมกันนั่นเอง

meaning-known-symbol-15

 

6. สัญลักษณ์สันติภาพ

สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ หรือหลายๆ คนรู้จักมันในชื่อ ‘แปซิฟิก’ ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1958 ในระหว่างการประท้วงต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยมาจากตัวอักษร N และ D ที่มาจาก Nuclear Disarmament ที่แปลว่า การลดอาวุธนิวเคลียร์

Campaign for Nuclear Disarmament Protest in London

 

ในการให้สัญญาณตัวอักษรแบบ Semaphore Alphabet (ใช้ธงให้สัญญาณ) อักษร N จะเป็นการถือธงเป็นรูปตัว V กลับหัว และ อักษร D จะใช้มือหนึ่งถือธงชี้ขึ้นฟ้าและอีกมือจะแนบลำตัว เมื่อนำสัญลักษณ์ทั้ง 2 มารวมกัน ถึงได้เป็นสัญลักษณืแห่งสันติภาพอย่างที่เห็น

meaning-known-symbol-16

 

7. สัญลักษณ์ โอเค (OK)

ผู้คนส่วนมากทั่วโลก ใช้สัญลักษณ์มือนี้เพื่อสื่อถึงกับว่า ‘โอเค’ หรือ ‘ตกลง’ ซึ่งมีหลากหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายต้นกำเนิดของสัญลักษณ์นี้

beautiful customer service operator woman with headset

 

บางคนเชื่อว่า สัญลักษณ์ OK เริ่มถูกใช้มาในสมัยการเลือกของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1840 โดยคำว่า OK ย่อมาจาก Old Kinderhook ซึ่งเป็นชื่อเล่นของ มาร์ติน แวน บูเรน ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 8 โดยคำว่า คินเดอร์ฮุค ก็คือชื่อบ้านเกิดของเขาเอง แถมคำนี้ยังถูกใช้เป็นสโลแกนหาเสียงว่า “Old Kinderhook is O. K.” พร้อมกับมีโปสเตอร์เป็นภาพคนทำสัญลักษณ์นิ้ว OK อีกด้วย

meaning-known-symbol-19

 

ทฤษฎีที่คล้ายกันเชื่อว่ามาจาก แอนดรูว์ แจ็คสัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 7 ที่ชอบทำท่าสัญลักษณ์ OK นี้ หลังจากที่เขาตัดสินใจอะไรเสร็จเรียบร้อย แถมเขายังชอบเรียนคำว่า “All correct” ในแบบเยอรมันว่า “Oll korrect” หรือย่อแบบสั้นๆ ว่า OK นั่นเอง

meaning-known-symbol-20

 

ยังมีอีกทฤษฎีที่เชื่อว่า สัญลักษณ์ OK มาจาก “มูดรา” ซึ่งเป็นท่าในพิธีกรรมของศาสนาพุทธและฮินดู ซึ่งมันเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้ และในงานจิตรกรรมหรือรูปปั้นของศาสนาพุทธมากมาย ก็แสดงให้เห็นถึงท่าทาง OK นี้ด้วย

meaning-known-symbol-18

 

ชื่นชอบเรื่องราวน่าสนใจ กดติดตามได้ที่นี่ แต่ถ้ามีติ๊กถูก แสดงกว่ากดแล้วจ้า

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา