หลายคนอาจคิดว่า การที่มีพุงคือสัญลักษณ์ของคนอ้วน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พุงน้อยๆ ของคุณเองไม่ได้หมายความถึงการอ้วนเสมอไป เพราะมันยังมีสาเหตุต่างๆ มากมาย ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ซึ่งวันนี้เพชรมายาจะขอนำพุงประเภทต่างๆ มาชำแหละให้ทุกคนได้รู้กัน
1. Love Handles : พุงลูกคลื่น 2 ชั้น
สาเหตุ : มาจากการนั่งนิ่งๆ นานๆ ชอบกินของหวาน การดื่มเหล้าเบียร์มาเกินไป หรือการกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกิน
วิธีแก้ไข : ดื่มเหล้าเบียร์ให้น้อยลง พยายามรับประทานอาหารไขมันต่ำ และหาเวลาออกกำลังกายให้เพียงพอ
2. Stress belly : พุงเต่งตึงแน่น
สาเหตุ : ความเครียดเรื้อรัง กินอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มกาแฟมากเกิน มีปัญหาลำไส้แปรปรวน หรือกินอาหารไม่มีประโยชน์ เช่น มันฝรั่งทอด ถั่วทอด
วิธีแก้ไข : นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา พยายามลดความเครียดด้วยการฝึกหายใจ หรืออาบน้ำสบายๆ ก่อนนอน อย่าออกกำลังกายแบบหักโหม อาจเล่นโยคะช่วย และตามด้วยรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ผักใบเขียว ถั่ว และข้าวสาลี ที่จะช่วยผ่อนคลายได้
3. Low belly : พุงย้อย มีหน้าท้องเล็กน้อย
สาเหตุ : เป็นท้องของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์แรกๆ แต่ถ้าไม่ได้เริ่มตั้งครรภ์ ก็อาจมาจากความโค้งของกระดูกสันหลังที่ทำให้พุงส่วนนนี้เด่นชัดขึ้น หรือการรับประทานอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ หรือออกกำลังกายท่าเดิมๆ ซ้ำๆ โดยเฉพาะท่าครันช์ (Crunches) และการใช้แอบวีล (Ab Wheel)
วิธีแก้ไข : รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีไฟเบอร์เยอะๆ เช่น ผักใบเขียว ปลาและไก่ที่เป็นโปรตีนเบาๆ และดื่มน้ำเยอะๆ นอกจากนั้นคือการหยุดนั่งหลังงอขดตัว และกระจายการออกกำลังกายหลายๆ ส่วน ให้เท่าเทียมกัน อย่าเน้นเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ด้วยวิธีนี้คุณจะทำให้กลุ่มกล้ามเนื้อทุกส่วนทำงานไปพร้อมๆ
4. Mommy’s belly : พุงคุณแม่
สาเหตุ : ส่วนใหญ่จะเป็นพุงของคุณแม่ที่โตขึ้นไปจนถึงระยะหลังตั้งครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ ซึ่งคุณแม่เพิ่งคลอด ควรออกกำลังหลังจากคลอดไปแล้วสัก 2-3 เดือน นอกจากนั้นก็มีเรื่องของกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานที่อ่อนแอ
วิธีแก้ไข : รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกวัน การฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งเป็นการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานครั้งละ 15-20 ที ทำประมาณ 5 ครั้งต่อวัน นอกจากนั้น การนอนหลับระหว่างวัน จะช่วยให้ฮอร์โมนการเผาผลาญดีขึ้น
5. Inflated belly : พุงพองตัว เช้ายุบ เย็นพอง
สาเหตุ: อาจมาจากการแพ้อาหาร ท้องอืด หรือความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
วิธีแก้ไข : เลือกรับประทานอาหารประเภท ปลา ไก่ ผักสดให้เยอะๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน อย่างเช่น ขนมปังและขนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยีสต์ (เค้ก, เบียร์) และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อดูว่าท้องของคุณยุบหรือไม่
นอกจากนั้น อาหารท้องบวมที่เกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถแก้ไขได้โดยการรับประมานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ อย่างเช่น โยเกิร์ต ซาวครีม กระหล่ำปลี หัวหอม และกระเทียม
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา