Google Play ถือเป็นสถานที่ชั้นยอดสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมมือใหม่ที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง แต่โชคร้ายที่แอปพลิเคชันบน Google Play ไม่ได้ใช้งานได้ดีทั้งหมด บางแอปสามารถรวบรวมข้อมูลจากมือถือคุณ แชร์ข้อมูลส่วนตัวคุณได้ หรือแม้แต่ขโมยข้อมูลทางการเงินของคุณไปได้อีกด้วย วันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านไปชมกันว่า แอปพลิเคชันไหนของ Android ที่สุ่มเสี่ยงต่ออันตรายบ้าง และคุณอาจตัดสินใจลบทิ้งทันทีที่อ่านบทความนี้จบก็เป็นได้
1. แอปพยากรณ์อากาศ
แอปพยากรณ์อากาศถือเป็นแอปที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ แต่สิ่งที่ถูกพบก็คือมีไวรัสจำนวนมากอยู่ในแอปเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น แอปพยากรณ์อากาศแอปหนึ่งที่แอบฝังโทรจันเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวจากมือถือ และส่งกลับไปยังผู้ไม่ประสงค์ดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพวกเขาต้องการข้อมูลเครดิตการ์ดนั่นเอง
2. โซเชียลมีเดีย
แอปพลิเคชันประเภทโซเชียลมีเดียถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในมือถือ แต่หลายคนกลับพบว่าแอปเหล่านี้ใช้พลังงานเครื่องเยอะและกินแบตเตอร์รีมาก รวมถึงทำให้การทำงานของมือถือช้าลงอีกด้วย แน่นอนว่าไม่ใช่มือถือ Android ของทุกคนจะเป็นรุ่นใหม่ราคาแพงเสียทั้งหมด ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงเกิดกับคนที่มีมือถือรุ่นต่ำ ซึ่งตอนนี้มีหลายคนที่ลบแอป Facebook และหันไปเข้าผ่านเบราเซอร์แทน
3. แอปเพิ่มประสิทธิภาพเครื่อง
หรือแอปแนวเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง (Optimizers) อย่างพวก Clean Master และแอปอื่นๆ ซึ่งแอปเหล่านี้จะช่วยเคลียร์แคชในมือถือและลบการทำงานของโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออก แต่อย่างไรก็ตาม มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาก็มีฟังค์ชันการทำงานนี้อยู่ในระบบแล้ว และนั่นทำให้แอปประเภท Optimizers ทั้งหลายไร้ประโยชน์ขึ้นมาทันที นอกจากนั้นมันยังกินแบต แถมทำให้เครื่องช้าลงเพราะโฆษณาต่างๆ อีกต่างหาก
4. เบราเซอร์ติดเครื่อง
เบราเซอร์เหล่านี้ถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบของมือถือยี่ห้ออินดี้ต่างๆ แน่นอนว่าเบราเซอร์เหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมแถมยังอืดมาก ทางที่ดีคุณควรใช้เบราเซอร์ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปอย่าง Google Chorme จะดีกว่า แล้วค่อยลบเบราเซอร์ที่แถมมากับเครื่องทิ้งไป
5. แอปแอนติไวรัส
แอนติไวรัส ถ้าจะให้ดีควรต้องมาจากผู้พัฒนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ส่วนแอนติไวรัสจากผู้พัฒนาโนเนมไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด จริงๆ แล้วเมื่อมีการระบาดของไวรัส บรรดาแฮกเกอร์เหล่านี้ก็สร้างแอนติไวรัสที่สามารถป้องกันไวรัสที่ตนเองสร้างขึ้นมา แต่แอปเหล่านี้แหละที่เป็นตัวการในการขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ไม่ยาก
6. เบราเซอร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม
แอปเบราเซอร์บางตัวมีคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น การดูวีดีโอและสตรีมไลฟ์สดได้ แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือแอปประเภทนี้มีจำนวนโฆษณาที่เยอะและน่ารำคาญมาก ซึ่งส่งผลให้เครื่องของคุณช้าลง นอกจากนั้นแอปเหล่านี้ต้องการ “เข้าถึง” ระบบหลายส่วนในเครื่อง ซึ่งนั่นทำให้เครื่องของคุณไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
7. แอปที่เพิ่ม RAM
แอปพลิเคชันที่อ้างว่าสามารถเพิ่ม RAM และประสิทธิภาพการทำงานเหล่านี้ จะช่วยเคลียร์แคชเท่านั้น ซึ่งมือถือโดยทั่วไปก็สามารถทำได้เองอยู่แล้ว ส่วนเรื่อง RAM คุณไม่มีทางจะได้ RAM เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มือถือคุณมี แอปเหล่านี้ไม่เพียงแต่กินทรัพยาการในเครื่องคุณ แถมยังสามารถขโมยข้อมูลในเครื่องคุณได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
8. แอปจับโกหก
แอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่สามารถนำไปใช้จริงจังได้เลยนอกจากใช้เพื่อความสนุกสนานเฮฮาในหมู่เพื่อนฝูงเท่านั้น ในอนาคตอาจมีแอปที่สามารถจับโกหกได้จริง แต่ในปัจจุบันนี้ แอปเหล่านี้ก็เป็นเพียงของเล่นสนุกๆ ที่กินแบตในเครื่องคุณอีกด้วย
9. แอปจัดระเบียบข้อมูล
การจัดระเบียบข้อมูล หรือ Defragmentation ได้รับความนิยมสูงขึ้นเพราะมันดูเหมือนกับระบบการจัดระเบียบข้อมูล (Defragment) บนคอมพิวเตอร์ แต่จริงๆ แล้ว ในมือถือของเราไม่มีฮาร์ดไดรฟ์ให้มาจัดระเบียบ แอปเหล่านี้ทำได้แค่เพียงวิเคราะห์ข้อมูลและพื้นที่ในเครื่องว่าเหลือเท่าไหร่ ส่วนข้อเสียของมันก็คือการกินทรัพยากรเครื่องและอาจเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา