ในขณะที่มนุษย์เรากำลังค้นหาดาวเคราะห์อื่นในจักรวาลที่มีสิ่งมีชีวิต และเราก็มักจะทึ่งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของดวงดาวเหล่านั้น แต่จริงๆ แล้วเราอาจลืมไปว่า โลกของเราใบนี้นี่แหละ คือสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดในจักรวาลก็ว่าได้ มีความเป็นไปได้น้อยกว่า 1 ใน 14 ล้านแบบ ที่ทำให้ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง สร้างสิ่งมีสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาได้แบบโลกเราใบนี้ และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาชมเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกเราใบนี้กัน
1. ดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของโลกมาก่อน
ทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ กล่าวว่ามีวัตถุขนาดดาวอังคารโคจรมาชนโลก ในช่วงที่โลกกำลังก่อตัวขึ้นใหม่ๆ ทำให้เนื้อโลกบางส่วนที่ยังร้อนอยู่กระเด็นออกไป และรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์ แรงไทดัลทำให้ดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงรีอยู่เล็กน้อย โดยมีแกนหลัก (แกนด้านยาว) ของวงรีชี้มายังโลกเสมอ
2. สนามแม่เหล็กของโลกกำลังเปลี่ยน
เราเคยเชื่อกันว่าสนามแม่เหล็กของโลกเป็นสิ่งคงที่ แต่อย่างไรก็ตาม มันสามารถเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ได้ อ้างอิงจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่า สนามแม่เหล็กโลกได้เคลื่อนที่ไปแล้วประมาณ 600 ไมล์ ตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 19 และจุดศูนย์กลางของมันอยู่ทางซีกโลกใต้เหนือมหาสมุทรแอนตาร์กติก ความเร็วของมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งมันจะเคลื่อนที่ช้าลงอีกครั้ง
3. แรงโน้มถ่วงบนโลกไม่ได้เท่ากันทุกที่
เนื่องจากโลกไม่ได้เป็นทรงกลมโดยสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดการผันผวนของแรงโน้มถ่วงขึ้นในสถานที่ๆ แตกต่างกันบนโลกใบนี้ หนึ่งในสถานที่ๆ นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีความผิดปกติของแรงโน้มถ่วงก็คือ อ่าวฮัดสัน ในประเทศแคนาดา ซึ่งแรงโน้มถ่วงที่นี่จะต่ำกว่าสถานที่อื่นบนโลก แต่มนุษย์เองก็ไม่สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างนี้ได้
4. โลกอาจมีดวงจันทร์อย่างน้อย 2 ดวง
นักวิทยศาสตร์บางคนเชื่อว่า โลกเราอาจมีดวงจันทร์ดวงที่ 2 ซ่อนอยู่โดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยยอร์ค ในประเทศแคนาดา ระบุว่า มีวัตถุในจักรวาลอื่นๆ ที่กำลังโคจรรอบโลกของเราอยู่ มันไม่ใช่วัตถุเดิมวัตถุเดียว แต่มันเป็นวัตถุชั่วคราวที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
เชื่อกันว่าสนามแรงโน้มถ่วงของโลกเราบางครั้งก็ดึงดูดดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เข้ามาและโคจรรอบโลกของเราไม่กี่รอบ ก่อนที่จะลอยหายไปในอวกาศ
5. มีแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์เหมือนกับบนโลก
ในขณะที่แผ่นดินไหวบนโลกเรียกว่า เอิร์ธเควก (Earthquake) บนดวงจันทร์เองก็มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า มูนเควก (Moonquake) เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเกิดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ถือเป็นปรากฏการณ์หายากที่ไม่ได้เกิดบ่อยเหมือนกับบนโลกมนุษย์ และมักจะเกิดในชั้นดินที่ลึกมากใกล้กับแกนของดวงดาว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาเหตุการเกิดมูนเควก น่าจะมาจากแรงดึงดูดของโลกและดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญ
6. ทองคำที่ซ่อนอยู่
ถ้าสมมุติว่าเรานำทองคำที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกมาฉาบพื้นผิวบนโลกทั้งหมด เราจะได้โลกพื้นผิวทองคำที่มีความหนาถึง 1.6 ฟุต หรือราวๆ 48.76 เซ็นติเมตร เลยทีเดียว แต่นั่นไม่ใช่ทองคำที่เราเห็นกันอยู่ตามร้านทองในเยาวราช หรือทองคำแท่งที่มีอยู่มากมายมหาศาลตามเซฟธนาคารใหญ่ๆ ของโลก
โดยศาสตราจารย์เบอร์นาร์ด วูด นักธรณีวิทยจากมหาวิทยาลัยแม็กไควรี ในซิดนีย์ ได้ระบุว่า “ทองคำส่วนใหญ่บนโลกเรานี้ มากกว่า 99% อยู่ในแกนโลก” ว่าแต่ใครจะอาสาเข้าไปยังแกนโลกเพื่อเอาทองคำเหล่านี้ออกมาได้ล่ะ ?
7. โลกเราเคยเป็นสีม่วงมาก่อน
พืชในสมัยอดีตเมื่อนานมาแล้วไม่ได้เป็นสีเขียว เพราะมันใช้โมเลกุลไวแสงชนิดอื่นที่เรียกว่า Retinal แทนคลอโรฟิลด์ โดยปกติคลอโรฟิลด์จะดูดซับความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงินและสีแดงจากดวงอาทิตย์ และสะท้อนออกมาเป็นแสงสีเขียว นั่นทำให้พืชปัจจุบันมีสีเขียว แต่ Retinal จะดูดซับแสงสีเขียวและสะท้อนออกมาเป็นแสงสีม่วงแดงแทน
8. จุดที่ร้อนที่สุดและจุดที่หนาวที่สุดในโลก
สถานที่ๆ ร้อนที่สุดในโลกอยู่ในเมือง Aziziya ประเทศลิเบีย ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 58 องศาเซลเซียส ส่วนจุดที่หนาวเย็นที่สุดโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่แอนตาร์กติกา คือ -73 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เคยวัดได้ต่ำที่สุดบนโลกนี้ อยู่ที่สนานี Vostok ของรัสเซีย โดยมีอุณ -89.2 องศาเซลเซียส ซึ่งวัดได้เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1983
9. ยุคน้ำแข็งขนาดเล็กอาจเกิดขึ้นในปี 2019
การเกิดยุคน้ำแข็งขนาดเล็ก (Little Ice Age) เคยเกิดมาแล้วในศตวรรษที่ 15 โดยมีสาเหตุมาจากจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ จำนวนภูเขาไฟระเบิด และการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในทะเล เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกลดต่ำลงเข้าสู่ภาวะ Global Cooling จนกลายเป็นยุค Mini Ice Age โดย ณ เวลานั้น ชาวไวกิ้งจำเป็นต้องทิ้งเกาะกรีนแลนด์ เพราะมันกลายเป็นสถานที่ๆ หนาวเกินกว่าจะอยู่อาศัยได้
และจากงานวิจัยล่าสุดยังพบว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 230 ปี ซึ่งถ้านับตามรอบเวลาจะพบว่ามันได้เริ่มต้นไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2014 ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลงอีกในปี ค.ศ. 2019 ทั้งหมดเป็นผลจากจุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกินเวลา 33 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 2020-2053 และจะมีผลให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา