14 ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย ที่เราอาจไม่เคยเข้าใจมันมาก่อน

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน การตอบสนองของเราในสิ่งรอบตัวทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นบนโลกใบนี้ คุณรู้ไหมทำไมเราถึงสงสัย? ความขี้เกียจนปกป้องเราจากสิ่งใด? ทำไมเราถึงชอบปัสสาวะขณะกำลังอาบน้ำฝักบัวและเราได้รับผลจากความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างไร? วันนี้เพชรมายาจะนำทุกคนไปเรียนรู้การตอบสนองของมนุษย์ที่เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้เราแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น

1. เด็กทารกทุกคนว่ายน้ำโดยการเปิดปากใต้น้ำได้

ทารกอายุ 3 ถึง 6 เดือนสามารถกลั้นลมหายใจได้ทันทีเมื่อลงไปอยู่ใต้น้ำรวมถึงการว่ายไปข้างหน้าด้วย ถ้าน้ำเข้าไปในปากของเด็ก เส้นเสียงและฝากล่องเสียงจะปิดลงเพื่อป้องกันน้ำเข้าไปสู่ปอด

ทารกที่อายุมากกว่า 6 เดือนจะสูญเสียความสามารถดังกล่าวไปและต้องเรียนรู้การว่ายน้ำตั้งแต่เริ่มต้นเหมือนดั่งกับว่าพวกเขาไม่เคยว่ายน้ำมาก่อน แต่เราขอแนะนำให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสอนทารกว่ายน้ำ

2. ส่วนประกอบของน้ำตาเปลี่ยนได้ขึ้นกับเหตุผลที่คุณร้องไห้

ส่วนประกอบของน้ำตาแต่ละคนแตกต่างกันไป เช่น การกระพริบตาหรือการนั่งอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน น้ำตาที่หลังออกมาจะอุดมไปด้วยสารต้านแบคทีเรียที่ทำให้ดวงตาชุ่มชื้น รวมถึงการเกิดน้ำตาจากปัจจัยภายนอก เช่น เมื่อคุณหั่นหอมใหญ่, ติดขนตา หรือมีควันรอบตัวคุณ ก็จะเกิดเป็นสารประกอบในน้ำตาที่แตกต่างกัน

และเมื่อเราร้องไห้จากเหตุสะเทือนอารมณ์ น้ำตาของเราจะประกอบด้วยฮอร์โมนพิเศษที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวด

3. ความขี้เกียจเป็นกลไกปกป้องตัวเองที่เกิดตามธรรมชาติของเรา

เมื่อร่างกายของคุณโดนข้อจำกัดบางอย่าง ปฏิกิริยาตอบโต้ของร่างกายคุณคือการอยากเป็นอิสระ ยิ่งเราพบกับข้อจำกัดนี้นานเท่าไหร่ เราก็ยิ่งอยากกำจัดมันทิ้งมากเท่านั้น และนั่นเป็นเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ความขี้เกียจไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดี แต่มันเป็นการก่อกบฏภายในร่างกายของเราที่พยายามปกป้องตัวเองจากความเครียดนั่นเอง

4. ถ้าคุณใช้เวลานานในความมืด ดวงตาของคุณจะเห็นกลุ่มแสงที่ไม่ปกติ

นักบินอวกาศ นักโทษที่ถูกขังเดี่ยว และผู้ที่ชื่นชอบการนั่งสมาธิอาจเคยพบเจอปราฏการณ์นี้ โดยมันถูกเรียกว่า “Prisoner’s cinema” คือการพบเห็นแสงไฟที่สามารถเปลี่ยนสีและมีรูปทรงแตกต่างกันไปปรากฏขึ้นในความมืด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด สารเคมีในสมอง หรือสนามแม่เหล็กเข้มข้น จนส่งผลกระทบต่อดวงตา แน่นอนว่าไม่มีเหตุผลทางไสยศาสตร์มาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

5. ความอยากรู้อยากเห็นเป็นระบบอัตโนมัติที่เพิ่มโอกาสการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุขมากขึ้น

ความอยากรู้อยากเห็นคือตัวอย่างของการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว อวัยวะของเราได้รับข้อมูลเกี่ยวสิ่งรอบตัวเราตลอดเวลาและสมองจะนำข้อมูลใหม่ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เคยได้รับมาก่อน หากพบว่าเป็นข้อมูลที่แตกต่างกัน การตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวจะทำงาน นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งใจมองสิ่งใหม่หรือตั้งใจฟังเสียงที่ไม่คุ้นหูเรามาก่อน

การตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวคือหัวใจหลักของพฤติกรรมที่ทำให้เราอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยสมองมอบความรู้สึกสนุกให้ตัวเองเพื่อผลักดันความอยากรู้อยากเห็นไปอีกขั้น เชื่อกันว่ามันทำให้คนเรามีชีวิตที่ยาวนานขึ้นและมีความสุขเพราะสมองได้รับการฟื้นฟูด้วยฮอร์โมน

6. การกระทำที่ยังไม่เสร็จสิ้นจะทำให้สมองรีโหลด ซึ่งนำไปสู่สถานะที่คล้ายกับการนั่งสมาธิ

เมื่อคุณต้องทำงานเที่ซ้ำซากน่าเบื่อ สมองจะปิดตัวเองลงแต่ดวงตายังคงทำงานต่อ ถ้างานนั้นยังไม่เสร็จ สมองคุณจะเข้าสู่สภาวะะที่คล้ายกับการทำสมาธิ มันเหมือนกับการรีโหลดที่จะลบความคิดที่ไม่จำเป็นออกไปและพยายามเข้าใจถึงงานที่ต้องทำให้เสร็จ งานใหม่อาจอยู่ข้างหน้าคุณแต่สมองอาจจะไม่ได้จดจ่อกับมันได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างของกระบวนการนี้คือการที่คุณลืมไปว่าเข้ามาในบ้านได้อย่างไรเพราะคุณกำลังคุยโทรศัพท์เรื่องสำคัญอยู่

7. ความทรงจำในห้องน้ำทำให้เราอยากปัสสาวะระหว่างใช้ฝักบัว

ถ้าคุณได้ยินเสียงสายน้ำจากฝักบัว หลายคนอาจจะอยากเข้าห้องน้ำ นักวิทยาศาสตร์ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่าเป็นเพราะเราตอบสนองกับสิ่งที่เราเจอในวัยเด็ก ความทรงจำในวัยเด็กเมื่อคุณอยู่ในห้องน้ำ และเมื่อเปิดน้ำอุ่นจากฝักบัวมันทำให้ผู้คนอยากปัสสาวะเช่นกัน

8. อัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะช้าลงทันทีเมื่อเอาหน้าลงไปในน้ำเย็น

มันคือการตอบสนองต่อการดำน้ำของคนเรา ทันทีที่คุณเอาหน้าลงไปสัมผัสกับน้ำเย็น ร่างการของคุณจะเข้าสู่สถานะการใช้พลังงานที่แตกต่างไป โดยเพิ่มความต้านทานต่อแรงดันและลดการใช้ออกซิเจน เพราะร่างกายคิดว่ากำลังเตรียมดำน้ำ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายต่ำลง หลอดเลือดจะบีบรัดขึ้น กระแสเลือดจะส่งไปเลี้ยงยังอวัยวะสำคัญ ระดับฮีโมโกลบินจะพุ่งสูงและเลือดจะได้รับออกซิเจนมากขึ้น โดยข้อดีของการดำน้ำลงไปในน้ำเย็นก็คือ จะช่วยลดอาการหัวใจเต้นเร็วและยังช่วยลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนอีกด้วย

9. ความเครียดทำให้สมองยากที่จะควบคุมรูม่านตา

ตากระตุกอาจมีผลมาจากความเหนื่อยล้า นอนไม่พอ ดื่มคาเฟอินมากเกินหรือได้รับยาบางอย่างเข้าไป มันขึ้นอยู่กับเส้นประสาทตาที่ตอบสนองเมื่อสมองในการพยายามรับภาพที่เกิดขึ้น เพราะความดันโลหิตสูงหรือความวิตกกังวลทำให้ไม่สามารถตั้งสมาธิได้ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสิ่งนี้เช่น การที่คุณขึ้นม้าหมุนหรือหมุนรอบตัวเอง เมื่อหยุดรูม่านตาของคุณจะสั่นระยะเวลาหนึ่ง

10. ผู้คนเขินอายเพื่อทำให้คนอื่นสับสน

เชื่อกันว่าความเขินอายคือส่วนหนึ่งของกลไกป้องกันตัวเอง อะดรีนาลีนจะพุ่งขึ้นฉับพลันเป็นการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก รูม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็วและเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนจะสูบฉีดเข้าไปยังกล้ามเนื้อ กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นทั่วร่างกายแต่ส่วนที่แดงจะเห็นได้ชัดมากที่สุดตรงหู คอ ส่วนบนของอกและใบหน้า

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเมื่อเราเห็นคนที่กำลังเขินอาย เราจะสับสนว่าจะทำเช่นไรและเราพยายามที่จะเข้าใจในสถานการณ์ของพวกเขา โดยคนที่หน้าแดงจากสถานการณ์ขายหน้ามักเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่นมากกว่าคนที่อยู่ในสถานะปกติ

11. ขนลุกคือสัญญาณของการเปลี่ยนอารมณ์ฉับพลัน

ขนลุก เกิดจากการตอบสนองชั่วคราวของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อขนขนาดเล็กซึ่งเกาะอยู่ที่บริเวณรูขุมขนทั่วร่างกายจนเกิดการตั้งชันของเส้นขน โดยอาการขนลุกอาจเกิดจากสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อากาศหนาว หรืออารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความกลัว

12. สมองได้รับการถ่ายทอดอารมณ์จากผู้อื่น โดยนำเอามาเป็นของตัวเอง

อย่างเช่นเด็กทารก เมื่อพ่อแม่เศร้าทารกจะสัมผัสได้และเริ่มร้องไห้แม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าทำไมก็ตาม ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะการติดเชื้อทางอารมณ์ เป็นเหตุผลที่เราอินไปกับความรู้สึกของคนอื่นที่มีความสุขได้ แม้ว่าเราจะไม่มีเหตุผลที่จะรู้สึกแบบนั้นก็ตาม ความสามารถในการติดเชื้อและทำให้ติดเชื้อทางอารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ

13. ดวงตาจะจับจ้องไปยังสิ่งเดิม แม้ว่าคุณจะหันหัวหรือร่างกายแล้วก็ตาม

มันคือวิธีการที่คนเราหันหัวไปทางซ้ายหรือขวาแต่สายตายังจับจ้องไปที่บางสิ่งอยู่ การตอบสนองของเส้นประสาทตามีส่วนในเรื่องนี้ มันช่วยให้สมองคงภาพที่เราเห็นไว้ มันคือการตอบสนองที่ทำให้นักเต้นบัลเลท์หมุน 20 – 30 ครั้งได้ในระหว่างทำการแสดงอันน่าทึ่ง

14. เมื่อมองไปที่ดวงอาทิตย์จะทำให้เราอยากจาม

คน 1 ใน 4 จะจามเมื่อพวกเขามองไปที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ มันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายผ่านระบบประสาทอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองจากสิ่งเร้าบางอย่าง ในกรณีนี้คือ แสงแดด แล้วมีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณจมูกจนทำให้มีอาการจามเกิดขึ้น และมันสามารถสืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ