สำหรับคนยุคใหม่ที่ชื่นชอบการทำงานจนดึก อดนอนเพื่อดูซีรีย์ที่คุณโปรดปราน หรือทำงานอดิเรกจนถึงเช้า เรื่องราวของการอดนอนในปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ปกติ ความเครียด กิจกรรมประจำวันและการเร่งรีบในการใช้ชีวิตมันยากที่จะทำให้คนเรานอนหลับได้โดยง่ายในเวลากลางคืน แต่สิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ มันส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณด้วยเช่นกัน วันนี้เพชรมายาจะมาบอกเล่าถึงการศึกษาครั้งใหม่ ที่จะทำให้คุณตระหนักถึงความสำคัญของการนอนให้เพียงพอ
การนอนหลับช่วยเราให้ปลดปล่อยสารพิษออกมา
การนอนจะช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา รวมทั้งระบบทางเดินหายใจและระดับพลังงานของเรา ทำให้สมองของเรากลั่นกรองข้อมูลที่มีมาตลอดทั้งวันที่จำเป็นได้ นอกจากช่วยเราในการปรับสมดุลความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจแล้ว ยังช่วยในการกำจัดสารพิษที่ตกค้างจากกิจกรรมทางระบบประสาทของเราที่พบระหว่างวัน เมื่อเรามีเวลาพักไม่เพียงพอ ร่างกายของเราจะนำสารพิษเหล่านั้นไปเป็นพลังงานสำรองแทน
เผาผลาญเชื้อเพลิงในสมอง
ในระยะเวลาอันสั้น การกำจัดสารพิษเหล่านั้นสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพสมองของเราได้ เมื่อพลังงานทั้งหมดถูกใช้ในการกระบวนการขับสารพิษ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เผชิญปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังหรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ การใช้พลังงานสำรองที่อยู่ในสมองทั้งหมดอาจส่งผลต่อระบบการทำงานและนำไปสู่การเสื่อมสภาพของอวัยวะภายในได้
การศึกษาในหนูทดลอง
ทีมนักประสาทวิทยานำโดยมิเชล แบลเลซี แห่งมหาวิทยาลัยมาร์ชในอิตาลี ทำการศึกษาโดยใช้หนูทดลอง โดยทำการแบ่งมันออกเป็นหลาย ๆ กลุ่ม: โดยกลุ่มแรกจะให้มันนอนมากเท่าไหร่ก็ได้ ในขณะที่กลุ่มสองถูกบังคับให้ตื่นนอนและจะนอนได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และกลุ่มที่สามถูกทำให้ตื่นตลอดระยะเวลา 5 วันต่อเนื่อง เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เห็นการเปลี่ยนแปลงของสมองพวกมัน
เซลล์ชำระล้าง
แอสโทรไซต์รับผิดชอบในระบบชำระล้างตัวเองของสมอง และเซลล์ตัวนี้ก็มีในหนูทดลองด้วย จากการสำรวจกิจกรรมของเซลล์ส่วนนี้ในหนูทดลองพบว่า สมองของหนูทดลองในกลุ่มหนึ่งที่นอนหลับเพียงพอจะมีระดับกิจกรรมของแอสโทรไซต์ที่ 8% ส่วนหนูในกลุ่มที่สาม เมื่อผ่านไป 5 วันพบว่ามีระดับกิจกรรมของแอสโทรไซต์ที่ 13.5% ซึ่งหมายความว่าเซลล์เหล่านี้จะทำงานมากขึ้นเพื่อชำระล้างสมองเมื่อเรานอนหลับน้อยลงนั้นเอง
สมองอาจกลืนกินตัวเอง
สำหรับหนูแล้ว กระบวนการเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่ามีการกลืนกินจุดประสานประสาทในสมองพวกมัน และแน่นอนว่ามันมีผลแบบเดียวกันกับที่เกิดในมนุษย์ การนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกันอาจจะส่งผลให้กระบวนการเหล่านี้ทำงานอย่างหนัก ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรืออาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมชั่วคราวได้
คำแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดียิ่งขึ้น
มีวิธีการที่แตกต่างกันไปเพื่อช่วยให้คุณสามารถนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เราจะมาขอแนะนำวิธีการที่จะช่วยให้คุณนอนหลับได้ สำหรับผู้ที่เผชิญกับปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เราขอแนะนำให้คุณพบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า
- ทำสมาธิ
- ปรับเปลี่ยนห้องนอนของคุณให้มีความโล่งและสะดวกสบายมากขึ้น
- ทำกิจกรรมที่ใช้แรงกาย
- จำกัดการใช้เครื่องมือไฟฟ้า
- เข้านอนตรงตามเวลาทุกวัน
- ลดการบริโภคคาเฟอีน
- นำตัวเองออกสู่แสงแดดบ้าง เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นมากขึ้น
สำหรับคนที่มีปัญหาการนอนลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดูก็ไม่เสียหายนะ แล้วคุณมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับบางไหม? แล้วคุณมีวิธีแก้ไขอย่างไร บอกเราและคนอื่นได้ในคอมเมนต์
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ