ขณะที่โลกกำลังโกลาหลกับสถานการณ์ในปัจจุบัน คงจะดีกว่าถ้าเราจะหาสิ่งสวยงามจากที่อื่นมารับชมกัน โดยเฉพาะจากนอกโลก โชคดีที่นาซ่ายังคงทำภารกิจของพวกเขาในห้วงอวกาศอยู่ เมื่อไม่นานมานี้พวกเขาได้ปล่อยภาพชุดใหม่ล่าสุดของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมันสวยงามและน่าพิศวงยิ่งนัก เหล่านักวิทยาศาสตร์ใช้ภาพถ่ายจากกล้องจูโนบนยานอวกาศจูโนบินที่ผ่านดาวพฤหัสบดีในปี 2016 เรามารับชมภาพเหล่านี้พร้อมความอัศจรรย์ของดาวที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลกันด้านล่างกันดีกว่า
1.
ยานอวกาศจูโนของนาซ่าจับภาพดาวพฤหัสบดีที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกอย่างมาก ภาพพื้นผิวดวงดาวที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่ดูสับสนวุ่นว่ายและมีสีสันของก้อนเมฆและก๊าซ
2.
ก้อนเมฆที่ม้วนรวมกันจากหลายก้อนที่ซีกโลกตอนเหนือ ปรากฎฉากที่เผยให้เห็นแสงสีขาวปรากฎบนก้อนเมฆเป็นระยะ เช่นเดียวกับพายุแอนติไซโคลนที่รู้จักกันดีในชื่อของวงกลมขาว
3.
ระหว่างการบินเข้าไปใกล้ครั้งที่ 14 ของยานอวกาศจูโน ก็ได้ภาพอันน่าตื่นตาของพื้นที่ทางซีกโลกเหนือซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นเขตที่ซับซ้อนและวุ่นวาย ดาวพฤหัสบดีไม่มีพื้นที่แข็งเหมือนกับบนโลก ข้อมูลจากยานจูโนบ่งบอกว่าพ
4.
ภาพของกลุ่มก้อนเมฆที่เป็นรูปคลื่นจับตัวล้อมรอบบริเวณขั้วโลกใต้ของดาวพฤหัสบดี โดยหันหัวเข้ากับเขตเส้นศูนย์สูตร
5.
เมฆรูปโจเวียนที่ปรากฎเชดสีน้ำเงินหลากหลาย ช่างน่าอัศจรรย์เหมือนดั่งภาพสีน้ำมัน
6.
ดวงจันทร์ภูเขาไฟของดาวพฤหัสบดี ฉายเงาลงบนพื้นผิวของดาวดวงใหญ่ เกิดเป็นเงาที่ตื่นตาเมื่อยานอวกาศถ่ายภาพนี้ได้ ปรากฎการณ์เช่นนี้เหมือนกับสุริยุปราคาบนโลก เมื่อดวงจันทร์อยู่เส้นทางเดียวกันกับดวงอาทิตย์
7.
ภาพทางส่วนซีกโลกใต้ก็วุ่นวายไม่แพ้กัน โดยแสดงให้เห็นกลุ่มก๊าซบนดวงดาวขนาดใหญ่ดวงนี้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2018
8.
ภาพเต็มใบของดาวพฤหัสบดีที่เผยให้เห็นจุดสีแดงขนาดใหญ่และเขตซีกโลกใต้
9.
ภาพจากเขตซีกโลกเหนือที่ชื่อ “Jet N3” เผยให้เห็นลวดลายของไอน้ำที่สวยงามยิ่งนัก
10.
ภาพดวงดาวทางขั้วโลกใต้ โดยถ่ายจากระยะ 52,000 กิโลเมตรจากดาวพฤหัสบดี บริเวณวงกลมในภาพคือเหล่าไซโคลนที่มีขนาดถึง 1,000 กิโลเมตร ภาพถ่ายโดยใช้กล้องจูโนบนฐานวงโคจรที่แยกกันสามจุด โดยนำภาพทั้งหมดมารวมกัน เพิ่มสีสันและปรากฎให้เห็นภาพแบบสามมิติ
11.
พายุที่มีความซับซ้อนอย่างมากทางฝั่งใต้สุดของพื้นที่ขั้วโลกเหนือของดาวพฤหัสบดี เต็มไปด้วยเมฆรูปโจเวียน
12.
ดูความสลับซับซ้อนและน่าทึ่งของกลุ่มก้อนเมฆทางซีกโลกเหนือของดาวพฤหัสบดีสิ ช่างอลังการยิ่งนัก
13.
ก้อนเมฆรูปคลื่นที่สวยงามบนเขตเหนือของเส้นศูนย์สูตร นี่คือภาพที่ใกล้ที่สุดที่บันทึกภาพของก้อนเมฆรูปโจเวียนระหว่างการบินเข้าไปใกล้ดวงดาว
14.
แนวเส้นที่เหมือนกับแบ่งเขตของดวงดาวไว้แยกจากกัน มีสีสันและรูปแบบที่แตกต่างจากกันโดยสิ้นเชิง แสดงให้เห็นคลื่นของเมฆและก๊าซ
15.
ภาพสีของพายุลูกใหญ่ที่ดูรุนแรงทางซีกโลกเหนือบนดาวพฤหัส ขณะที่ยานอวกาศจูโนกำลังบินเข้าใกล้ครั้งที่ 9
16.
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2017 จากระยะ 12,858 กิโลเมตรจากดาวพฤหัสบดี แสดงภาพของก้อนเมฆขนาดเล็กทางฝั่งใต้ แม้ว่าจะดูเล็กเมื่อเทียบกับภาพทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วมันมีความสูงราว ๆ 50 กิโลเมตร เพียงพอให้บดบังเงาของก้อนเมฆด้านล่างมันได้ บนดาวพฤหัสบดี เมฆที่มีความสูงเช่นนี้มักประกอบด้วยน้ำและหรือก้อนน้ำแข็งแอมโมเนียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสายฟ้า นี่เป็นครั้งแรกที่เมฆหอคอยจำนวนมากปรากฎให้เห็น บางทีอาจเป็นเพราะแสงช่วงบ่ายที่ทำมุมได้อย่างเหมาะสม
17.
ก้อนเมฆหมุนกลุ่มทางเขตซีกโลกใต้ ซึ่งมีชื่อว่า วงกลมสีขาว A5 ประกอบด้วยพายุแอนติไซโคลน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ลมบริเวณรอบพายุหมุนในทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสลมในบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
18.
ภารกิจของนาซ่าทำให้เราได้เห็นภาพทางเขตซีกโลกใต้ โดยถ่ายเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2020 ครั้งนี้ยานอวกาศจูโนได้บินเข้าไปใกล้ดาวพฤหัสบดีเกือบจะมากที่สุด
19.
ภาพถ่ายนี้จับภาพของกลุ่มไอน้ำที่หนาแน่นและกระแสน้ำวนทางฝั่งเส้นแบ่งเขตทางเหนือ ทางฝั่งซีกโลกเหนือของดาวพฤหัสบดี
20.
ภาพอันงดงามของดาวพฤหัสบดี แสดงให้เห็นภาพของดาวที่เต็มไปด้วยกลุ่มก้อนเมฆเมื่อยานอวกาศจูโนบินเข้าไปใกล้ดาวดวงนี้เป็นครั้งที่ 12 หวังว่าสักวันหนึ่งเราจะได้ลงจอดบนยานดวงนี้ได้
การสำรวจของยานอวกาศจูโนในครั้งนี้คือการศึกษาข้อมูลความสำคัญของกลุ่มก้อนเมฆเหล่านี้ ไม่แน่ว่ามันอาจจะมีประโยชน์ต่อโลกมนุษย์เราสักวันหนึ่งก็เป็นได้
ที่มา : nasa.gov | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ