ใน Twitter มักมีเรื่องราวที่เป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจจำนวนมาก หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่หลายคนไม่เคยคาดคิด เช่นเรื่องราวของทฤษฎีที่บอกว่า เราสามารถตัดสินว่าใครเป็นคนดีหรือคนไม่ดีได้จากการกระทำหนึ่ง นั้นก็คือการเก็บรถเข็นในห้างสรรพสินค้า
จาเร็ดจากแอตแลนตาได้แชร์โพสต์ที่น่าสนใจไว้ใน Twitter ซึ่งได้รับการกดไลค์เกือบ 7 แสนครั้ง โดยเขาได้พิมพ์ข้อความว่า เขาอดสงสัยไม่ได้เลยเกี่ยวกับทฤษฎีการเก็บรถเข็น
ในโพสต์ของเขาประกอบด้วยภาพพร้อมข้อความที่บอกว่า ถ้าไม่ได้มีเรื่องคอขาดบาดตาย คุณจะยอมเก็บรถเข็นโดยไม่มีสิ่งตอบแทนไหม
สำหรับคนที่สงสัยว่าทฤษฎีการเก็บรถเข็นคืออะไร มันคือการทดสอบทางจิตใจ ในการเก็บรถเข็นที่เป็นงานแสนง่าย การเก็บรถเข็นเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่มีการบังคับ ซึ่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนที่จิตใจดีงาม มันไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่มันคือสิ่งที่ควรกระทำ อาจจะกล่าวได้ว่าการเก็บรถเข็นเป็นตัวชี้วัดว่าบุคคลนั้นเป็นคนดีหรือคนที่ไม่ดีในสังคมได้
นอกจากนั้นในตอนท้ายของทฤษฎีนี้ยังได้กล่าวอีกว่า บุคคลที่ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ก็ไม่ได้ดีไปกว่าสัตว์ คนป่าเถื่อนแบบนี้จะบังคับให้ทำสิ่งที่ถูกต้องได้ ก็คือการข่มขู่พวกเขาด้วยกฏหมายหรือการบังคับเท่านั้น
โพสต์ของจาเร็ดเป็นที่ถกเถียงกันมาก ว่าทฤษฎีนี้มันชี้วัดบุคคลได้จริงหรือ ในต่างประเทศหรือห้างสรรพสินค้าบางแห่งในประเทศไทยจะมีที่สำหรับเก็บรถเข็นให้เราไว้คืนรถเข็นหลังจากใช้งาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไรนักที่จะเข็นไปเก็บ แต่คนไทยเราไม่ได้ถูกรณรงค์ให้ทำการเก็บรถเข็น และมักจะทิ้งเอาไว้ตรงไหนก็ได้ที่อยากวางอยู่เสมอ โดยเราเชื่อว่า เดี๋ยวพนักงานของห้างก็จะเข็นไปเก็บให้เอง
หลายคนเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ว่าการคืนรถเข็นเป็นสิ่งที่ควรกระทำด้วยสามัญสำนึกและบอกว่าถ้าคนใดที่ปฎิเสธที่จะทำสิ่งนี้ก็ยากที่พูดได้ว่าเขานั้นเป็นคนดี โดยมีคนทำงานบริการมาบอกว่า เขาเห็นด้านที่เลวร้ายของมนุษย์มาแล้ว
บางคนถึงกับคอมเมนต์ว่ามันมีคนที่ไม่เก็บรถเข็นหลังใช้งานมากขนาดนั้นเลยหรือไง
แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนเห็นด้วย บางคนบอกว่าในบางครั้งเขามีเด็กในรถ มันจะเป็นอันตรายถ้าต้องนำรถเข็นไปเก็บและทิ้งเด็กไว้บนรถ หรือตอนที่อยู่คนเดียวก็อาจเป็นอันตรายได้
นักจิตบำบัดและที่ปรึกษา ทาติ ซิลวา ได้บอกไว้ว่า ทฤษฎีรถเข็นพูดถึงประเด็นได้ตรงจุด โดยเขาบอกว่ามันสะท้อนถึงตัวตนและอุปนิสัย โดยรวมแล้วมันคือพฤติกรรมที่หล่อหลอมจากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมที่พวกเขามี เพราะว่าไม่มีกฎหมายที่ห้ามหรือบอกว่ามันเป็นสิ่งผิด มันเป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด
ในทางสังคมเรื่องแบบนี้ไม่มีกฎตายตัวที่ระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ เช่นเดียวกันกับคนที่ชอบทิ้งขยะ บุหรี่หรือหมากฝรั่งลงพื้น หรือแม้แต่การหัวเราะให้กับคนที่ลื่นล้ม รวมถึงการไม่เปิดประตูค้างให้คนอื่น ทั้งหมดนี้มันเปิดเผยอุปนิสัยของคุณออกมา บางคนอาจจะทำมันโดยไม่คิดอะไรเพราะมันติดตัวจนเคยชินไปแล้ว
มีการจำลองสถานการณ์การวัดค่าทางจิตวิทยา ในชื่อของ Trolley Dilemma มันเป็นเหมือนคำถามเชิงปรัชญาที่ใช้วัดใจของคนได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีรถรางกำลังไหลไปตามทางและกำลังปะทะคนห้าคนนอนขวางรางอยู่และพวกเขาจะเสียชีวิต โดยคุณอยู่บนสะพานที่มีชายแปลกหน้ารูปร่างอ้วนอยู่ ตัวคุณตัวเล็กไปในการที่จะหยุดรถไฟได้ แต่คุณสามารถผลักคนอ้วนลงไปบนรางเพื่อขวางไม่ให้รถรางชนคนอื่นอีก 5 คนได้ แต่ชายอ้วนคนนั้นจะเสียชีวิตแทน คุณจะผลักชายแปลกหน้าคนนั้นหรือไม่ ?
คำถามชุดนี้เป็นคำถามเชิงปรัชญาที่ไร้ซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง แท้จริงแล้วคำถามนี้สะท้อนให้เห็นกลไกการทำงานของจิตใจคนโดยแบ่งคนออกเป็น “ผู้ใช้เหตุผล” กับ “ผู้ใช้สัญชาตญาณและความรู้สึก” นั่นเอง
แล้วเพื่อน ๆ คิดเห็นเช่นไรกับทฤษฎีนี้ การไม่เก็บรถเข็นเมื่อใช้งานเสร็จ สามารถบ่งบอกได้ว่าบุคคลนั้นเป็นคนดีได้จริงหรือไม่
ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ