การขึ้นราคาสินค้า เป็นสิ่งสุดท้ายที่เจ้าของผลิตภัณฑ์มักจะทำกัน ดังนั้นพวกเขาจึงมีกลยุทธ์ต่าง ๆ มากมายที่จะทำให้ประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแพ็กเกจสินค้าให้หลอกตาผู้บริโภค หรือแม้แต่การลดปริมาณลงแต่ขายในราคาเท่าเดิม วันนี้เพชรมายาจึงอยากพาทุกท่านไปชมตัวอย่างที่ฝรั่งแซวกันว่า “การหดตัวของสินค้า” ว่ามันจะเป็นอย่างไร
1. ขวดกาว 3M ที่เห็นว่ามีปริมาณเยอะ แต่พอแกะฉลากออกเท่านั้นแหละ
2. อย่าถูกหลอกด้วยขนาดแพ็กเกจภายนอก เพราะมันอาจมีภายในที่ซ่อนอยู่
3. บางครั้ง เมื่อคุณพลิกกลับด้านถุงมันฝรั่งแบบนี้ ก็อาจได้เห็นว่าข้างในมันว่างแค่ไหน
4. ขวดใหม่ที่บอกคุณว่า ปริมาณเพิ่มขึ้น 25 มิลลิลิตร
5. ช็อกโกแลตชื่อดังอย่าง Toblerone ที่เพิ่มระยะห่างของภูเขาช็อกโกแลตให้กว้างขึ้น
6. มันฝรั่งแผ่นพริงเกิลส์แบบเก่า (165 กรัม) เปรียบเทียบกับแบบใหม่ (134 กรัม)
7. โยเกิร์ตที่มีคำอธิบายเก๋ ๆ ว่า “พร้อมช่องว่างสำหรับใส่ท็อปปิ้ง” หรือที่หมายถึงว่า “เราลดปริมาณลงภายในแพ็กเกจที่เท่าเดิม”
8. ตอนฉันเป็นเด็ก ขนมพวกนี้มีความยาวเท่ากับความยาวของแพ็กเกจ
9. บาเกลพวกนี้เคยมี 6 ชิ้นต่อแพ็ก แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 5 ชิ้น แต่ราคายังเท่าเดิม
10. แพ็กเกจแบบเก่าระบุว่า คุณได้ปริมาณถุงชาพิเศษเพิ่มอีก 50% คือได้ 240 ถุงในราคา 160 ถุง ส่วนแพ็กเกจใหม่บอกว่า คุณได้ถุงชาพิเศษเพิ่ม 50 ถุง ไม่ใช่ 50% เหมือนเดิม
11. ไอศกรีมช็อกโกแลตชิป Breyers ที่เคยเต็มไปด้วยช็อกโกแลตชิป แต่ตอนนี้มันแทบจะกลายเป็นไอศกรีมวานิลลา
12. ดูเหมือนว่า Big Mac ที่นี่จะโดนไฟฉายย่อส่วนเข้าไป
13. โอริโอ้ที่ไม่ได้แค่บางขึ้น แต่ครีมก็ยังปริมาณน้อยจนไม่มาถึงขอบ
14. แบบเก่า (ซ้าย) ที่กำลังจะเลิกผลิตกับแบบใหม่ (ขวา) ราคาเท่าเดิม แต่ปริมาณลดลงจาก 13.2 ออนซ์ เหลือ 10 ออนซ์
15. แพ็กเกจของหมากฝรั่งที่ไม่เคยให้มาเต็มขนาด
16. ใช่แล้ว! นี่คือของใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้แม้แต่นิดเดียว
17. ยังมีช่องว่างที่เหลือไว้อีกเพียบ แต่ไม่รู้มีไว้เพื่ออะไร
18. มีคุกกี้ 3 ชิ้นที่ถูกวางนอน แทนที่จะวางตั้งเพื่อให้ใส่คุกกี้ได้เพิ่มขึ้นอีก
19. ภรรยาของผมซื้อกระดาษชำระมาจากร้านค้าวันนี้ นี่คือภาพเปรียบเทียบกับแกนกระดาษชำระขนาดปกติ
20. ราคาเดิม ชิ้นหนึ่งซื้อเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน และอีกชิ้นซื้อใหม่วันนี้
ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา