นักวิทย์สร้างคอนแท็กเลนส์ที่ซูมได้ด้วยการกระพริบตา 2 ครั้ง

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กำลังทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่น่าทึ่งนั่นคือ คอนแท็กเลนส์ที่ทำให้ผู้สวมใส่สามารถซูมได้ด้วยการใช้การพริบตาเข้าช่วย

อ้างอิงจากบทความที่มีชื่อว่า “A Biomimetic Soft Lens Controlled by Electrooculographic Signal” ได้อธิบายถึงคอนแท็กเลนส์ชนิดใหม่นี้ ที่มีความแตกต่างจากคอนแท็กเลนส์แบบเก่าๆ อย่างที่เคยมี

นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การประยุกต์ใช้สัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของดวงตา หรือที่เรียกว่า Electrooculography (EOG) เพื่อการติดต่อสื่อการกับสมองกล ซึ่งการกระพริบตาแบบมีเจตนา จะช่วยตอบสนองต่อคำสั่งที่ถูกโปรแกรมเอาไว้ได้

คอนแท็กเลนส์ชนิดใหม่นี้จะถูกควบคุมผ่านขั้วไฟฟ้าที่เลียนแบบการทำงานของกล้ามเนื้อตามนุษย์ มีโครงสร้างเป็นฟิล์มโพลิเมอร์ยืดหยุ่นผสมกับเนื้อเยื่ออินทรีย์ โดยฟิล์มดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างดวงตา โดยเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าขยายเพื่อลดความหนาของเลนส์เเละเพิ่มการหดตัวของเลนส์ ส่งผลให้จุดโฟกัสของแสงมีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น

อธิบายง่ายๆ ก็คือ แทนที่จะต้องใช้คำสั่งด้วยการกดปุ่มใดๆ ผู้สวมใส่สามารถสั่งการ “ซูมเข้า-ออก” ด้วยการกระพริบตา 2 ครั้ง เลนส์ดังกล่าวก็จะตรวจสับสัญญาณขั้วไฟฟ้าที่เกิดจากดวงตาเรานั่นเอง

ถึงแม้จะฟังดูไฮเทคอย่างมาก แต่คอนแท็กเลนส์ดังกล่าวก็ยังเป็นเพียงต้นแบบที่ต้องถูกนำไปพัฒนาต่ออีกพอสมควร กว่าที่จะได้ออกมาใช้จริงต่อไปในอนาคต

ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ