ชาวเน็ตแซวสถานที่เดียวกันในหนังฮอลลีวูด แค่ฟิลเตอร์เปลี่ยนประเทศก็เปลี่ยน

ย้อนกลับไปในปี 1978 เอ็ดเวิร์ด ซาอิด นักเขียนลูกครึ่งอเมริกัน-ปาเลสไตน์ ได้เขียนหนังสือที่น่าสนใจเล่มหนึ่งชื่อว่า Orientalism หรือแปลเป็นไทยให้งงๆ ก็คือ “บูรพาคดีศึกษา” โดยเป็นแนวคิดที่บอกว่า โลกของผู้คนที่ไม่ใช่อเมริกาหรือยุโรป ล้วนถูกสร้างขึ้นจากมุมมองของคนขาวทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ชาวเอเชีย อาหรับ หรือชาวแอฟริกา จะถูกมองว่าล้าหลัง ไร้อารยธรรม และในบางครั้งก็ดูอันตราย ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนและเกินจริงไปบ้าง โดยมุมมองที่ว่าก็ได้ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข่าว เพลง หรือภาพยนตร์ อย่างที่เราได้เห็นกัน

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮฮลลีวูดที่มักนำเสนอภาพจากประเทศอื่นตามแบบฉบับที่พวกเขาต้องการ ด้วยฟิลเตอร์และสีสันของภาพที่ออกมาแตกต่างจากความเป็นจริง และนี่คือตัวอย่างจากภาพถ่ายเดียวกัน จะดูแตกต่างกันอย่างไรเมื่อกลายเป็นแต่ละประเทศ

สหรัฐอเมริกา โทนภาพที่ดูเป็นปกติ

เม็กซิโก โทนภาพเป็นสีซีเปีย

ญี่ปุ่น ฟิลเตอร์นีออน ยิ่งเป็นฉากกลางคืนยิ่งชัด

ยุโรปตะวันตก ออกโทนสีเทา จืดชืด ดูเย็น ๆ

ยุโรปตะวันออก โทนเทาเช่นกัน แต่มีคอนทราสต์ ทำให้ดูโทรมกว่า

ตะวันออกกลาง โทนสีเหลือง ดูร้อน มีนอยซ์บนภาพ

แอฟริกา ดวงอาทิตย์ตระหง่าน โทนแสงสีร้อนจัด ชัดเจน

อินเดีย สีสันฉูดฉาด

บราซิล โทนแสงสีเหลือง เหมาะกับเมืองร้อน มีคอนทราสต์จัด ดูดิบ ๆ

ออสเตรเลีย เอิ่ม… ?!!!

ภาพมีมเหล่านี้ถูกโพสต์ลงบนเว็บไซต์ 9gag โดยคุณ sans_fi ในหัวข้อ “คู่มือภูมิศาสตร์ฉบับสมบูรณ์สำหรับภาพยนตร์” ถือว่าเป็นการเหน็บวิธีการนำเสนอในภาพยนตร์ฮอลลีวูดได้อย่างน่าสนใจ และมีชาวเน็ตจำนวนมากเห็นด้วยกับเรื่องนี้

แต่สำหรับประเทศไทยล่ะ เราควรมีฟิลเตอร์แบบไหน ?

ที่มา : boredpanda | 9gag | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ