ครูสาวสอนเด็ก ป.3 เกี่ยวกับความเสมอภาคด้วยการใช้พลาสเตอร์ยา

โรงเรียนที่ดีไม่ควรเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเพียงอย่างเดียว แต่โรงเรียนควรสั่งสอนให้เด็กรู้จักเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าอีกด้วย ดังนั้นคุณครูจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่จะคอยสั่งสอนเด็ก ๆ ให้ได้รู้ถึงบทเรียนชีวิตที่สำคัญไม่แพ้บทเรียนธรรมดาทั่วไป

และนี่คือเรื่องราวของ ไอมี คุณครูสาววัย 21 ปีที่เป็นคุณครูประจำชั้นของเด็กนักเรียนเกรด 3 ของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งตัดสินใจที่จะสอนเด็กนักเรียนของเธอเกี่ยวกับเรื่องของ “ความเสมอภาค” แต่เธอได้ใช้วิธีที่แยบยลกว่าที่เราคิด

“ฉันสอนความเสมอภาคให้กับเด็ก ๆ ประถมด้วยการใช้พลาสเตอร์ยาได้อย่างไร” ไอมีกล่าวใน TikTok ของเธอ

“ในวันเปิดเทอมวันแรก ฉันถามเด็ก ๆ ว่าถ้าใครเคยเป็นแผลถลอกที่ข้อศอกขอให้ยกมือขึ้น ซึ่งคุณจินตนาการได้เลยว่าเด็ก ๆ ยกมือทุกคน”

“จากนั้นฉันก็ให้พลาสเตอร์ยากับเด็กคนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของเขาว่าทำไมถึงเป็นแผลที่ข้อศอก ฉันติดพลาสเตอร์ไปที่ข้อศอกของเด็กน้อย”

“ต่อมา ฉันถามว่าใครเคยหัวโนบ้าง มีเด็ก ๆ ยกมือ ฉันให้บางคนเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากนั้นฉันก็บอกว่า … ครูเสียใจด้วยนะที่เธอหัวโน นี่คือพลาสเตอร์สำหรับข้อศอกของเธอ”

มาถึงจุดนี้ เด็ก ๆ เริ่มสับสนเล็กน้อย ฉันถามต่อไปว่าใครเคยเข่าถลอกบ้าง มีเด็ก ๆ ยกมือขึ้นอีก และฉันก็พูดเหมือนเดิมว่า … ครูเสียใจด้วยนะที่เธอเข่าถลอก นี่คือพลาสเตอร์สำหรับข้อศอกของเธอ”

“เมื่อมาถึงจุดนี้ เด็ก ๆ งงหนักมาก”

หลังจากนั้น ไอมีก็หยุดบทเรียนของเธอเพื่อมาอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เธอกล่าวว่า การให้ทุกคนในสิ่งเดียวกัน ด้วยวิธีเหมือน ๆ กัน ไม่ได้ช่วยเหลือพวกเขาอย่างแท้จริง ความเสมอภาคไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องใช้สิ่งที่เหมือนกัน ความเสมอภาคหมายถึงทุกคนต้องได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการมันจริง ๆ”

หลังจากอธิบายจบ เด็ก ๆ ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นเวลาที่เพื่อนบางคนในห้องที่เป็นเด็กพิเศษ และต้องได้รับความช่วยเหลือบางอย่างที่มากกว่าคนอื่น ๆ ทุกคนเข้าใจว่าทำไมเด็กบางคนถึงได้รับบางสิ่งที่คนอื่นไม่ได้รับ

ความเท่าเทียม (Equality) VS ความเสมอภาค (Equity) 

ไอมีอธิบายว่า บทเรียนของเธอจะช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เด็ก ๆ รู้จักวิธีปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมชั้นเวลาที่ต้องการบางสิ่งที่จำเป็น เด็กที่เป็นเบาหวานต้องมีของกินพิเศษ เด็กออทิสติกต้องใช้หูฟังที่ตัดเสียงรบกวน เด็กสมาธิสั้นต้องใช้ฟิดเจอร์สปินเนอร์ ในขณะที่คนไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็เข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ได้มัน

ด้วยการสอนที่แยบยลของไอมีทำให้คลิปของเธอกลายเป็นกระแสบน TikTok จนมีผู้ชมมากกว่า 5.9 ล้านวิวเลยทีเดียว และชาวเน็ตต่างก็ชื่นชมวิธีการสอนของคุณครูสาวว่าเป็นการสอนที่ชาญฉลาดมาก โดยเฉพาะกับเด็กนักเรียนที่ต้องอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ๆ ที่มีความหลากหลาย

@aimeesedventures##howiteach fairness to my ##elementarystudents ##iteach ##backtoschool ##teachersoftiktok ##teachersontiktok ##teacher ##teachingontiktok ##classroom

♬ original sound – Aimee | Elementary Teacher

ที่มา : boredpanda | TikTok | เรียบเรียงโดย เพชรมายา