กรีนแลนด์ ถึงแม้ชื่อของมันจะแปลว่าดินแดนสีเขียว แต่ในความเป็นจริงแล้วที่นี่เป็นเกาะขนาดใหญ่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ถึงแม้ที่นี่จะมีอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี แต่มันก็ถือว่าเป็นดินแดนที่มีแต่ความแห้งแล้งเพราะไม่เคยมีฝนตกที่กรีนแลนด์มาก่อน จนประทั่งเมื่อไม่กี่วันมานี้
ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกรีนแลนด์ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมาคือวันแรกที่กรีนแลนด์มีฝนตกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และมันไม่ใช่หิมะอย่างที่เคยเป็น
ปริมาณน้ำกว่า 7 พันล้านตันได้ตกลงมาจากฟากฟ้ากินเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกันตั้งแต่ในวันที่ 14-15 สิงหาคม บนยอดเขาสูงที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและมันกำลังเสี่ยงต่อการละลายอย่างรวดเร็ว
จากรายงานของศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐฯ (NSIDC) คาดว่าพื้นที่ประมาณ 872,000 ตางรางกิโลเมตรที่เป็นน้ำแข็งเสี่ยงต่อการละลายหายไป
นักวิจัยของ NSIDC กล่าวว่า “ไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับฝนตกในพื้นที่นี้มาก่อน บริเวณจุดที่สูงถึง 10,551 ฟุต และปริมาณน้ำแข็งที่ละลายหายไปใน 1 วันตอนนี้เทียบเท่ากับการละลายของน้ำแข็ง 1 สัปดาห์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”
เท็ด สแคมบอส นักวิจัยจาก NSIDC ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ในรอบ 10-20 ปี แต่มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรากำลังก้าวข้ามขีดจำกัดที่เราไม่เคยพบเห็นนับพันปีมาแล้ว และแน่นอนว่าสิ่งนี้จะยังคงอยู่ต่อไป จนกว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราทำอยู่ตอนนี้
นี่เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่อุณหภูมิในกรีนแลนด์สูงกว่าจุดเยือกแข็งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และมันอาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนกรีนแลนด์ต่อจากนี้
ย้อนกลับไปในช่วงต้นปี นักวิจัยได้ออกมาเตือนว่าแผ่นน้ำแข็งของกรีนแลนด์กำลังจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ นั่นคือมันกำลังจะละลายต่อไปแม้ว่าอุณหภูมิโลกจะไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นน้ำแข็งละลายครั้งใหญ่ในกรีนแลนด์จนส่งผลให้สูญเสียพื้นผิวน้ำแข็งขนาด 9,370 ล้านตันต่อวัน และมันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงฤดูร้อน
ในขณะที่นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า นี่คือ “ภาวะฉุกเฉินของมนุษยชาติ” ที่เป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพอากาศที่จะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม
คาดว่าโลกเราจะถึงเกณฑ์วิกฤตเมื่อมันร้อนขึ้นเพียง 1.5 องศา และมันอาจเกิดขึ้นภายใน 20 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเราอาจต้องพบกับภัยธรรมชาติที่คาดไม่ถึงอีกมากมายทีเดียว
ที่มา : livescience | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ