ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการชาร์จมือถือ ที่เราควรหยุดเชื่อได้แล้ว

เทคโนโลยีเกี่ยวกับมือถือและสมาร์ทโฟนเติบโตอย่างก้าวกระโดด และรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อ 20 ปีก่อนเราอาจใช้มือถือเครื่องใหญ่ หน้าจอขาวดำ ทำอะไรไม่ได้นอกจากโทรออกกับรับสาย แต่ในปัจจุบันนี้ เราสามารถใช้มือถือทำอะไรต่าง ๆ ได้มากมาย จนแทบไม่น่าเชื่อว่ามันใช้เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่สิบปีเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ การยังมีความเชื่อผิด ๆ แบบเดิม ๆ ที่เราอาจยังเข้าใจผิดอยู่ ซึ่งหลังจากอ่านบทความนี้แล้วหวังว่าเราจะหูตาสว่างกันมากขึ้นเสียที

ความเชื่อที่ 1: คุณไม่ควรชาร์จมือถือข้ามคืน

charger-myth-01

ต้องขอบคุณแบตเตอรี “ลิเธียมไอออน” ยุคใหม่ ที่ทำให้คุณสามารถชาร์จมือถือข้ามคืนได้ แบตเตอรีเหล่านี้มีตัวควบคุมที่จะช่วยหยุดการชาร์จเมื่อแบตเตอรีเต็ม ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องกังวลกับการชาร์จมือถือข้ามคืนอีกต่อไป

ความเชื่อที่ 2: คุณควรชาร์จมือถือตอนแบตใกล้หมด 10%

charger-myth-02

แบตลีเธียมไอออน มีสิ่งที่จำกัดจำนวนการชาร์จโดยมีหน่วยเรียกว่า “ไซเคิล” (Cycle) อย่างเช่นมือถือไอโฟนของคุณอาจมีอายุการชาร์จ 500 ไซเคิล โดย 1 ไซเคิล คือการชาร์จมือถือเต็มตั้งแต่ 0% จนถึง 100% ดังนั้น ถ้าคุณชาร์จมือถือตอนแบต 90% แสดงว่าคุณใช้ไปเพียง 1/10 ไซเคิลเท่านั้น

อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ แบตเตอรีของคุณจะทำงานได้นานขึ้นถ้าคุณชาร์จมือถือที่ราว ๆ 40%-80% ซึ่งคุณจะชาร์จตอนไหนก็ได้ ไม่ต้องกลัวแบตเสื่อม

ความเชื่อที่ 3: คุณไม่ควรเสียบปลั๊กที่ชาร์จทิ้งไว้

cellphone charger design

การเสียบปลั๊กคาเอาไว้คือความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งาน สิ่งที่ควรระวังไว้ก็คือบ้านของคุณต้องมีระบบตัดไฟ ในกระณีเกิดไฟกระชาก หรือต้องระวังหากคุณมีสัตว์เลี้ยง น้ำรั่ว หรือมีอาการที่เครื่องชาร์จร้อนโดยที่ไม่ได้เสียบชาร์จ ซึ่งหากคุณมีมาตรการที่รัดกุมดี สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับคุณเองว่าจะเสียบที่ชาร์จค้างไว้หรือไม่

ความเชื่อที่ 4: แล็ปท็อปอาจมีปัญหา ถ้ามีการเสียบชาร์จเอาไว้

charger-myth-04

สาเหตุของความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากการที่อุปกรณ์มีความร้อนสูงเกินไป แต่ด้วยเทคโนโลยีแบตลิเธียมไอออน จะช่วยให้ตัดไฟได้ทันทีเมื่อแบตเตอรีเต็ม ดังนั้นการเสียบชาร์จมือถือกับแล็ปท็อปจึงไม่ใช่ปัญหา เพราะปัญหาเกี่ยวกับมือถือส่วนมากไม่ได้เกิดจากที่ชาร์จ แต่เกิดจากความผิดพลาดของผู้ใช้มากกว่า

สรุปแล้วเทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวหน้าไปกว่าแต่ก่อนมาก ดังนั้นความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้เรากังวลใจ อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดเหล่านี้เสียใหม่ แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่าจะเชื่อใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรืออยากทำตามที่เราสบายใจดีกว่า

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา