ด่วน! นาซ่าแถลงพบระบบดาวใหม่ ที่คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

เมื่อเวลา 1.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ตามเวลาประเทศไทย ทางนาซ่าได้ทำการแถลงข่าวการค้นพบครั้งใหม่ โดยเป็นการค้นพบระบบดวงดาวขนาดเล็กที่อยู่ห่างออกไปราว 39 ปีแสงเท่านั้น โดยมันเป็นที่รู้จักในชื่อ Trappist-1

 

สิ่งที่น่าตื่นเต้นก็คือ มีดวงดาวทั้งหมด 7 ดวงที่มีลักษณะคล้ายโลก โคจรอยู่ใกล้กับดาวแคระ Trappist-1 และดวงดาวทั้ง 7 ดวงนั้นอาจมีน้ำหรือมหาสมุทรอยู่บนพื้นผิว ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ก่อเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นได้ แถม 3 ใน 7 ดวงยังมีปัจจัยที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอย่างมาก

 

พื้นผิวของดาวเคราะห์ชั้นใน 6 ดวง มีอุณหภูมิพื้นผิวอยู่ระหว่าง 0-100 องศา ซึ่งส่งผลให้พื้นที่บางส่วนบนดาวเคราะห์ มีสภาพบรรยากาศที่เหมาะต่อการเติบโตของสิ่งมีชีวิต จนถึงขั้นมีพัฒนาการไปเรียบร้อยแล้ว

 

จากภาพ เราจะเห็นว่าดวงดาว h ที่อยู่ห่างที่สุด จะมีลักษณะเป็นดวงดาวน้ำแข็ง ส่วน b c d จะค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง ส่วนดวงดาวที่คาดว่าจะมีน้ำและเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตที่สุด 3 ดวงก็คือ e f และ g

 

ภาพด้านล่างเป็นภาพคอนเซปต์ของดาว F ที่มีขนาดเท่าๆ กับโลก แต่ภูมิอากาศเย็นกว่าเล็กน้อย และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่นี่มากที่สุด

 

ขนาดของ Trappist-1 เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา ค่อนข้างเล็กกว่ามากทีเดียว

 

ส่วนภาพนี้ เป็นการเปรียบเทียบวงโคจร ระยะห่างของดาว รัศมีวงโคจร ของดวงดาวทั้ง 7 กับ ดาวพุธ ศุกร์ โลก และดาวอังคาร

 

ถึงแม้โลกและ Trappist-1 จะอยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเหมือนๆ กัน ที่ใหญ่ขนาด 100,000 ปีแสง แต่เราอยู่ห่างจาก Trappist-1 แค่ 39 ปีแสงเท่านั้น

 

แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อที่จะเดินทางไปที่นั่น ก็จะกินเวลานานถึง 100,000 ปีเลยทีเดียว

 

ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่ายังไม่เคยค้นพบระบบดวงดาวที่ประกอบด้วยดาวเคราะห์หินที่มีขนาดพอๆ กับโลก เยอะขนาดนี้มาก่อน และนี่เป็นครั้งแรกที่มีมนุษย์เรามีโอกาสได้พบสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนดาวดวงอื่น

 

นักวิจัยนาซ่ากล่าวว่า “นี่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น” ซึ่งพวกเรามีโอกาสรู้ว่า จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกเหนือจากบนโลกนี้ อาศัยอยู่บนดวงดาวเหล่านั้นหรือไม่ ภายในต้นทศวรรษที่ 2020 หรืออีกไม่เกิน 10 ปีนี้นั่นเอง

 

ชื่นชอบเรื่องราวน่าสนใจ กดติดตามได้ที่นี่ แต่ถ้ามีติ๊กถูก แสดงกว่ากดแล้วจ้า

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : NASA | เรียบเรียงโดย เพชรมายา