บริษัทนี้เปลี่ยนขวดพลาสติกให้เป็นถนน ที่แข็งแรงกว่าและมีอายุยาวนานกว่าถนนปกติ

หลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า ปัญหาการปนเปื้อนของพลาสติกในธรรมชาติคือสิ่งที่หลายประเทศกำลังต่อสู้อย่างหนัก ตั้งแต่การรณรงค์ลดใช้พลาสติกจนไปถึงการยกเลิกการใช้ภาชนะพลาสติกในร้านค้า แต่ยังปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีขยะพลาสติกที่เหลืออยู่บนโลกอีกมาก และมันจะคงอยู่โดยไม่ย่อยสลายไปอีกนานนับพันปี แต่ชายชื่อโทบี้ แมคคาร์ทนีย์ ไม่ยอมแพ้ในเรื่องนี้ วิศวกรหนุ่มได้ค้นพบวิธีที่ล้ำเลิศในการใช้งานขยะพลาสติกเหล่านี้ให้คุ้มค่ามากที่สุดนั้นคือนำมาถนนซะเลย

ชายชาวสก็อตแลนด์ได้ริเริ่มแนวคิดจากการที่ลูกสาวของเขากังวลว่าพลาสติกจำนวนมหาศาลจะล้นมหาสมุทร มันทำให้เขาคิดได้ว่า ลูกของเขาไม่ควรเติบโตมาในโลกที่ท้องทะเลอันสวยงามเต็มไปด้วยขยะพลาสติก และการเดินทางไปยังอินเดีย เขาได้เห็นคนท้องถิ่นละลายขยะพลาสติกเพื่อใช้ซ่อมแซมถนน มันทำให้เขาได้แนวคิดที่ดีในการก่อตั้งบริษัทที่ชื่อ MacRebur ขึ้น

บริษัทนำแนวคิดของโทบี้ที่เคยทำงานในอินเดียตอนใต้มาใช้งาน ในตอนนั้นเขาทำงานช่วยเหลือคนที่ทำหน้าที่หยิบจับในสถานที่สำหรับถมที่ โดยงานของพวกเขาคือการเลือกของที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้และเปลี่ยนขยะให้กลับมาใช้งานอีกครั้ง ส่วนขยะพลาสติกบางส่วนที่คนทำหน้าที่หยิบจับได้มา จะนำไปใส่ในหลุมบ่อที่จะราดน้ำมันดีเซลลงไปด้านบน เมื่อขยะเผาไหม้ด้วยความร้อนจนละลายกลายเป็นก้อนเดียวกันจนแน่นหลุม

แต่แมคคาร์ทนีย์รู้ดีว่าแนวคิดเรื่องการเผาขยะพลาสติกด้วยน้ำมันดีเซลคงไม่ถูกใจเหล่าคณะกรรมการในอังกฤษสักเท่าไหร่นัก เขาจึงหาวิธีที่ดีกว่าในการทำให้แนวคิดของเขาเป็นจริงขึ้นมา เขารวบรวมเพื่อนฝูงอย่างกอร์ดอน รีด และนิก เบอร์เนท ทำการเปิดบริษัท MacRebur ในปี 2016 เพื่อคิดค้นเทคนิคและสูตรที่เหมาะสมในการทำให้แนวความคิดในการนำขยะมาสร้างถนนเป็นจริง

พวกเขานำพลาสติกเหลือใช้จากเชิงพาณิชย์และจากบ้านเรือน โดยมีอัตราส่วนที่ 60% และ 40% ตามลำดับ นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปบดย่อยให้เป็นชิ้นเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 5 มม. ขั้นตอนต่อไปคือการนำเม็ดพลาสติกมาผสมกับสารกระตุ้นที่จะทำให้พลาสติกยึดแน่นกับถนน สารกระตุ้นนี้เป็นความลับและได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ยางมะตอยโดยทั่วไปสร้างมาจากน้ำมันดินและหิน ด้วยเทคโนโลยีของ MacRebur มันจะเป็นการแทนที่การใช้น้ำมันดินในการสร้างถนนยางมะตอยซึ่งจะลดการใช้น้ำมันฟอสซิลลงได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาเปลี่ยนพลาสติกที่ผสมสารกระตุ้นลงไปให้เป็นสารแทนที่น้ำมันแบบเดิมที่ใช้เพื่อยึดเกาะหินนั่นเอง

เมื่อพวกเขาใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม มันทำให้ไม่มีไมโครพลาสติกที่เล็ดลอดออกไปและเป็นมลพิษต่อธรรมชาติได้อีก พวกเขายังเสริมอีกว่าในการทำยางมะตอยจำเป็นต้องใช้ความร้อนเกินกว่า 180 องศาเซลเซียส ในขณะที่การหลอมพลาสติกของเราใช้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่านั้นโดยอยู่ที่ 120 องศาเซลเซียส เมื่อกระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันทำได้อย่างเหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดการสร้างไมโครพลาสติกขึ้น มันเป็นเหตุผลว่าพวกเขาไม่อาจใช้พลาสติกทุกชนิดได้รวมทั้งพลาสติกดำที่ยากในการรีไซเคิล

แมคคาร์ทนีย์ยังบอกให้เราฟังอีกว่า ด้วยสูตรพิเศษของพวกเขา ถนนที่พวกเขาสร้างจะแข็งแรงกว่าถนนทั่วไปถึง 60% และผลทดสอบจากห้องวิจัยยังพบว่าถนนที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะมีอายุยาวนานกว่าถนนทั่วไปถึงสามเท่าเลยทีเดียว แม้ว่าขยะพวกนี้จะอยู่ในโลกของเราอีกยาวนาน แต่ไม่มีปัญหาถ้าเรารู้จักใช้มันให้คุ้มค่าและเหมาะสม

น่าทึ่งใช่ไหมล่ะครับ วิธีนี้ทำให้ขยะพลาสติกที่ไม่รู้ว่าจะนำไปใช้อะไร สามารถสร้างประโยชน์ได้กับทั้งประเทศและโลกได้ ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจได้เห็นบ้านและอาคารที่ทำจากขยะพลาสติกก็เป็นได้

ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ