7 กลไกแปลก ๆ ของสมองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราโดยไม่รู้ตัว

คุณคงเคยได้ยินว่า มนุษย์เราใช้สมองได้เต็มที่ที่สุดแค่ 10% แต่นั่นคือความเชื่อที่ผิด ความจริงแล้วสมองของเราทำงานเต็มที่เกือบจะตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลานอนหลับก็ตาม และสมองก็ยังมีกลไกต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และทำให้เราประหลาดใจได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย ส่วนจะมีกลไกอะไรกันบ้าง วันนี้เพชรมายาขอพาทุกท่านไปชมกัน

1. ปรากฎการณ์บาร์นัม (Barnum Effect)

brightside

ปรากฎการณ์บาร์นัม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ (Forer Effect) เป็นปรากฎการณ์ที่ผู้คนเชื่อว่าคำอธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ถูกระบุไว้ตรงกับชีวิตของเรา ทั้งที่จริงแล้วมันเป็นคำอธิบายทั่วไปที่กว้างพอที่จะครอบคลุมบุคคลหลาย ๆ กลุ่ม หรือทุกคนสามารถเป็นได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้เสี่ยงทาย การดูดวง และการทดสอบบุคลิกภาพออนไลน์

2. ภาพลวงตาของความโปร่งใส (Illusion of transparency)

brightside

เมื่อเรามีอารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจน บางครั้งเราคิดว่ามันชัดเจนจนคนอื่นสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะคนที่รู้จักเราดี เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าภาพลวงตาของความโปร่งใส ปรากฏการณ์นี้ทำให้ผู้ที่รู้สึกกังวลเวลาพูดในที่สาธารณะเชื่อว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นความประหม่า แต่ในความเป็นจริงพวกเขาอาจจะไม่ได้สังเกตเห็นเลย

3. การพลั้งปากพูด (Freudian Slips)

brightside

คุณเคยตั้งใจจะพูดสิ่งหนึ่งแต่กลับพูดบางอย่างที่ต่างจากที่คิดโดยสิ้นเชิงหรือไม่ เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า สลิปฟรอยด์ (Freudian Slips) หรือ Parapraxis หมายถึงการพลั้งปากพูด ตามที่นักจิตวิทยาซิกมันด์ ฟรอยด์ได้กล่าวไว้ว่า บางครั้งบางส่วนของจิตใต้สำนึกได้หลุดเข้าไปในพฤติกรรมที่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้คุณพูดในสิ่งที่คุณไม่ได้ตั้งใจที่จะพูด

ตัวอย่างเช่น เด็กที่เรียกครูว่า “พ่อ” เนื่องจากใช้เวลาอยู่กับครูมากกว่า หรือผู้หญิงคนหนึ่งตั้งใจบอกเพื่อนว่าเธอรักแดเนียล แต่แทนที่เธอจะพูดว่าแดเนียล เธอกลับพูดชื่อแฟนเก่าของเธอแทนโดยไม่ได้ตั้งใจ ด้วยเหตุนี้เพื่อนจึงสันนิษฐานว่าเธอยังรักแฟนเก่าอยู่

4. ความคิดแรกในการตัดสินใจ (Availability heuristic)

brightside

Availability heuristic หรือ การหยิบความคิดที่โผล่ขึ้นมาแว๊บแรกในการตัดสินใจ เป็นเส้นทางลัดในการแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูลที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรก ซึ่งมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องหรือวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อคุณเห็นข่าวเกี่ยวกับการขโมยรถหลายครั้ง คุณอาจตัดสินว่าการขโมยรถเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของคุณ

5. ความทรงจำที่ผิดพลาด (False memory)

brightside

ความจำของเราเปราะบางและอ่อนไหวมากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่การบันทึกของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งที่เราจำได้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้อย่างไรและเมื่อใด นั่นคือความทรงจำผิดพลาด ที่มีบางอย่างเกิดขึ้นจริงแต่ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาบางส่วนโดยความคิดของคุณเอง ตัวอย่างเช่น คุณเชื่อว่าคุณล้างจานก่อนออกจากบ้าน แต่เมื่อกลับมากลับพบว่าคุณยังไม่ได้ล้างจาน

6. ทฤษฎีกระบวนการแดกดัน (Ironic process theory)

brightside

พวกเราส่วนใหญ่คงเคยคิดว่าเราไม่ต้องการเจอเหตุการณ์ที่โชคร้ายหรือช่วงเวลาที่น่าอับอาย และยิ่งเราพยายามหยุดคิดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่สามารถหยุดคิดถึงสิ่งนั้นได้ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหนก็ตาม เราเรียกสิ่งนี้ว่า ทฤษฎีกระบวนการแดกดัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกตัวเองว่าอย่าคิดถึงหมีขาวหรือแมวสีฟ้า มันจะยิ่งผุดขึ้นมาในหัวและไม่สามารถหยุดคิดได้

7. ภาวะความสนใจตกค้างอยู่ในหัว (Attention residue)

brightside

คุณอาจจะคิดว่าคุณสมาธิสั้น แต่มีโอกาสที่คุณจะเจอกับภาวะ “ความสนใจตกค้างอยู่ในหัว” สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องเปลี่ยนไปทำอีกงานหนึ่ง โดยที่งานชิ้นเดิมยังไม่เสร็จ แต่จิตใจกลับจดจ่ออยู่ที่งานเดิม ซึ่งเป็นเรื่องยากที่คุณจะให้ความสำคัญกับทุกงานเท่ากัน เพื่อต่อสู้กับภาวะนี้ พยายามสร้างตารางเวลางานของคุณ

ที่มา : brightside.me | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ