วิลเลี่ยม โฮป ชายผู้ริเริ่มภาพถ่ายติดวิญญาณ กับการหลอกลวงระดับประเทศ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 วิลเลี่ยม โฮป ชายชาวอังกฤษ ได้อ้างว่าสามารถติดต่อกับวิญญาณได้ ไม่เพียงแต่แค่สื่อสาร แต่ยังสามารถถ่ายภาพติดวิญญาณได้อีกด้วย

 

แต่อย่าคิดว่าชาวอังกฤษในสมัยนั้นจะคล้อยตามโฮปไปเสียทั้งหมด เพราะคนส่วนใหญ่กล่าวหาว่าเขาเป็นพวกนักต้มตุ๋น แต่เขาก็ไม่เคยหวั่นไหวกับคำกล่าวหาเหล่านั้น และยังเชื่อว่า ตนเองมีความสามารถพิเศษนี้จริงๆ อีกด้วย

 

เมื่อไม่นานมานี้ “ภาพถ่ายติดวิญญาณ” ที่เป็นของสะสมของเขาได้ถูกพบในประเทศอังกฤษ หลายๆ ภาพแสดงให้เห็นถึงใบหน้าที่คล้ายกับวิญญาณที่มาวนเวียนรอบๆ ตัวคน เหมือนกับว่าพวกเขากำลังพยายามสื่อสารกับคนที่พวกเขารัก แต่ก็มีหลายคนที่บอกว่า ภาพผีเหล่านี้ถูกถ่ายโดยฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งไม่ใช่ภาพผีวิญญาณแต่อย่างใด

 

วิลเลี่ยม โฮป เริ่มต้นชีวิตการทำงานของเขาโดยการเป็นช่างทาสี ก่อนที่เขาจะมาสนใจการถ่ายภาพ

 

ในปี ค.ศ. 1905 ชีวิตของเขาก็ได้เปลี่ยนไป เมื่อเขาถ่ายภาพติดวิญญาณตอนที่กำลังถ่ายรูปเพื่อนของเขาได้

ไม่นานหลังจากที่เขาเผชิญโลกแห่งวิญญาณ เขาได้ก่อตั้งกลุ่ม ช่างภาพถ่ายวิญญาณขึ้นมาที่เรียกว่า Crewe Circle

 

กลุ่มที่อยู่ในลอนดอน เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

 

กลุ่มพวกเขาได้รับความนิยมสูงขึ้นมากจากผลของสงคราม มีคนมากมายที่ต้องการติดต่อวิญญาณคนที่เรารัก ที่สูญหายไปในสงครามโลกครั้งนี้

 

ช่วงทศวรรษที่ 1920s โฮปสร้างชื่ออยู่ในลอนดอน แต่ก็เริ่มถูกวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ

 

โฮปและกลุ่มของเขา Crewe Circle ถูกสอบสวนในปี 1922 โดยสมาคมเพื่อการวิจัยทางจิต

 

ผลการสอบสวนตอนนั้น เขาถูกตัดสินว่าหลอกลวงชาวบ้าน โดยการสร้างภาพถ่ายวิญญาณหลอกๆ นี้ขึ้นมาเอง

 

แต่ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังได้รับการสนับสนุนการคนที่เชื่อเขาอยู่มากมาย

 

โฮป และกลุ่มของเขา ยังคงยึดอาชีพนี้ต่อไป จนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงในปี 1933

 

จริงๆ แล้วเรื่องราวของโฮป คงไม่ต่างกับเหตุการณ์ในบ้านเรา ที่ยังคงมีกลุ่มคนบางกลุ่มหลอกให้ผู้คนงมงายกับความเชื่อที่ผิดๆ อยู่ อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปี หรืออาจจะเป็นร้อยปี กว่าที่ความเจริญ การศึกษา จะช่วยสอนให้พวกเราเติบโตขึ้น และไม่หลงผิด หลงงมงายในบางเรื่องอย่างเช่นทุกวันนี้

 

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : viralnova | เรียบเรียงโดย เพชรมายา