รู้สักที “เดจาวู” ถูกอธิบายได้แล้วในทางวิทยาศาสตร์

เดจาวู คือปรากฏการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกว่า เหตุการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ดูคลับคล้ายคลับคลาว่าเราเคยพบเจอมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดและดูเหนือธรรมชาติ ยากที่จะหาคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้

deja-vu-01

 

แต่ล่าสุด ดร. อกิระ โอคอนเนอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ ได้ทำการทดลองที่เกี่ยวข้องกับการชักนำให้เกิดเดจาวู โดยการให้นักวิจัยของเขาบอกชุดคำศัพท์จำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบได้ฟัง ตัวอย่างเช่น หมอน (Pillow), เตียง (Bed), ความฝัน (Dream), กลางคืน (Night) แต่ไม่มีคำว่า หลับ (Sleep) ซึ่งเป็นคำที่เชื่อมโยงคำทั้งหมดเอาไว้

deja-vu-03

 

เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ร่วมทดสอบไม่ได้ยินคำว่า หลับ (Sleep) นักวิจัยจะถามพวกเขาว่า ได้ยินคำไหนบ้างที่มีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว S ซึ่งคำตอบก็คือพวกเขาไม่ได้ยิน

deja-vu-06

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาถูกซักไซ้ในคำถามเดิมในภายหลัง ผู้ร่วมทดสอบส่วนมากคิดว่า “พวกเขาจำได้ว่าได้ยินคำว่า หลับ (Sleep)” แม้จะรู้ว่าพวกเขาไม่ได้ยินก็ตาม ซึ่งผลลัพธ์มันก็คืออาการที่เรียกว่า เดจาวู นั่นเอง

deja-vu-04

 

นอกจากนั้น การแสกนสมองด้วยเทคโนโลยี fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ได้แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างการทดสอบ ส่วนของสมองผู้เข้าร่วมที่ทำงานมากที่สุด ไม่ใช่ส่วนของ “ความทรงจำ” แต่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “การตัดสินใจ” ในระหว่างการเกิดเดจาวู

deja-vu-02

 

ดร.โอคอนเนอร์ เชื่อว่าสมองส่วนของการตัดสินใจ อาจจะตรวจสอบความทรงจำราวในอดีต เพื่อมองหาข้อผิดพลาดในเนื้อหาเหล่านั้น และกลายเป็นกระตุ้นมันขึ้นมาเมื่อมีการตรวจพบความผิดปกติ

deja-vu-05

 

ส่วนของศาสตราจารย์ สเตฟาน โคห์เลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยออนทาริโอตะวันตก ได้กล่าวว่า “อาจมีการตัดสินใจที่ขัดแย้งบางอย่างเกิดขึ้นในสมอง ระหว่างการเกิดเดจาวู”

deja-vu-07

 

ดูเหมือนว่า จำเป็นจะต้องมีการทดลองมากขึ้นเพื่อที่จะยืนยันทฤษฎีนี้ แต่ก็ถือว่าเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่แน่ว่า หากมนุษย์มีความรู้วิทยาการที่ก้าวหน้ากว่านี้ เราอาจจะสามารถอธิบายเรื่องที่เหนือธรรมชาติได้ทั้งหมด ว่าแท้ที่จริงแล้ว มันไม่มีอะไรเหนือธรรมชาติเลยก็เป็นได้

 

 

กดถูกใจและสามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : newscientist | เรียบเรียงโดย เพชรมายา