สุดยอด! นาซ่าเตรียมส่งยานอวกาศสำรวจ “ดวงอาทิตย์”

หลังจากที่เราคุ้นเคยกับดวงจันทร์และดาวอังคารให้มากพอสมควร หรือแม้กระทั่งดาวที่อยู่ห่างไกลอย่างพลูโตก็ยังเห็นพื้นผิวกันมาแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่นาซ่าจะยกระดับปฏิบัติการ โดยการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงอาทิตย์กันบ้าง แต่เชื่อว่าพอฟังแบบนี้ปุ๊บ หลายคนคงจะคิดว่า เฮ้ย มันจะไปได้เหรอวะ ดวงอาทิตย์ร้อนจะตาย … เป็นไปได้หรือไม่ได้ เราลองมาดูรายละเอียดกัน

spp-03

โซลาร์ พร็อบ พลัส (Solar Probe Plus – SPP) ถือเป็นภารกิจครั้งประวัติศาสตร์ของนาซ่า โดยการส่งยานอวกาศไปสำรวจชั้นบรรยากาศด้านนอกหรือโคโรนาของดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่า เราจะเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่าง 5.9 ล้านกิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางประมาณ 1/8 ของระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธ

spp-01

โครงการนี้ถูกประกาศเมื่อ 1 พฤษภาคมปี 2008 โดยถือเป็นภารกิจใหม่ที่จะใช้งบประมาณในปี 2009 ซึ่งตามกำหนดการแล้ว ยานอวกาศจะถูกสร้างเสร็จและเปิดตัวในปี 2015 นี้ แต่ตอนนี้ ยังเห็นแค่ภาพร่างอยู่ประมาณนี้

spp-02

ส่วนคุณสมบัติของยาน SPP ที่จะไปตะลุยชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ จะทำด้วยคาร์บอนชนิดพิเศษที่ป้องกันความร้อนได้สูง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ฟุต มีความหนา 4.5 นิ้วน้ำหนักอยู่ประมาณ 613 กิโลกรัม และยานลำนนี้ จะต้องทนรังสีความร้อนได้มากกว่ายานที่โคจรรอบโลกถึง 500 เท่า

spp-04

สำหรับภารกิจหลักของยาน SPP คือการวัดแหล่งกำเนิดพลังงานและถ่ายภาพภารกิจบริเวณชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เก็บข้อมูลต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมา ไม่เคยมียานอวกาศใดๆ เคยเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากขนาดนี้มาก่อน

กำหนดการปล่อยยานคือวันที่ 30 กรกฎาคม 2018 และจะผ่านดาวศุกร์ จนไปถึงเป้าหมายประมาณ 19 ธันวาคม 2024 เราคงต้องรอชมกันอีกนานเลย ว่าจะเห็นผลลัพธ์ของภารกิจนี้

ที่มา : solarprobe | เรียบเรียงโดย เพชรมายา