หนังสือจากปี 1909 เผยภาพถ่ายที่ถูกตัดต่อในยุค 100 ปีก่อน

หลังจาก Photoshop ถือกำเนิดขึ้นก็ทำให้ภาพถ่ายของมนุษย์เราเปลี่ยนไป คุณสามารถดูดีขึ้นได้ผ่านการใช้โปรแกรมตัดต่อ และหลังจากนั้นคุณสามารถเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของตัวเองได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนสมาร์ตโฟน แต่ถ้าเรานึกย้อนกลับไปในยุคอดีต คุณคิดว่าจะมีการตัดต่อภาพถ่ายเหมือนในสมัยนี้หรือไม่

ย้อนกลับไปในปี 1868 หนังสือสอนถ่ายภาพขาวดำเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยถูกจัดทำขึ้นเพื่อแนะนำช่างภาพเกี่ยวกับวิธีการถ่ายภาพ การรีทัช และการ “ขจัดจุดบกพร่อง” บนภาพถ่าย ต่อมาในปี 1909 ได้มีหนังสือสอนการถ่ายภาพเกิดขึ้นและทำให้เราเห็นตัวอย่างภาพที่ถูกตัดต่อในยุคที่ไม่มี Photoshop และแอปพลิเคชันใด ๆ มาก่อน

ภาพถ่ายต้นฉบับของหญิงคนหนึ่ง

ภาพถ่ายหลังรีทัชเรียบร้อยแล้ว

อ้างอิงจากหนังสือดังกล่าวระบุว่า “เป็นการส่งมอบงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กับลูกค้า คุณไม่ได้มอบฟิล์มเนกาทีฟให้พวกเขา แต่เป็นการส่งมอบงานพิมพ์จากฟิล์มเนกาทีฟเหล่านี้”

คำอธิบายระบุว่า “ในช่วงยุคแรกของการพิมพ์ภาพทำได้โดยตรงจากฟิล์มเนกาทีฟโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ”

นั่นเป็นเพราะกระบวนการที่เรียกว่า Wet Plate ทำให้เกิดภาพที่นุ่มนวลกว่ากระบวน Dry Plate ผลก็คือความ “ไม่สมบูรณ์” ถูกมองเห็นได้น้อยลง และในขณะนั้นผู้คนต่างก็พึงพอใจกับภาพผลลัพธ์ในลักษณะนี้

นอกจากนั้นช่างภาพยังใช้มีดหรือดินสอเพื่อแกะและตกแต่งฟิล์มเนกาทีฟเพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระต่าง ๆ ทางร่างกาย เช่น จากคอหนาเป็นคอเรียว การลบเสื้อผ้าส่วนเกินออก แก้ไขจมูกคด เพิ่มเติมผมลงไป หรือแม้แต่เปลี่ยนพื้นหลังก็ยังได้

ต่อมากระบวนการ Dry Plate ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาแทนที่ ข้อบกพร่องบนใบหน้ามนุษย์ก็ชัดเจนขึ้น จนผู้คนต้องการภาพที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวลกว่าเดิมและกำจัดความไม่สมบูรณ์ที่ไม่น่าดูชมออกไป

ซึ่งช่างภาพจะลบจุดบกพร่องหรือตำหนิด้วยพู่กันและสีจากการพิมพ์ทุก ๆ ชิ้น

อย่างไรก็ตาม ความไม่สมบูรณ์บนใบหน้าของบุคคลนั้นมีมากมาย ความยุ่งยากก็เกิดขึ้นเมื่อต้องกำจัดมันออกจากงานพิมพ์ทุกครั้ง ช่างภาพจึงคิดค้นวิธีการบางอย่างเพื่อทำให้พวกเขาทำงานได้ง่ายขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของเทคนิคการรีทัชฟิล์มเนกาทีฟ

วิธีการรีทัชฟิล์มเนกาทีฟในยุคนั้นต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมายโดยประกอบไปด้วย ขาตั้งภาพ แว่นขยาย ตะกั่วและตัวยึด มีดแกะสลัก แปรง น้ำยารีทัช น้ำยาเคลือบเงาเนกาทีฟ และน้ำยากัดลายกระจก

นอกจากนั้น ดินสอจะช่วยลบความไม่สมบูรณ์และผสมผสานไฮไลต์ เงา และฮล์ฟโทน ในขณะที่มีดแกะสลักจะช่วยลดไฮไลต์ และบบส่วนที่ไม่ต้องการในรูปภาพออก

ตัวอย่างการลดขนาดของร่างกาย

การลบกระบนใบหน้าออก

นอกจากใบหน้าแล้ว คุณสังเกตเห็นอะไรที่แตกต่างออกไปจากภาพนี้บ้าง

หรือแม้แต่คนที่มีตาเขก็สามารถแก้ไขได้

คนที่หลับตาก็สามารถแก้ไขให้ลืมตาได้เช่นกัน

การลดขนาดคอที่ดูหนาเกินไป

การลบเด็กน้อยออกจากภาพก็สามารถทำได้ด้วยเทคนิคนี้

บางครั้งพวกเขาก็แต่งเติมเสื้อผ้าลงไปได้

ทำได้แม้กระทั่งการเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นรูปปั้น

หนังสือสอนการถ่ายภาพในปี 1908 นี้มีความหนากว่า 485 หน้า ซึ่งรวบรวมเทคนิควิธีการตัดต่อภาพในอดีตที่น่าทึ่งเอาไว้มากมาย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเทคนิคเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้คนในยุค 100 กว่าปีก่อน ตั้งแต่ที่พวกเขามีเทคโนโลยีที่ห่างไกลจากพวกเรามากมายเหลือเกิน

ที่มา : boredpandaAmerican school of art and photography | เรียบเรียงโดย เพชรมายา