เราทุกคนต่างเฝ้าฝันถึงโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค แน่นอนว่าตอนนี้มันยังไม่อาจเป็นจริงได้เนื่องจากข้อจัดกัดทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน แต่มนุษย์เราไม่เคยหยุดที่จะจินตนาการ ทำให้ Budget Direct ตัดสินใจรื้อฟื้นแบบพิมพ์เขียวจากอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการทำภาพขึ้นมาใหม่เพื่อดูว่าหน้าตามันในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร
โครงการดังกล่าวเป็นการผสานแนวคิดสองสิ่งเข้าด้วยกัน หนึ่งคือพิมพ์เขียวเก่าจากยุคที่วิทยาศาสตร์และจักรกลสมัยใหม่กำลังได้รับความนิยมและการออกแบบของ ซิด มีด ซึ่งเป็นโครงการออกแบบยานพาหนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยการออกแบบพาหนะล้ำยุคแห่งโลกอนาคตที่คุณอาจเคยเห็นจากภาพยนตร์ไซไฟเช่น Star Wars และ Star Trek (เขาคือผู้ออกแบบพาหนะใน Blade Runner, Short Circuit, และ Tomorrowland อีกด้วย)
Super-Cycle (1936)
แนวคิดนี้มาจากปกนิตยสาร Modern Mechanix & Inventions เดือนมิถุนายน 1963 ประกอบด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคในสมัยนั้นอย่างโทรทัศน์และ Super-Cycle 300 ไมล์/ชม น่าเศร้าที่พาหนะชิ้นนี้และชื่อผู้ออกแบบกลับถูกบดบังด้วยเทคโนโลยีทีวีในสมัยนั้น
Super-Cycle มีความสามารถที่จะทำความเร็วทะลุสถิติได้ ด้วยการแบบล้อรูปทรงกลม คนขับจะปลอดภัยภายใต้โครงสร้างแบบแอโรไดนามิก นอกจากนี้ยังมีเบาะด้านกระจกหน้าเพื่อที่คุณจะสามารถวางหัวลงไปข้างหน้าเพื่อเสริมกำลังเคลื่อนที่ ผสานกับพลังของทวินมอเตอร์ที่แยกกันเพื่อสร้างพลังงานให้กับเพลารถ
Chrysler “Heir” (1941)
กิล สเปียร์ ถูกระบุว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบรถโดยเฉพาะส่วนด้านหน้า ส่วนหน้าของ 1939 Plymouth, 1939 New Yorker, และ 1940 Saratoga เป็นผลงานของเขาทั้งสิ้น ทาง Chrysler นำแนวคิดด้านกระจังหน้าของยานยนตร์จากปี 1941 มาใช้งานใน 1942 Royal นี่คือ Chrysler ที่มีรูปทรงเหมือนดั่งยานอวกาศซึ่งมีท้ายรถปลายแหลม รับรองการโดยสารสองที่นั่งในห้องโดยสารที่เหมือนฟองน้ำ โดยมีแผนการใส่มิเตอร์วัดความเร็วที่กระจกกันลมด้านหน้า ซึ่งฟอร์ดใช้แนวคิดนี้ของเขาในช่วงไม่กี่ปีมานี้
HobbyPop RoadShop (1958)
ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ช่วงเวลาครอบครัวสุขสันต์หรือแม้แต่ความรักที่ร้อนแรง ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ในรถบัสกึ่งห้องทำงานจากยุค 1958 ห้องคนขับที่ยกระดับขึ้นเพื่อแยกส่วนกับห้องพักหรือห้องทำงานที่เป็นส่วนตัวได้ นี่คือผลงานของ บรูซ แม็กคอล ที่ได้วาด HobbyPop RoadShop ขึ้นมาจริง ๆ ในปี 2001 เพื่อล้อเลียนพาหนะแบบอื่นในโครงการ แต่ก็ยังดูแปลกประหลาดเกินกว่าการออกแบบพาหนะที่ยอดนิยมในยุคศตวรรษที่ 20 อยู่ดี
McLouth – XV’61 Concept (1961)
พาหนะสุดโปรดของ ซิด มีด คือมอเตอร์ไซด์เรืองแสงจากภาพยนตร์ TRON ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรถมอเตอร์ไซด์ของคาเนดะจากเรื่อง Akira รวมทั้งรถยนต์สปินเนอร์แบบบินได้ในเรื่อง Blade Runner ไม่แปลกใจที่การออกแบบของเขากับ McLouth Steel Corporation จะออกมาเป็นเช่นนี้
ทาง McLouth สร้างรถ XV (รถยนต์รุ่นทดสอบ) สำหรับงานแสดง New York International Automobile Show ในปี 61 โดยผสานรถยนต์แบบครอบครัวที่สามารถเดินทางได้ทั้งบนถนนและโลกอนาคตได้อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งการเดินทางบนรางเดียวได้อีกด้วย การออกแบบที่เรียบง่ายไร้รอยต่อเพื่อให้ XV’61 เป็นรถสำหรับพ่อบ้านที่มีความรับผิดชอบซึ่งเล็งเห็นถึงอนาคตข้างหน้า
Singlets (1962)
มันคือส่วนผสมของเซกเวย์ที่มีโดมล้อมรอบและพาหนะเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม ทำความเร็วได้ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพียงพอต่อการกันลมและฝนได้ ที่นั่งขนาดพอดีกับคนหนึ่งคน พื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กและราคาประหยัด นี่คือผลงานของศิลปินนิตยสาร วอลเตอร์ โมลิโน ที่วาดภาพ Singoletta ให้กับ Domenica del Corriere ในปี 1962
แต่แท้จริงแล้วผู้ออกทุนก็คือ ฟรังโก บันดินี แนวคิดของเขาในการแก้ปัญหารถติดของโลกมีราคาเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ของ Fiat 500 เท่านั้นและ Singlets 10 คันจะมีขนาดเท่ากับรถยนต์หนึ่งคัน พาหนะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
The New Urban Car (1970)
นักเขียนเรื่องยานยนต์ เคน ดับบิว เพอร์ดี้ จินตนาการถึงหนทางแก้ไขปัญหาในบทความของ Playboy พร้อมภาพประกอบโดย ซิด มีด นี่คือรถยนต์สำหรับเมืองในอนาคต มาพร้อมสองที่นั่งและราคาประหยัด ใช้เครื่องยนต์กังหันพลังงานสีเขียวแทนที่ของการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ด้วยการทำพื้นที่ให้มากพอ จึงรวมส่วนของพวงมาลัยเข้ากับคันเร่ง โยกเพื่อเปลี่ยนทิศทางและหมุนเพื่อเร่งความเร็ว สายท้ายมีล้อ เครื่องยนต์กังหันและชุดเกียร์ รถไม่มีประตูโดยสามารถยกกระจกกันสาดออกเพื่อเก็บมันไว้ที่ส่วนท้ายได้
Anti-Gravity Car (1979)
รถยนต์ต้านแรงดึงดูด ผลงานของ ซิด มีด จากปี 1979 ที่ออกแบบมาได้เหนือจินตนาการในปัจจบุน เป็นดั่งการผสมผสานของสปินเนอร์และส่วนของเครื่องบินต่อสู้และรถแบทวิงก์มารวมกัน รถยนต์ต้านแรงดึงดูดล้อมรอบด้วยกระจกใสรอบที่นั่งคนขับเพื่อให้มองเห็นรอบทิศทาง แม้จะลอยได้แต่คุณยังต้องใช้ถนนอยู่ดีเพราะมันเป็นเพียงรถลอยได้ไม่ใช่รถบินได้แต่อย่างใด จากภาพประกอบของ ซิด มีด มักมีกำแพงกันชนที่ระดับถนนเพื่อกันปีกของรถไม่ให้ชนคนเดินตามข้างทาง
ที่มา : Budget Direct | boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ