หากคุณคิดว่าภาพยนตร์ที่เข้าฉายในไทยนั้น จะมีทุกอย่างเหมือนกับเวอร์ชันที่ฉายในต่างประเทศล่ะก็ คุณคิดผิดถนัด เพราะในบางฉากบางตอนของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ก็อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นๆ และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านมาชมฉากในภาพยนตร์ดังที่เปลี่ยนไป เมื่อถูกฉายในประเทศอื่นๆ
1. Guardians of the Galaxy, 2014
หลายคนอาจทราบกันแล้วว่า วิน ดีเซล คือผู้ให้เสียงกรูทในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งประโยคที่เราคุ้นเคยกันดี (เพราะพูดอยู่ประโยคเดียว) ก็คือ “I am Groot” ซึ่ง วิน ดีเซล ได้เคยให้สัมภาษณ์ใในรายการ The Tonight Show ของ จิมมี ฟอลลอน ว่า เขาต้องพูดประโยค “I am Groot” มากถึง 15 ภาษาที่แตกต่างกัน เช่น สเปน ยูเครน ฮังการี ญี่ปุ่น โปแลนด์ อิตาลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี ฮินดี เยอรมนี เช็ก และจีนแมนดาริน น่าเสียดายที่เราไม่ได้เห็นเวอร์ชั่น I am Groot ในภาษาไทยจากเสียง วิน ดีเซล จริงๆ
2. Iron Man 3, 2013
ภาพยนตร์เรื่องดำเนินการโดยบริษัทโปรดักชันถึง 3 แห่ง ได้แก่ วอลต์ ดิสนีย์ (อเมริกา), มาเวล สตูดิโอ (อเมริกา) และ ดีเอ็มจี เอนเตอร์เทนเมนต์ (จีน) โดยเวอร์ชันที่เข้าฉายในประเทศจีน จะมีความยาวเพิ่มขึ้น 4 นาทีจากเวอร์ชันต้นฉบับ โดยเป็นบทสนทนากันของ ฟาน ปิงปิง และ ซูฉี หวัง สองนักแสดงดังชาวจีน รวมถึงมีการสอดแทรกผลิตภัณฑ์นมจากมองโกเลียเข้าไปในฉากนี้ด้วย
3. Pirates of the Caribbean: At World’s End, 2007
จากการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ โจว เหวินฟะ ที่สนับสนุนชาวฮ่องกงและต่อต้านจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้บทบาทของเขาในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เข้าฉายในประเทศจีนมีน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกตัดออกทั้งสิ้น
4. Lincoln, 2012
เนื่องจากหลายๆ ประเทศอาจไม่เข้าใจเกี่ยวกับอดีตประธานาธิบดีลินคอล์นมากนัก ในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีโบนัสซึ่งเป็นภาพสไลด์ขาวดำของลินคอล์นและมีคำเกริ่นนำที่ สตีเวน สปีลเบิร์ก เขียนด้วยตัวเอง ส่วนชาวญี่ปุ่นคือผู้ที่โชคดีที่สุด เพราะสปีลเบิร์กได้เตรียมวีดีโอพิเศษที่อธิบายตัวตนของลินคอล์นเอาไว้ให้ด้วย
5. Captain America: The First Avenger, 2014
ตามที่กัปตันอเมริกาถูกแช่แข็งข้ามเวลามากว่า 70 ปี เขาได้ใช้สมุดโน๊ตบันทึกสิ่งต่างๆ ที่จะต้องเรียนรู้ในช่วงเวลาที่เขาขาดหายไป รายการของกัปตันที่เราเห็นจะมีความคล้ายกันในทุกเวอร์ชัน เช่น ดิสโก้ อาหารไทย สตาร์วอร์ วงเนอร์วานา แต่ส่วนที่เหลือจะแตกต่างไปในแต่ละประเทศถึง 10 เวอร์ชัน อย่างเช่นในรัสเซีย ก็จะมีชื่อ ยูริ กาการิน (นักบินอวกาศคนแรก), วลาดิเมียร์ วัยซอตสกี (นักแสต่งเพลงชื่อดัง), การล่มสลายของโซเวียต ในปี 1991 และภาพยนตร์ดังของรัสเซีย Moscow Does Not Believe in Tears
หรืออย่างในอังกฤษ คุณจะได้เห็นชื่อวง The Beetles และนวนิยายดังอย่าง Sherlock ส่วนเวอร์ชันเม็กซิกันก็จะเห็น หัตถ์พระเจ้าของมาราโดนา และชื่อนักร้องสาวชากีรา
6. The Wolf of Wall Street, 2013
ในภาพยนตร์ของ มาร์ติน สกอร์เซซี เรื่องนี้ คำสบถ F… ถูกพูดซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง ซึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ถูกหั่นหลายส่วนทิ้งไปจนมีความยาวภาพยนตร์ทั้งเรื่องเพียงแค่ 45 นาทีเท่านั้น สรุปแล้วเราก็ไม่สามารถทราบได้ว่า ชาวอาหรับเอมิเรตส์ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อรรถรสมากแค่ไหน
7. Pride & Prejudice, 2005
ปรากฏว่าในเวอร์ชันต้นฉบับของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ถูกฉายไปทั่วโลก ไม่มีฉากจูบระหว่าง ดาร์ซี และ อลิซาเบธ ทำให้ผู้ชมชาวอังกฤษไม่พอใจกับตอนจบแบบนี้สักเท่าไหร่ เพราะมันไม่ตรงกับตอนจบของนวนิยายต้นฉบับของผู้เขียน เจน ออสเตน ส่วนฉากจบอีกแบบที่มีฉากจูบ ผู้กำกับ โจ ไรท์ สร้างขึ้นเพื่อผู้ชมชาวอเมริกันโดยเฉพาะ
8. Pulp Fiction, 1994
เมื่อ Pulp Fiction ถูกนำไปเข้าฉายในซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื้องเรื่องในภาพยนตร์จะถูกเล่าเรื่องโดยไม่มีการตัดลำดับเหตุการณ์มาแทรก แน่นอนว่าการทำแบบนี้ก็เหมือนกับเป็นการเอาเครื่องหมายการค้าของผู้กำกับ ควอนติน ทารันติโน ออกไปจากเรื่องนี้เลย
9. Titanic, 1997
ในขณะที่เวอร์ชัน 3 มิติของภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศจีน ปรากฏว่ามีคำวิจารณ์มากมายจากชาวบ้านหัวโบราณที่บอกว่า ฉากเปลือยของ เคท วินสเลต โป๊เปลือยเกินไป พวกเขาขอให้ผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ปกปิดร่างกายของเธอด้วยบางสิ่ง ซึ่งคาเมรอนเองก็เคารพความคิดเห็นของชาวจีน และเห็นด้วยที่จะเปลี่ยนฉากนี้สำหรับผู้ชมชาวจีนโดยเฉพาะ
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา