สหราชอาณาจักรคือประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีวัฒนธรรมที่มีมนตร์สเน่ห์ที่น่าหลงใหล แต่หนึ่งในวัฒนธรรมที่เราอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนก็คือการสร้างแนวกำแพงอิฐแบบโค้งที่เรียกว่า Crinkle Crankle Wall
Crinkle Crankle Wall ถูกพบจำนวนมากในมณฑลซัฟโฟล์ก นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ากลุ่มวิศวกรชาวดัตช์ได้สร้างกำแพงเหล่านี้ขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 และเรียกมันว่า “กำแพงงู” จนต่อมาภายหลัง ชาวอังกฤษได้เรียกมันว่า Crinkle Crankle Wall โดยคำว่า Crinkle Crankle เป็นภาษาท้องถิ่นของมณฑลซัฟโฟล์ก
สาเหตุที่กำแพงอิฐทรงคลื่นแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากมันใช้จำนวนอิฐที่น้อยกว่ากำแพงอิฐแนวตรง
หลายคนที่ได้ยินแบบนี้คงจะคิดว่ามันไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่
แต่การสร้างกำแพงอิฐที่แข็งแรง การสร้างกำแพงอิฐแนวตรงอาจต้องใช้อิฐก่อเบิ้ลถึง 2 แถว แต่สำหรับกำแพงอิฐแนวโค้ง คุณสามารถก่ออิฐเพียงแค่ชั้นเดียว เพราะความโค้งของกำแพงจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้ตามหลักวิศวกรรม
เอ็ด วูด ผู้เชี่ยวชาญด้านกำแพงอิฐ Crinkle Crankle Wall จากมณฑลซัฟฟอล์กในอังกฤษ คือผู้ที่ทำการจดบันทึกข้อมูลของกำแพงเหล่านี้ในเขตเมืองที่เขาอาศัยอยู่ และเขาก็พบว่ากำแพงเหล่านี้มีความน่าสนใจอย่างมาก
เขาเริ่มศึกษาเรื่องราวของกำแพงโค้งและพบว่า มีการจดบันทึกจากนักประวัติศาสตร์ว่ามีกำแพงลักษณะนี้ในซัฟฟอล์กมากกว่า 50 แห่ง โดยมีจำนวนมากเป็น 2 เท่าของที่เหลือในประเทศ แต่นั่นเป็นบันทึกกว่า 60 ปีที่แล้ว
เอ็ดจึงตัดสินใจที่จะรวบรวมข้อมูลเป็นของตัวเอง เขาออกเดินทางไปทั่วซัฟโฟล์กและพบว่ามีกำแพงอิฐโค้งมากกว่า 100 แห่ง และอาจมีบางแห่งที่เขายังหาไม่พบก็เป็นได้
เอ็ดกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้คนที่สร้างกำแพงโค้งแบบนี้อยู่ มีโครงการหมู่บ้านใหม่ ๆ เกิดขึ้น และพยายามที่จะสร้างกำแพงในสไตล์ซัฟโฟล์กที่เก่าแก่
แต่ปัญหาที่คนรุ่นใหม่ไม่ชอบการสร้างกำแพงในลักษณะนี้เนื่องจากการดูแลรักษาและการซ่อมแซมที่ยากกว่าปกติ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มากกว่ากำแพงอิฐแนวตรงด้วย
ส่วนข้อดีของกำแพงโค้งนอกจากการใช้อิฐที่น้อยกว่าก็คือ มันเหมาะกับการปลูกผลไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในศตวรรษที่ 18
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมคนสมัยก่อนถึงสร้างกำแพงโค้งจากตะวันออกไปยังตะวันตก เพื่อให้ต้นไม้ที่อยู่ในส่วนโค้งได้รับแสงแดดที่อบอุ่นจากดวงอาทิตย์
สรุปแล้วกำแพงอิฐแบบโค้งนี้ ถึงแม้จะมีข้อดีในเรื่องของความแข็งแรงและการใช้ปริมาณอิฐที่น้อยกว่า แต่ก็ยังมีข้อเสียในเรื่องของการดูแลรักษาและกินพื้นที่มากกว่า ซึ่งเป็นข้อเสียใหญ่ของคนในสังคมเมืองนั่นเอง
ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ