ถ้าเป็นเมื่อ 100 ปีก่อน คงมีคำถามมากมายว่าทำอย่างไร ถึงจะทำให้เครื่องบินโดยสารที่ทำจากโลหะน้ำหนักมากกว่า 1,000 ตัน บินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูงกว่า 30,000 ฟุต แต่ปัจจุบันถือว่าคำถามเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่ผู้โดยสารอย่างเราๆ ก็ยังมีคำถามอีกมากมายเกี่ยวกับเครื่องบิน ที่อยากถามกัปตันนู่นนี่นั่นหลายอย่าง และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านไปชมคำตอบกัน
1. จะมีเข้าไปในห้องนักบินได้อย่างไร ถ้าประตูถูกล็อคจากข้างใน ?
แน่นอนว่าจู่ๆ จะมีคนเข้าไปในห้องนักบินไม่ได้เนื่องจากประตูห้องนักบินจะถูกล็อคไว้ตลอดเวลา แต่ในกรณีฉุกเฉินเช่น หากนักบินทั้งสองเกิดหมดสติ พนักงานต้อนรับบนเครื่องจะมีรหัสพิเศษที่หลังจากกรอกรหัสไปแล้ว ประตูนักบินจะเปิดภายใน 1 นาที เว้นแต่ว่านักบินจะกดล็อคมันไว้ เพราะหากนักบินเห็นภายในกล้องวงจรปิดแล้วว่าไม่ใช่พนักงานที่กำลังพยายามจะเปิดประตู พวกเขาสามารถปิดตายประตูนั้นเพื่อไม่ให้ผู้บุกรุกเข้าไปได้
2. นักบินสามารถไว้หนวดเครา หรือเจาะหูได้หรือไม่ ?
การไว้หนวดเคราที่หนา หรือการเจาะต่างใบหน้า จะส่งผลต่ออุปสรรคในการใส่หน้ากากออกซิเจนได้อย่างถูกต้อง หน้ากากออกซิเจนจะถูกออกแบบมาให้พอดีกับศีรษะ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักบินแต่ละคนจะต้องมีใบหน้าเกลี้ยงเกลาอยู่เสมอ
3. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเครื่องยนต์หยุดทำงาน ?
หากเกิดเครื่องยนต์ดับไป 1 เครื่อง เครื่องยนต์อีกฝั่งจะสามารถช่วยเสริมพลังงานให้เครื่องบินยังสามารถบินต่อไปได้ และถ้าหากเครื่องยนต์ดับสองข้างก็ยังมี APU หรือตัวจ่ายพลังงานสำรองที่ท้ายเครื่อง ที่มีหน้าที่เลี้ยงพวกระบบไฮดรอลิค ระบบไฟฟ้า คอยช่วยอยู่อีก แต่ถ้าน้ำมันหมดจนเครื่องไม่ทำงาน APU ก็จะไม่ทำงานด้วย นักบินต้องกางตัว Ram Air turbine (เป็นใบพัดเล็กๆ) ออกมาเพื่อให้กระแสลมด้านนอกปั่นผลิตพลังงานแทน APU ซึ่งในระหว่างนั้น กัปตันก็จะหาสนามบินที่ใกล้ที่สุดหรือสนามบินสำรอง และบินตามแรงเฉื่อยไปเรื่อยๆ ซึ่งสามารถลงจอดได้
ตัวอย่างเช่นกรณีของเครื่องบินโบอิ้ง 747 เหนือเมืองจาวา ในปี 1982 ซึ่งเครื่องบินลำดังกล่าวเจอพิษของเถ้าถ่านภูเขาไฟระเบิดเข้าไป ทำให้เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวหยุดทำงานพร้อมกัน แต่กัปตันก็สามารถนำเครื่องบินร่อนลงสนามบินที่ใกล้ที่สุด ซึ่งผู้โดยสารกว่า 263 ชีวิตไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ
4. หน้ากากออกซิเจนทำงานได้นานเท่าไหร่ ?
ระดับของออกซิเจนและความดันภายในเครื่องบินมีความสัมพันธ์กัน ถ้าความดันในห้องโดยสารสูงขึ้น ผู้คนจะเริ่มมีภาวะขาดออกซิเจน จากนั้นก็จะหมดสติและสามารถตายได้ถ้าเกิดไม่มีหน้ากากออกซิเจน
หน้ากากออกซิเจนที่เราเห็นกันอยู่บนเครื่องจะสามารถใช้ได้ประมาณ 10-15 นาที นั่นก็เพียงพอสำหรับนักบินที่จะนำเครื่องบินลงไปสู่ระดับความสูงที่คุณสามารถหายใจได้เป็นปกติ ส่วนตัวนักบินเองก็จะมีหน้ากากออกซิเจนเป็นของตัวเองที่ใช้ได้นานกว่า นั่นก็เพื่อที่จะให้นักบินสามารถนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย โดยไม่หมดสติไปเสียก่อน
5. นักบินนอนหลับในห้องนักบินได้หรือไม่ ?
มีนักบินมากถึง 56% ที่เผลอหลับไประหว่างบิน แต่โชคดีที่เครื่องบินในยุคปัจจุบันนี้มีโหมดบินอัตโนมัติที่ถูกใช้เกือบตลอดการเดินทางอยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศก็ติดต่อกับนักบินอยู่เกือบตลอดเวลา
สำหรับไฟลท์บินที่ยาวนาน อาจมีลูกเรือ 2 คน หรือนักบิน 3 คน ที่คอยเป็นตัวสำรองเพื่อจะได้ผลัดกันพักผ่อนได้ นักบินจะมีห้องนอนพิเศษ สิ่งสำคัญก็คือลูกเรือจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศตลอดเวลา และต้องมีนักบินอย่างน้อย 1 คนที่คอยควบคุมการบินอยู่เสมอ
6. ทำไมบางครั้งเครื่องบินต้องบินวนเป็นวงกลมก่อนลงจอด ?
นี่เป็นสถานการณ์ที่ปกติมากๆ เครื่องบินอาจบินวน 2 รอบก่อนลงจอดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีวัตถุหรือสัตว์ที่อยู่บนรันเวย์ หรืออาจมีลมที่แรงมากจนนักบินไม่สามารถเอาเครื่องลงได้ทันที ส่วนผู้โดยสารหลายคนอาจกังวลว่าทำไมถึงใช้เวลาลงจอดนานผิดปกติ แต่ความเป็นจริงแล้ว ทุกอย่างจะอยู่ใต้การควบคุมอยู่ตลอดเวลา
7. ถ้ามีเด็กคลอดบนเครื่องบิน เด็กจะถือเป็นพลเมืองของประเทศใด ?
มีตัวเลือก 2-3 ตัวเลือก ได้แก่ ประเทศที่สายการบินนั้นจดทะเบียน ประเทศที่เครื่องบินอยู่เหนือน่านฟ้าตอนที่เด็กเกิด หรือ ประเทศที่เครื่องบินลงจอด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะเลือกตัวเลือกแรกมากที่สุด แต่บางครั้งการตัดสินใจก็เป็นของทางสายการบิน ส่วนบางสายการบินก็ให้ของขวัญสำหรับเด็กคนดังกล่าว ให้สามารถบินฟรีไปที่ไหนก็ได้ในโลก ตลอดชีวิตของเด็กน้อย
8. เครื่องบินลงจอดด้วยโหมดอัตโนมัติได้หรือไม่ ?
เครื่องบินในยุคใหม่ จะมีระบบควบคุมที่ช่วยไกด์เครื่องบินจากระดับความสูง 1,000 ฟุต จนเกือบลงจอดบนรันเวย์ ในระหว่างลงจอด มันเป็นไปได้ที่จะเลือกโหมดอัตโนมัติ แต่ต้องเปิดใช้โดยนักบิน และควรอยู่ภายใต้การควบคุมซึ่งสามารถกลับไปบังคับได้ตลอดเวลา
9. ลงจอดบนพื้นน้ำหรือพื้นดินปลอดภัยกว่า ?
ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องบิน ในกรณีส่วนใหญ๋ มันง่ายกว่ามากที่จะนำเครื่องลงจอดบนพื้น เพราะน้ำจะเข้าท่วมเครื่องบินด้วยความรวดเร็ว และพื้นน้ำยังมีความหยาบกว่าพื้นดิน เพราะความหนาแน่นและความสม่ำเสมอ อ้างอิงจากสถิติแล้ว การนำเครื่องบินลงจอดฉุกเฉินบนพื้นดิน มีผู้รอดชีวิตมากกว่าพื้นน้ำ
10. นักบินกินอะไรหว่างทำงาน ?
มีเมนู 2-3 อย่างที่แยกเฉพาะต่างหากสำหรับนักบินโดยเฉพาะที่นักบินสามารถเลือกกินได้ ถ้ากัปตันรับประทานไก่ ผู้ช่วยกัปตันก็จะได้กินปลาหรือเนื้อที่แตกต่างออกไป นี่เป็นวิธีที่ช่วยหลีกเลี่ยงอาหารเป็นพิษจากเมนูเดียวกันได้ และนักบินก็สามารถนั่งกินได้ตรงที่นั่งของตัวเองโดยการใช้โต๊ะพิเศษที่อยู่ตรงโซนควบคุม แต่บางสายการบินก็ไม่ได้ยึดตามกฏเหล่านี้ ซึ่งนักบินเองก็อาจได้รับประทานอาหารที่ไม่แตกต่างจากผู้โดยสาร
11. ทำไมบางครั้งนักบินก็บินไปพร้อมกับผู้โดยสาร ?
ในบางครั้ง นักบินเองก็ต้องบินจากสนามบินหนึ่งไปยังอีกสนามบินพร้อมๆ กับผู้โดยสารคนอื่นๆ โดยในระหว่างการเดินทาง ถ้าพวกเขาสวมยูนิฟอร์มอยู่ ก็จะไม่สามารถนอนหลับ กิน หรือชมภาพยนตร์สวมหูฟังต่อหน้าผู้โดยสารได้ เพราะการที่นักบินทำเช่นนี้อาจทำให้ผู้โดยสารตื่นตระหนก ดังนั้นโดยส่วนมากแล้ว นักบินจะนั่งอยู่ในที่นั่งพิเศษหรือในชั้นเฟิร์สคลาส
12. เหตุการณ์ไหนเลวร้ายที่สุดระหว่าง ชนนก ฟ้าผ่า หรือโดนพายุลูกเห็บ ?
หลายคนคงคิดว่าฟ้าผ่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด แต่การที่ฟ้าผ่าลงเครื่องบินสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง แต่ผู้โดยสารเองไม่ทันได้รู้ตัว น้อยครั้งมากๆ ที่ฟ้าฝ่าจะทำให้เกิดไฟดับบนเครื่อง แต่นักบินเองก็มีคู่มือที่จะรีบูตระบบไฟฟ้าบนเครื่องกลับขึ้นมาได้ใหม่ และบินต่อไปได้อย่างราบรื่น
เครื่องบินชนนก ฟังดูไม่น่าจะอันตราย แต่จริงๆ แล้วมันอันตรายกว่าที่คุณคิด เพราะถ้านกเกิดเข้าไปในใบพัด พวกมันอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายและเกิดไฟไหม้ได้ ใบพัดทุกๆ อันก็ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะรอดจากการชนของนก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เครื่องบินเองจะมีเครื่องกำเนิดเสียงรบกวนชนิดพิเศษที่ทำให้นกอยู่ห่างจากเครื่องบิน
ส่วนพายุลูกเห็บนั้นเป็นอันตรายมากเช่นเดียวกัน แต่ในสภาพอากาศที่เลวร้าย นักบินมักจะทราบล่วงหน้าและหลีกหลี่งจุดที่เกิดพายุลูกเห็บได้ก่อนเสมอ
13. ทำไมถึงมีลายก้นหอยอยู่บริเวณใบพัด
ใบพัดเครื่องบินทำงานได้ค่อนข้างเงียบมาก ถ้าคุณเผลอเข้าไปใกล้มันในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่ล่ะก็ คุณอาจถูกพัดกระเด็นไปไกลหลายเมตรจนเกิดบาดเจ็บได้ ดังนั้นวิธีป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ก็คือ การทำลวดลายก้นหอยหรือสัญลักษณ์พิเศษเอาไว้ตรงกลาง เพื่อให้ผู้คนสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าใบพัดกำลังทำงานอยู่
14. คนธรรมดาสามารถนำเครื่องบินลงจอดได้หรือไม่ ?
ถ้าคุณโดยสารอยู่บนเครื่องบินสมัยใหม่ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะลงจอดสำเร็จ จากการทดลองด้วยเครื่องจำลองการบินแสดงให้เห็นว่า พนักงานต้อนรับเองก็สามารถนำเครื่องบินสมัยใหม่ลงจอดได้ นั่นเพราะระบบคอมพิวเตอร์ที่คอยช่วยแนะนำคุณ รวมถึงการได้รับคำแนะนำทางวิทยุจากหอควบคุมการบินก็ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จได้
15. ทำไมถึงไม่ให้ร่มชูชีพแก่ผู้โดยสาร ?
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยสงสัยเช่นกัน แต่ร่มชูชีพเองก็ไม่ได้ช่วยอะไรถ้าเครื่องบินกำลังตก และแม้แต่ในสถานการณ์ที่ปกติสุขดี ผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถใส่ร่มชูชีพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และเพื่อที่จะกระโดดจากเครื่องบินโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ เครื่องบินควรจะบินช้าๆ และไม่สูงเกินกว่าระดับ 16,000 ฟุต
เชื่อหรือไม่ว่ามีผู้โดยสารบางคนที่นำร่วมชูชีพใส่กระเป๋าเดินทางนำขึ้นเครื่องบินไปด้วย คุณอาจลองทำตามก็ได้ แต่ควรรู้ไว้ว่าราคาของร่มชูชีพ 1 อัน ก็แพงพอๆ กับรถยนต์ดีๆ คันหนึ่งเลยทีเดียว
16. นักบินกลัวการบินบนฟ้าหรือไม่ ?
เครื่องบินตกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นในท้องฟ้า แต่มันเกิดขึ้นบนพื้นดินในปี 1977 เมื่อเครื่องบิน 2 ลำประสานงากันกลางรันเวย์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 583 คน จากสถิติแล้วอุบัติเหตุบนเครื่องบินเกิดขึ้นในระหว่าง 3 นาทีแรกหลังเครื่องบินขึ้น และ 8 นาทีก่อนเครื่องบินลงจอด แต่ก็ยังมีผู้คนมากถึง 95.7% ที่รอดชีวิตจากเครื่องบินตก และนั่นทำให้นักบินเกือบทั้งหมดไม่กลัวเวลาที่พวกเขาบินอยู่บนฟ้า
และถ้าคุณต้องการโอกาสในการรอดชีวิตที่ดีกว่าล่ะก็ การนั่งอยู่ท้ายเครื่องบินถือว่าเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด และควรเลือกที่นั่งอยู่ภายใน 5 แถวของประตูฉุกเฉิน
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : | เรียบเรียงโดย เพชรมายา