หลายครั้งที่เรามักจะโดนสื่อประโคมข่าวต่างๆ ให้สถานการณ์มันรุนแรงกว่าความเป็นจริง มีหลายคนที่ออกมาเปิดเผยเบื้องหลังเหล่านี้ และมองสื่อกลายเป็นผู้ร้ายที่สักแต่ว่าจะขายข่าว จนยอมละทิ้งจรรยาบรรณของตัวเองเพื่อสร้างเรื่องราวที่เกินจริงขึ้นมา แต่เรื่องราวนี้กลับมีอะไรที่ซับซ้อนไปกว่านั้น
ภาพข่าวที่น่าตื่นตระหนกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็คือภาพเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงอยู่หน้าประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) โดยถูกอ้างว่าเป็นภาพไฟไหม้ที่เกิดจากกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงปารีส
แต่แล้ว ชาวเน็ตนามว่า Dovey Wan ได้โพสต์ภาพนี้เปรียบเทียบกับอีกภาพหนึ่ง โดยเธอกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า มันเป็นเพราะ “มุมกล้อง”
ทวิตของเธอมีคนกดไลค์ไปมากกว่า 6.3 หมื่นครั้ง และแชร์ต่อไปกว่า 3.7 หมื่นครั้ง
ชาวเน็ตส่วนใหญ่ก็มาคอมเมนท์ในเชิงต่อว่าสื่อ ถึงการนำเสนอข่าวที่เกินจริง การสร้างภาพหลอกลวงให้คนเชื่อว่าการประท้วงครั้งนี้รุนแรงจนถึงขนาดมีการเผาบ้านเผาเมืองกันเลยทีเดียว
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่ออย่างนั้น เพราะดูเหมือนว่าสำนักข่าวต่างประเทศอย่าง AFP ได้ตัดสินใจตรวจสอบกรณีนี้ และพวกเขากล่าวเอาไว้ในทวิตแรกว่า “ภาพทั้ง 2 ภาพนี้ถูกถ่ายใน 2 วันที่แตกต่างกัน และ 2 สถานที่ๆ แตกต่างกัน ในกรุงปารีส”
“การวิจารณ์สื่อเป็นสิ่งถูกต้องตามกฏหมาย แต่นี่ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่สุด ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายในวันและสถานที่ๆ แตกต่างกัน และ AFP ก็ไม่ได้พบภาพถ่ายเดี่ยวๆ ของสกูตเตอร์ไฟไหม้ ที่มีฉากหลังเป็นประตูชัยฝรั่งเศส”
ทาง AFP ได้กล่าวว่า “ภาพถ่ายแรกถูกถ่ายขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม โดย แคเทอรีน ปิแอร์ ช่างภาพของ ฮานส์ ลูคัส เอเจนซี่”
“ส่วนภาพที่ 2 ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมบนถนน ฟรีดแลนด์ อเวนิว โดยทีมงานช่างภาพคนหนึ่งที่นิตยสารของฝรั่งเศสที่ชื่อว่า LePoint ที่โพสต์ภาพนี้ลงบนทวิตเตอร์”
นอกจากนั้นทาง AFP ยังเปรียบเทียบให้ดูว่า ตำแหน่งของถนนฟรีดแลนด์ อเวนิว เวลามองไปที่ประตูชัยฝรั่งเศส มันไม่ได้เหมือนกับในภาพถ่ายแรกที่เกิดไฟไหม้เลย
ส่วนถนนที่แท้จริงในภาพแรกไม่ใช่ ฟรีดแลนด์ อเวนิว แต่มันเป็นอีกฝั่งที่เรียกว่า ฟอค อเวนิว สิ่งที่ยืนยันได้ก็คือ
1) เสาโคมไฟ, 2) สัญญาณไฟจราจร และ 3) รั้วตรงนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนน Traktir ทางด้านขวา
ส่วนการเฉลยข้อมูลนี้ทาง AFP กล่าวว่า “นี่เป็นความจริงอันน่าขันของการบิดเบือนข้อมูลในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ข้อมูลนี้ถูกยืนยันครั้งแรกโดยนักข่าวของเราในเม็กซิโก เพราะมีนักข่าวชิลีคนหนึ่งสงสัยเกี่ยวกับภาพพวกนี้ และได้รับการยืนยันอีกครั้งจากทางปารีส”
ส่วนชาวเน็ตหลายๆ คนก็ถึงกับตาสว่างกับเรื่องราวหลอกซ้อนหลอกนี้ ส่วนภาพที่แท้จริง มีชาวเน็ตคนหนึ่งกล่าวว่า นี่คือภาพมุมกว้างของภาพแรก ที่ถูกถ่ายโดยช่างภาพคนเดียวกัน ในวันเดียวกัน
สุดท้ายเรื่องนี้ก็สอนให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง และที่สำคัญก็คือไม่ควรเชื่ออะไรง่ายๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต และควรตรวจสอบหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนที่จะเชื่อฝังใจ เพราะมิฉะนั้น คุณอาจตกเป็นเหยื่อของผู้ที่หลอกลวงเหล่านี้ก็เป็นได้
สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ
ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา