ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้คุณเห็นว่าโลกกำลังร้องไห้

ในปี 2017 ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ช่วง 150 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า อีกไม่นานยุโรปและอเมริกาจะถูกปกคลุมด้วยสภาวะอากาศหนาวไปตลอดกาล แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์หายไปอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่ากว่าเมื่อ 10 ปีก่อน การแปรปรวนของสภาพอากาศยังคงทำให้เกิดปรากฏการณ์แปลกๆ อีกมากมายบนโลกเราใบนี้ และมันจะยิ่งรุนแรงต่อไปยิ่งขึ้นอีกในอนาคต

วันนี้เพชรมายาจึงขอพาทุกท่านไปชมภาพและเรื่องราวที่จะช่วยสะท้อนให้เราได้เห็นว่า ธรรมชาติกำลังเปลี่ยนไปจากมนุษย์ผู้เป็นต้นเหตุ และดูเหมือนว่าโลกเราใบนี้กำลังร้องไห้เพื่อขอให้เราเริ่มทำอะไรบางอย่า ก่อนที่จะสายเกินไป

1 ผู้คนต้องปรับตัวตามความร้อนที่สูงขึ้น

เนื่องจากผลกระทบจากสารประกอบทางเคมีที่มีต้นกำเนิดมาจากมนุษย์ ส่งผลให้โอเซนของเราเบาบางลงไปทุกขณะ และส่งผลให้การป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตลดลงอีกด้วย ในอริโซนาเองคุณจะพบอุณหภูมิที่ร้อนถึง 4.8 องศาส่วนในคูเวตเองก็มีคุณอุณหภูมิที่สูงถึง 53 องศา

2. อากาศหนาวเฉียบพลันที่ไม่ปกติ

การทำลายโอโซนไม่เพียงแต่ส่งผลให้อากาศร้อนขึ้นเท่านั้น ในหลายๆ พื้นที่ของโลกก็เกิดสภาวะอากาศหนาวแบบเฉียบพลัน โดยเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่และลานินญ่า ที่ทำให้อุณหภูมิโลกเกิดความแปรปรวน นอกจากมนุษย์แล้วคุณอาจเคยเห็นภาพสัตว์ที่ต้องต่อสู้กับสภาวะหนาวเย็นแบบผิดปกติเหล่านี้ อย่างเช่นจระเข้ตัวนี้ที่ต้องจำศีลอยู่ภายในน้ำแข็ง

ในขณะที่จระเข้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ แต่อย่างกิ้งก่าอีกัวน่าที่ต้องเข้าสู่สภาวะจำศีลเช่นเดียวกัน ไม่อาจจะทนกับสภาวะอากาศหนาวได้มากเท่าไหร่ และนั่นอาจหมายถึงจุดจบของพวกมันอย่างแท้จริง

3. หิมะตกในทะเลทรายซาฮาร่า

คุณอาจไม่เคยรู้ว่า ทะเลทรายที่มีชื่อเสียงในแอฟริกาแห่งนี้ ก็มีหิมะตกมาแล้ว 3 ครั้งในรอบ 40 ปี โดยพื้นที่ในเมืองอิน เซฟรา ประเทศแอลจีเรียที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาแอตลาส ถูกพบว่ามีหิมะตกครั้งแรกในปี 1979 เมื่อจู่ๆ ก็เกิดพายุหิมะนานกว่าครึ่งชั่วโมง ก่อนที่ปลายปี 2016 และต้นปี 2018 จะมีหิมะตกอีก

4. เสือโคร่งไซบีเรียออกจากป่าเพื่อมาหาอาหาร

เนื่องจากการลักลอบล่าสัตว์และการตัดไม้ทำลายป่าที่ผิดกฏหมาย ส่งผลให้เสือโคร่งไซบีเรียหลายตัวเริ่มที่จะออกมาบนถนน และรอให้ผู้คนนำอาหารมาให้ เสือไม่ใช่สัตว์เพียงชนิดเดียวที่ทำแบบนี้ มีสัตว์ป่าผู้หิวโหยจำนวนมากต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่าและการลักลอบล่าสัตว์ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังคุกคามโลกเราอยู่ในทุกวันนี้

5. พื้นที่ป่าในบราซิลที่หายไป

จากภาพนี้เราจะเห็นว่า พื้นที่ของป่าอเมซอนได้ถูกถางทำลายเนื่องจากชาวบ้านต้องการเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกถั่วเหลือง บราซิลถือเป็นประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองได้มากถึง 97.8 ล้านตัน ในช่วงปี 2015/2016 โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2014/2015 กว่า 3.2% และถ้าเราต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เราอาจเห็นป่าหมดไปจากโลกภายในปี 2040 ก็เป็นได้

6. จอทีวีขนาดยักษ์ท่ามกลางหมอกควันในประเทศจีน

เมื่อมนุษย์เริ่มมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้คนกว่า 85% บนโลกใบนี้ต้องหายใจอากาศที่เป็นมลพิษเข้าไป จากภาพด้านบนคุณจะเห็นการตัดกันของสีบนจอทีวีขนาดยักษ์ กับสภาพของหมอกควันภายในเมืองเสิ่นหยาง ประเทศจีน

7. เมืองที่อยู่ห่างจากไฟป่า 100 กิโลเมตร

นี่คือภาพถ่ายในเมืองกิฆอน ประเทศสเปน ตอนเวลา 10 โมงเช้า ที่อยู่ห่างจากการเกิดไฟป่าถึง 100 กิโลเมตร แต่คุณจะเห็นถึงความน่ากลัวของไฟป่าที่เปลี่ยนท้องฟ้าของเมืองแห่งนี้เป็นสีแดงฉาน

ส่วนในสหรัฐอเมริกาได้มีการบันทึกไว้ว่า ในปี 2017 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุไฟไหม้ป่ากว่า 66,131 ครั้ง ทำลายพื้นที่ไปกว่า 24.7 ล้านไร่ และ 90% ของการเกิดไฟป่า เกิดจากทัศนคติที่มนุษย์ไม่ใส่ใจมันเท่าที่ควร

8. สีชมพูปรากฏขึ้นในอ่างเก็บน้ำ

ชาวบ้านในประเทศรัสเซียต้องประหลาดใจเมื่อจู่ๆ อ่างเก็บน้ำของพวกเขากลายมีสีชมพูอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคาดว่าเกิดจาก “ฝนกรด” ที่เป็นตัวการของเหตุการณ์แปลกๆ นี้

ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำและสารเคมีอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก กรดไนตริก และสารมลพิษอื่นๆ ส่งผลให้เกิดเป็นฝนกรดในที่สุด

9. ผู้คนจำนวนมหาศาลบนชายหาดในบราซิล

ริโอ เดอ จาเนโร ถือเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งคุณสามารถเห็นได้จากภาพนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำนายเอาไว้ว่า ประชากรของโลกเราจะพุ่งขึ้นสูงถึง 9 พันล้านคนในปี 2030 ซึ่งถ้าเรามองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาเมื่อประมาณ 101 ปีก่อน ในปี 1927 โลกของเรามีประชากรเพียง 2 พันล้านคนเท่านั้น

10. จุดจบของหมีขาวผอมโซในทะเลอาร์กติก

ภาพถ่ายนี้แสดงให้เห็นถึงหมีขาวที่ผอมโซเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อนส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในเขตหนาวอย่างมาก โดยเฉพาะระบบนิเวศในแถบทะเลอาร์กติก ในแต่ละปี ปริมาณน้ำแข็งขั้วโลกจะลดลง นั่นหมายความว่า บ้านของพวกมันกำลังค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ วิธีการอยู่รอดของสัตว์เหล่านี้คือการสะสมไขมันไว้ใช้ในระหว่างฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำแข็งก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติ

11. น้ำมันรั่วไหลจากการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันในปี 2010

ในทุกๆ ปี จะมีปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลเข้าสู่ทะเลราว 12 ล้านตัน เนื่องจากสาเหตุการรั่วไหลของบ่อและถังกักเก็บน้ำมัน และมีพื้้นผิวมหาสมุทรถึง 25% ที่ถูกปกคลุมโดยชั้นน้้ำมันที่มีความหนาแตกต่างกันไป

ในปี 2010 ได้เกิดเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ระเบิด ส่งผลให้น้ำมันกว่า 1,000 ตันรั่วไหลเข้าสู่ทะเล ทางบริษัทบริติช ปิโตรเลียม ได้ใช้้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ ในความพยายามแก้ปัญหานี้ แต่พวกเขาก็สามารถกำจัดน้ำมันได้เพียงแค่ 75% เท่านั้น

12. ม้าน้ำกับคอตตอนบัด ทำให้เราเห็นสภาพที่แท้จริงของทะเลในทุกวันนี้

คุณอาจไม่เคยรู้ว่า มีขยะพลาสติกมากกว่า 260 ตันที่ถูกทิ้งลงในทะเลทุกๆ ปี และนั่นส่งผลให้เกิดเป็น “ทวีป” ขยะขนาดมหึมา โดยพื้นที่กองขยะที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในทะเลแปซิฟิก โดยกินพื้นผิวของมหาสมุทรไปกว่า 10%

13. พลาสติก หายนะของวาฬ

ปัญหามลพิษทางทะเลกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในทุกๆ ปี มีหลายเคสที่พบว่า วาฬได้กลืนพลาสติกเหล่านี้เข้าไปในปริมาณมาก จนต้องจบชีวิตลงอย่างอนาถ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทางกรีนพีซในฟิลิปปินส์ ได้สร้างอนุเสาวรีย์ซากวาฬบนชายหาดแห่งหนึ่ง ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา ซึ่งพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของอนุเสาวรีย์แห่งนี้เป็นขยะของจริงที่ถูกพบในมหาสมุทรอีกด้วย

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา