บริษัทญี่ปุ่นอ้างว่าสามารถสร้าง “แว่นตาอัจฉริยะ” ที่รักษาสายตาสั้นได้

คูโบต้าฟาร์มาซูติคอลโฮลดิ้งส์ ของญี่ปุ่นได้พัฒนา ‘แว่นตาอัจฉริยะ’ ที่หากสวมใส่เพียงหนึ่งชั่วโมงต่อวัน สามารถรักษาสายตาสั้นได้

อาการสายตาสั้น ทำให้ผู้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่วัตถุที่อยู่ไกลออกไปจะพร่ามัว เพื่อให้มองเห็นชัดเจน ผู้คนจึงสวมใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือทำเลสิก

แต่บริษัทแห่งนี้ ได้คิดค้นวิธีการจัดการกับปัญหาสายตาสั้นแบบใหม่ ด้วยการสวมใส่ ‘แว่นตาอัจฉริยะ’ ที่พวกเขาผลิตขึ้นเท่านั้น

โดยในการทดสอบ ได้มีการฉายภาพจากเลนส์ของตัวเครื่องไปยังเรตินาของผู้สวมใส่ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในการหักเหของแสงที่ทำให้เกิดสายตาสั้น ด้วยการใส่แว่นนี้ 60 ถึง 90 นาทีต่อวัน จะสามารถช่วยแก้ไขสายตาสั้นได้

ดร.ริว คูโบต้า ผู้ก่อตั้ง คูโบต้าฟาร์มาซูติคอลโฮลดิ้งส์ เผยว่า แว่นตาอัจฉริยะนี้ ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบ โดยยังไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้สวมใส่จะมีสายตาปกติ ต้องสวมแว่นนานเพียงไหน และมีผลนานเท่าใด

เดือนธันวาคมปีที่แล้ว บริษัทได้เปิดเผยว่า แว่นตาพิเศษอาศัย micro-LEDS ในการฉายภาพเสมือนจริงบนสายตารอบข้าง เพื่อกระตุ้นเรตินา โดยไม่รบกวนกิจกรรมประจำวันของผู้สวมใส่

ผลิตภัณฑ์นี้ใช้เทคโนโลยีคอนแทคเลนส์หลายเลนส์ ช่วยกระตุ้นจอประสาทตาส่วนปลายทั้งหมดด้วยแสงที่พร่ามัว

เทคโนโลยีแว่นตาอัจฉริยะ คูโบต้าใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยี และพยายามช่วยลดไม่ให้สายตาสั้นเพิ่ม ด้วยการกระตุ้นเรตินาในช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะที่ยังคงการมองเห็น และไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน

คูโบต้าฟาร์มาซูติคอลโฮลดิ้งส์ เริ่มการทดลองทางคลินิก ในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้วและกำลังทำการทดสอบกับคนประมาณ 25 คนในสหรัฐอเมริกาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแว่นตาอัจฉริยะ

โดยบริษัท มีแผนจะเริ่มจำหน่ายอุปกรณ์ในเอเชีย ในครึ่งปีหลัง พ.ศ.2564 แต่มีแผนที่จะเข้าสู่ตลาดอื่น ๆ ในอนาคตและกำลังพัฒนาไปสู่คอนแทคเลนส์ที่แก้ไขปัญหาสายตาสั้นต่อไป

ที่มา : odditycentral | เรียบเรียงโดย เพชรมายา

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ