ดวงตาของเราสามารถจับภาพสุดท้ายก่อนเสียชีวิตได้หรือไม่

ก่อนหน้าที่จะมีการตรวจ DNA หรือวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยอื่น ๆ ที่ใช้ในการสืบสวนคดีอาชญากรรมทุกวันนี้ ได้มีการทดลองอย่างหนึ่งที่ดูราวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ชื่อของมันคือ ออพโตกราฟฟี (Optography) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า จอประสาทตาของเรา สามารถบันทึกภาพสุดท้ายที่เห็นก่อนตายได้

optography-00

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17 นักบวชคนหนึ่งนามว่า คริสโตเฟอร์ ไชเนอร์ สังเกตุเห็นภาพแปลก ๆ ในตากบที่ตายไปแล้ว ซึ่งเขาตั้งสมมุติฐานว่า นี่อาจเป็นภาพสุดท้ายที่เจ้ากบตัวนี้เห็นก่อนที่มันจะตาย

optography-01

แต่ข้อทฤษฎีนี้ก็เป็นได้แค่แนวคิดของนักบวชคนหนึ่ง จนกระทั่งมีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพในอีก 200 ปีต่อมา

optography-02

ในช่วงเวลานั้นเอง วิลเฮล์ม คูห์เน ชาวเยอรมนี มาสานต่อทฤษฎีที่เรียกว่า “ออพโตกราฟฟี” เขาเชื่อว่า ตาทำงานเหมือนกับกล้องถ่ายภาพ สารเคมีบางอย่างที่ถูกพบในจอประสาทตา อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่คล้ายกับภาพเนกาทีฟ

นี่คือสิ่งที่ถูกพบในตาของกระต่าย ภาพที่ปรากฏมีลักษณะคล้ายกับหน้าต่าง

optography-03

จูเลส เวิร์น เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในนิยายของเขาที่ชื่อว่า Les Frères Kip ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับฆาตกรที่จะต้องทำลายดวงตาของเหยื่อทุกครั้งที่ฆาตกรรม เพราะกลัวที่จะถูกจับได้ด้วยภาพจากจอประสาทตา

optography-04

ออพโตกราฟฟี ได้รับความนิยมมาก ณ เวลานั้น ก่อนที่จะค่อย ๆ เงียบไป หลังจากมันถูกพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จอประสาทตาจะเก็บภาพสุดท้ายก่อนตายเอาไว้

optography-05

ถึงแม้สังคมจะมีความคาดหวังสูงเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ เพื่อช่วยในเรื่องการสืบสวนคดีต่าง ๆ แต่ ออพโตกราฟฟี ไม่เคยได้มีโอกาสนำมาใช้สืบสวนคดีใด ๆ เลย สุดท้ายเรื่องนี้ก็ดูเหมือนเป็นแค่ไอเดียและความเพ้อฝันเท่านั้นเอง

ที่มา : creepybasement