ครู ถือเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะและมีความรับผิดชอบอย่างมาก เนื่องจากเป็นงานที่ช่วยต้องหล่อหลอมนักเรียนให้เติบมาขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ครูบางคนก็พยายามพัฒนาการสอนของตัวเองให้เป็นที่น่าสนใจ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่บางครั้งวิธีการสอนของพวกเขาก็กลายเป็นที่ถกเถียงกันว่าถูกต้องเหมาะสมจริงหรือไม่
นี่คือเรื่องราวของคุณครูหว่อง ที่กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์หลังจากที่เขานำระบบเศรษฐกิจจำลองมาใช้ในบทเรียน เพื่อสอนนักเรียนเกี่ยวกับการเงินในโลกแห่งความเป็นจริง
ครูหว่องเป็นครูประจำชั้นของเด็กนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 โดยเขาได้สร้างสกุลเงินขึ้นมาเองที่เรียกว่า Brain Bucks (BB) และให้เด็ก ๆ ต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเรียนด้วยเงินสกุลนี้เป็นรายเดือน
ครูหว่องอธิบายว่าในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน เด็กนักเรียนจะต้องจ่ายค่าเช่าโต๊ะเป็นจำนวน 15 BB โดยเด็ก ๆ สามารถได้รับเงินนี้ได้จากการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การเข้าเรียนตามปกติจะได้รับเงินวันละ 1 BB นอกจากนั้นก็จะได้รับเงินพิเศษอีกจากการรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ หรือการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
หากนักเรียนมีเงิน BB เหลือก็สามารถนำเงินไปซื้อของต่าง ๆ ในหีบสมบัติของคุณครูได้ ยิ่งเด็ก ๆ เก็บเงินได้มากขึ้น ก็จะสามารถซื้อสิ่งของในหีบสมบัติที่มีราคาแพงขึ้นได้
นอกจากนั้นเด็ก ๆ ยังสามารถสั่งของได้ในร้านค้าออนไลน์ “หว่องเมซอน” ซึ่งมีสิทธิพิเศษที่พวกเขาสามารถซื้อสินค้าได้เรื่อย ๆ และสุดท้ายเด็ก ๆ ต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวน 3 BB
หรือเด็ก ๆ จะเก็บเงินจนถึง 75 BB เพื่อนำไปซื้อโต๊ะเรียนเป็นของตัวเอง ซึ่งในกรณีนี้เด็กจะไม่ต้องจ่ายค่าเช่าทุกเดือน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าเด็ก ๆ จะใช้จ่ายเงิน BB ของตัวเองอย่างไร
หลังจากที่เขาได้เผยแพร่เรื่องนี้ออกไป ชาวเน็ตบางคนก็รู้สึกประทับใจ แต่บางคนก็รู้สึกว่าการสอนแบบนี้ทำให้เด็กในวัยนี้เครียดเกินความจำเป็น
เมื่อได้ยินถึงข้อกังวลของชาวเน็ต ครูหว่องได้ออกมาอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าเด็ก ๆ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าโต๊ะ ครูเองก็ไม่ได้ยึดโต๊ะไปหรือทำให้เด็กอับอายที่ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้
หลังจากนั้นเขาก็จะพยายามหาสาเหตุว่าทำไมเด็กนักเรียนถึงมีเงินไม่พอ ถ้ามันมาจากเหตุปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น เด็กใช้เงินซื้อสมบัติเยอะเกินไป ครูหว่องก็จะพูดคุยกับเด็กนักเรียนซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะสอนให้เด็กคิดเรื่องงบประมาณ รวมถึงเขามักจะให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสรับเงินพิเศษอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ ต้องเผชิญความเครียดเหมือนผู้ใหญ่
แต่ถ้าเด็ก ๆ ไม่มีเงินพอจ่ายค่าเช่าโต๊ะเพราะเหตุผลอื่น ๆ เช่น ขาดเรียนจากปัญหาสุขภาพ หรือพ่อแม่ไม่สามารถพามาโรงเรียนได้ ครูหว่องก็จะไม่คิดค่าเช่าเพราะเรื่องของชีวิตจริงเป็นสิ่งสำคัญกว่า เขาทราบดีว่ามันเป็นเพียงแค่เกมที่มาช่วยในการสอนเด็กนักเรียนให้เตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่พวกเขาต้องเจอเมื่อตอนโตขึ้นเท่านั้น
ในขณะที่ผู้คนอยากทราบว่า ครูใช้การหักเงินเป็นบทลงโทษบ้างหรือไม่ ซึ่งครูหว่องกล่าวว่า ระบบเศรษฐกิจจำลองนี้มีไว้เพื่อเสริมแรงในเชิงบวกไม่ใช่เพื่อการลงโทษ
และหลังจากได้รับฟังความคิดเห็นจากชาวเน็ต ครูหว่องตัดสินใจเพิ่มวันลาป่วยและวันหยุดส่วนตัวให้เหมือนกับชีวิตจริงอีกด้วย รวมถึงกำลังจะพิจารณาระบบประกันต่อไปเพื่อให้เกมดูสมจริงยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญที่สุดที่ครูหว่องชี้ให้เห็นคือ เขาไม่ให้เงิน BB กับเด็ก ๆ หากพวกเขาต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อหวังว่าจะได้เงิน พวกเขาจะไม่ได้รับมันไป ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็ก ๆ มีวิธีได้รับเงิน BB จากช่องทางมากมาย และครหว่องเองก็สามารถติดตามได้ผ่านแอปพลิเคชันอีกด้วย
คุณคิดเห็นอ่างไรเกี่ยวกับวิธีสอนของครูหว่องบ้าง เด็ก ๆ ควรเรียนรู้เรื่องค่าเช่า ภาษี งบประมาณตั้งแต่ ป.4-ป.5 หรือไม่ ลองมาแบ่งปันความคิดเห็นของคุณได้ครับ
ที่มา: teamvuong | เรียบเรียงโดย เพขรมายา