เปิดภาพข้างในเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก ที่ชาวโลกส่วนใหญ่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ถ้าคุณต้องการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก คุณจำเป็นต้องซื้อตั๋วเดินทางโดยเรือโดยสาร แต่หลังจากที่ จอห์น อัลค็อก และ อาร์เธอร์ บราวน์ นักบินชาวอังกฤษสามารถบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 1919 นั่นคือการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ และในปี 1928 เรือเหาะ กราฟ เซปเปลิน (Graf Seppelin) จากสายการบิน DELAG ได้ถือกำเนิดขึ้นและนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรือเหาะที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารที่ถูกใช้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า 136 เที่ยว รวมผู้โดยสารกว่า 13,110 คน โดยไม่เคยเกิดอุบัติเหตุใดๆ

การเดินทางข้ามทวีปในปัจจุบันคุณอาจต้องใช้เวลานั่งหงิกอยู่บนเครื่องนานครึ่งวัน แต่ถ้าย้อนกลับไปในสมัยนั้น คุณจะต้องอยู่บนเรือเหาะลำนี้นานถึง 4 วัน โดยมีราคาค่าตั๋ว 400 เหรียญในตอนนั้น แต่ถ้าเทียบเป็นค่าเงินในปัจจุบันคือ 7,050 เหรียญ หรือประมาณ 218,000 บาท ซึ่งคุณต้องเป็นคนที่มีฐานะเท่านั้นถึงจะได้ขึ้นเรือเหาะลำนี้

ในปี 1936 สายการบิน DELAG ได้ทำการเปิดตัวเรือเหาะ ฮินเดนเบิร์ก โดยถือเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา โดยมีความยาวถึง 776 ฟุต และเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 100 ฟุต ทำความเร็วสูงสุด 128 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภายในของเรือเหาะฮินเดนเบิร์กถูกออกแบบโดย ฟริตซ์ ออกัสต์ บรูเฮาส์ สถาปนิกชื่อดังชาวเยอรมันที่เคยออกแบบทั้งรถไฟ เรือเดินสมุทร หรือแม้แต่เรือรบของกองทัพเยอรมัน

และถ้าคุณต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 4 วัน ภายในเรือเหาะแห่งนี้จึงต้องมีสถานที่ๆ รองรับให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย อย่างเช่นห้องอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกประดับด้วยภาพวาดและวอลเปอเปอร์ผ้าไหม ที่ถูกออกแบบโดย ออตโต อาร์ปเก ศิลปินกราฟฟิกชื่อดังของยุค

ภาพสีที่หายากบนเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก

ห้องสังสรรค์

ห้องสังสรรค์ที่ถูกตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังของออตโตเช่นกัน รวมถึงมีแผนที่ขนาดใหญ่บนกำแพง ที่ทำให้เราเห็นถึงเส้นทางการเดินเรือของนักสำรวจผู้มีชื่อเสียงในอดีต

ไม่ว่าจะเป็น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน, วัชกู ดา กามา และกัปตันคุก รวมถึงการเดินทางของเรือเหาะรุ่นเก่าอย่าง กราฟ เซปเปลิน และเรือเดินสมุทรที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมันอย่าง เบรเมน และ ยูโรปา

นอกจากนั้นในห้องสังสรรค์แห่งนี้ ยังได้มีการขนเปียโนน้ำหนัก 161 กิโลกรัม ที่ทำจากดูราลูมิน (วัสดุอลูมิเนียม อัลลอยที่แข็งแรง) และถูกปกคลุมด้วยผ้าคลุมหนังสีเหลือง

เรือเหาะฮินเดนเบิร์ก ได้รับการขนานนามว่าเป็น “โรงแรมบินได้แห่งแรกของโลก” ซึ่งมันแตกต่างจาก กราฟ เซปเปลิน ที่รวมทุกอย่างอยู่ในห้องเดียวบนตัวเรือเหาะ แต่ฮินเดนเบิร์กถูกแบ่งออกเป็น A Deck และ B Deck

แต่เดิมที บนเรือเหาะลำนี้ถูกออกแบบให้มีเตียงคู่ 25 เตียงในบริเวณใจกลาง A Deck ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 50 คน หลังจากที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1936 ได้การเพิ่มห้องโดยสารอีก 9 ห้องใน B Deck เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 20 คน

กำแพงและประตูของห้องโดยสารถูกทำมาจากโฟมที่มีน้ำหนักเบาที่ถูกคลุมด้วยผ้า พื้นที่ห้องโดยสารใน A Deck จะมีสีอยู่ทั้งหมด 3 สีได้แก่สีฟ้าอ่อน สีเทา และสีเบจ นอกจากนั้นยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ที่อยู่ใน B Deck

ห้องเขียนหนังสือ

ห้องสูบบุหรี่

หนึ่งในพื้นที่ที่น่าประหลาดใจที่สุดบนเรือเหาะไฮโดรเจนก็คือ “ห้องสูบบุหรี่” อย่างไรก็ตามมันอยู่สูงกว่าความดันบรรยากาศ ในกรณีถ้าเกิดการรั่วไหล ไฮโดรเจนจะไม่สามารถผ่านเข้ามาในห้องสูบบุหรี่ได้

บาร์

นอกจากนั้นก็ยังมีโซนบาร์ที่ถูกแยกออกมาจากส่วนที่เหลือของเรือเหาะโดยมีประตูกั้น 2 ชั้น และมีไฟแช็คไฟฟ้าให้คุณเพียงแค่อันเดียวเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้มีเปลวไฟบนเรือเหาะเด็ดขาด

ห้องควบคุมการบิน

หน้าตาอุปกรณ์ควบคุมการบินของเรือเหาะ ที่แตกต่างจากเครื่องบินในยุคนี้อย่างเห็นได้ชัด

พื้นที่ลูกเรือ

ส่วนที่พักของลูกเรือ

ห้องครัว

รูปภาพบนกำแพงดูคุ้นๆ

จุดจบสุดท้ายของเรือเหาะฮินเดนเบิร์กเป็นเหตุการณ์ใหญ่ในระดับประวัติศาสตร์ที่หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง เพราะในวันที่ 6 พฤษภาคม 1937 เรือเหาะฮินเดนเบิร์กเกิดติดไฟอย่างรวดเร็วระหว่างการพยายามลงจอด ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่รอดชีวิต จากจำนวนผู้โดยสาร 36 คน และลูกเรือ 61 คน มีผู้โดยสารต้องจบชีวิตลง 13 คน ลูกเรือ 22 คน รวมถึงลูกเรือภาคพื้นดินอีก 1 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดมิได้จบชีวิตจากไฟไหม้ แต่เป็นการกระโดดลงจากที่สูง ผู้โดยสารที่อยู่กับห้องโดยสารปลอดภัยทั้งหมดเนื่องจากเปลวไฟที่ร้อนจัดพัดขึ้นเบื้องสูง ลูกเรือที่จบชีวิตส่วนใหญ่มาจากการเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่อยู่ในห้องโดยสารหรือที่กระโดดลงมาก่อน นับเป็นเหตุการณ์ที่มีการรายงานโดยสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ ภาพถ่ายและวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในตอนนั้นอีกด้วย

ส่วนสาเหตุของเหตุการณ์สะเทือนขวัญในครั้งนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดเนื่องจากเทคโนโลยีสืบสวนในสมัยนั้นยังไม่ดีเท่าไหร่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือเรือเหาะไฮโดรเจนทุกลำของบริษัทไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์อีกเลย เนื่องจากผู้โดยสารไม่มั่นใจในความปลอดภัย

สามารถติดตามเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ข้างล่างครับ

ที่มา : boredpanda | เรียบเรียงโดย เพชรมายา