14 ภาพที่น่าเหลือเชื่อ แต่จริงๆ แล้ว เบื้องหลังมันคือการหลอกลวง

ภาพที่ดูน่าทึ่งน่าอัศจรรย์มากมาย ถูกส่งถูกแชร์กันบนโลกออนไลน์ โดยเราไม่เคยรู้ที่มาที่ไปเลยด้วยซ้ำว่า บางภาพก็เป็นเรื่องหลอกลวงที่ถูกตัดต่อขึ้นมา ลองมาดู 14 ภาพลวงโลกที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ดู แล้วจะรู้ว่า บนโลกออนไลน์นี้ เราเชื่ออะไรแทบไม่ได้เลยจริงๆ

1. ฉลามโจมตีเฮลิคอปเตอร์

hoax-pics-01

ภาพนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 2001 ซึ่งถูกอ้างว่า เป็นภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยมแห่งปีจากเนชันแนลจีโอกราฟฟิค แต่จริงๆ แล้วมันถูกตัดต่อขึ้นจากภาพถ่ายเฮลิคอปเตอร์ตรงสะพานโกล์เดนเกท กับภาพปลาฉลามใน เฟลสเบย์ ประเทศแอฟริกาใต้

2. แตงโมดวงจันทร์

hoax-pics-02

แตงโมดวงจันทร์นี้ ถูกอ้างว่า ผลิตในญี่ปุ่น รสชาติของมันยังสามารถเปลี่ยนความรู้สึกในการรับรสของเราในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วย สนนราคาประมาณลูกละ 6,500 บาท แต่จริงๆ แล้ว ภาพนี้ถูกตัดต่อให้เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินเท่านั้นเอง

3. แสงไฟในอินเดีย

hoax-pics-03

ภาพประเทศอินเดีย ที่ถ่ายจากดาวเทียม ถูกอ้างว่าเป็นแสงสีที่เกิดจากเทศกาลดิวาลี เป็นเทศกาลแห่งแสงไฟของชาวฮินดู โดยทุกบ้านเรือนจะต้องจุดบูชาไฟกัน ตามที่ต่างๆ อยู่ประมาณ 5 วัน แต่จริงๆ แล้วมันเป็นภาพการเปลี่ยนแปลงของแสงไฟในอินเดียจากปี 1992 – 2003 เท่านั้นเอง ไม่เกี่ยวกับเทศกาลใดๆ ทั้งสิ้น

4. จักรยานเก่า ในต้นไม้

hoax-pics-04

ตำนานบอกไว้ว่า เป็นเรื่องราวของเด็กบนเกาะ Vashon ในวอร์ชิงตัน ที่ล่ามโซ่จักรยานไว้กับต้นไม้นี้ในปี 1914 และไปออกรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเขาก็ไม่ได้กลับมาอีกเลย จนต้นไม้เติบใหญ่ขึ้นปกคลุมจักรยานเอาไว้ แต่จริงๆ แล้ว จักรยานนี้มีวันที่ผลิตอยู่ในปี 1950 เด็กที่ชื่อว่า ดอน พุซ จำได้ว่า เขาฝังมันไว้ในต้นไม้ที่โตแล้วในปี 1954 แต่ยังไงก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อัศจรรย์อยู่ดี

5. พายุเฮอริเคน ที่นิวยอร์ค #1

hoax-pics-05

ภาพที่แสดงให้เห็นถึงพายุเฮอริเคนแซนดี้ในปี 2012 ก่อตัวอยู่เหนือเทพีเสรีภาพ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นแค่การตัดต่อภาพเท่านั้นเอง

6. พายุเฮอริเคน ที่นิวยอร์ค #2

hoax-pics-06

ส่วนภาพนี้ไม่ใช่การตัดต่อแบบกระโหลกกระลา แต่มันเป็นภาพที่มาจากหนังเรื่อง The Day After Tomorrow ซึ่งก็ดันมีสำนักข่าวบางทีเอาไปใช้รายงานข่าว ติดโลโก้เสร็จสรรพ จนดูแล้วใครก็คิดว่าเป็นของจริง

7. พายุเฮอริเคน ที่นิวยอร์ค #3

hoax-pics-07

เรื่องราวลวงโลกอีกหนึ่งภาพ ซึ่งภาพนี้เป็นภาพจริงไม่ได้ตัดต่อ ผู้คนเอาไปแชร์ต่อกันบนโลกออนไลน์โดยคิดว่าเป็นภาพของพายุเฮอริเคนแซนดี้ แต่จริงๆ แล้วมันคือภาพจากบทความ Wall Street Journal ในปี 2011 ที่มีก่อนจะเกิดพายุแซนดี้เป็นปี

8. หัตถ์พระเจ้า

hoax-pics-08

ภาพอันน่าเหลือเชื่อที่เกิดจากการก่อตัวของเมฆที่ผิดปกติ โดยถูกอ้างว่าเป็น “หัตถ์ของพระเจ้า” ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าหลังจากพายุที่เลวร้ายผ่านพ้นไป ซึ่งแน่นอนว่า จริงๆ แล้ว มันเริ่มมาจากภาพเมฆที่ดูแล้วแปลกดี ส่วนมือนั้นถูกตัดต่อเพิ่มมาทีหลังนั่นเอง

9. ปราสาทไอริช

hoax-pics-09

ปราสาทนี้ดูเจ๋งมากๆ แต่มันไม่ใช่เรื่องจริง และไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับชาวไอริชแม้แต่น้อย จริงๆ แล้วมันคือปราสาทแห่งหนึ่งในเยอรมัน แต่ถูกตัดต่อให้มาอยู่บนก้อนหินที่อยู่ในประเทศไทยเรานั่นเอง

10. วัดที่สาบสูญของลีซิสทราทา

hoax-pics-10

อย่างแรกคือ ลีซิสทราทา ไม่ใช่วัด เธอเป็นตัวละครตัวหนึ่งในโชว์ตลกของชาวกรีก ที่ถูกห้ามมีเพศสัมพันธ์กับสามี เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามเพโลปอนเนเชียน และอย่างที่สองคือ ภาพนี้ถูกตัดต่อมาจาก วิหารแพนธีออน ในกรุงโรม และ อัลการ์ เซโก ในโปรตุเกส

11. ภาพเท้าเด็กทารกอันน่าขนลุก

hoax-pics-11

สาวๆ อาจไม่กล้าตั้งครรภ์ เพียงเพราะเห็นภาพนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ไม่สามารถ ทำให้ท้องเกิดเป็นลักษณะรูปเท้าเช่นนี้ได้เลย

12. แสงเหนือ

hoax-pics-12

หากคุณคิดว่า ภาพด้านซ้ายคือแสงเหนืออันสวยงามที่เกิดขึ้นเหนือภูเขาแล้วล่ะก็ คุณคิดผิด เพราะนี่ไม่ใช่แสงเหนือ แต่เป็นภาพของเนบิวล่ากลุ่มดาวนายพรานในอวกาศ ที่ถูกตัดต่อให้มาอยู่เหนือภูเขานั่นเอง

13. ป่าสีม่วงในสก็อตแลนด์

hoax-pics-13

ภาพด้านซ้ายมือ ถูกอ้างว่าเป็นป่าที่มีมนต์เสน่ห์ที่ไม่เหมือนใครในสก็อตแลนด์ โดยมีต้นไม้เป็นสีม่วงทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วภาพต้นฉบับคือภาพทางด้านขวาไม่ได้มีสีม่วงแม้แต่น้อย

14. รูปปั้นหินที่น่าเหลือเชื่อในภูฏาน

hoax-pics-09

สถานที่ๆ ดูตื่นตาตื่นใจแห่งนี้ถูกอ้างว่าเป็นอารามแห่งหนึ่งในภูฏาน โดยมีรูปปั้นแกะสลักอยู่บนแท่งหินอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว ภูเขาแปลกๆ นี้มีอยู่จริง คือ ภูเขาเทียนซี่ ในประเทศจีน ส่วนรูปปั้นแกะสลักถูกตัดต่อเพิ่มเข้าไปทีหลัง

ที่มา : viralnova | เรียบเรียงโดย : เพชรมายา