9 หนังดังที่ซ่อนความหมายบางอย่างเอาไว้ โดยที่คุณไม่เคยรู้

ทุกครั้งที่เราชมภาพยนตร์เรื่องต่างๆ เรามักจะเห็นสิ่งที่ภาพยนตร์ได้สอดแทรกเอาไว้ บางอย่างก็เป็นสิ่งที่รับรู้และเห็นได้อย่างชัดเจน แต่บางอย่างก็เป็นการอุปมาอุปไมยจากผู้ชม โดยการนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่จริงรอบตัวเรา ส่วนภาพยนตร์เรื่องไหนจะมีทฤษฎีอะไรซ่อนอยู่บ้าง ลองไปชมกัน

 

1. Inception : การสร้างภาพยนตร์

movie-hidden-01

 

ภาพยนตร์เรื่อง Inception เป็นการอุปมาอุปไมย เหมือนกับการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง ที่สอดคล้องกับทีมสร้างภาพยนตร์

movie-hidden-10

 

อีมส์ (ทอม ฮาร์ดี) คือนักแสดงที่เปลี่ยนบทบาทไปตามต้องการ, แอเรียดเน (แอลเลน เพจ) คือผู้เขียนฉาก, มิสเตอร์ไซโตะ (เคน วาตานาเบ) คือผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ผู้จ่ายเงินให้กับโครงการ, ยูซุฟ (ดิรีป เรา) รับผิดชอบเรื่องสเปเชียลเอฟเฟค, อาร์เธอร์ (โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์) คือผู้กำกับศิลป์ ผู้ช่วยทำให้ภาพยนตร์ดูมีชีวิตชีวา, คอบบ์ (ลีโอนาโด ดิคาปริโอ) คือผู้กำกับ คนเดียวที่รู้ว่าทุกสิ่งควรจะจบอย่างไร และสุดท้ายจุดประสงค์ของกลุ่มคือการปลูกความคิดลงในหัวผู้คน ซึ่งนั่นไม่ต่างอะไรกับจุดประสงค์ของการสร้างภาพยนตร์เลย

 

2. The Matrix : ทฤษฎีสมคบคิด

movie-hidden-11

 

นอกจากเป็นภาพยนตร์ที่ต้องใช้ความเข้าใจในการดูสูงแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยสัญลักษณ์และข้อมูลลับที่ซ่อนอยู่มากมาย ที่บางคนเชื่อว่ามาจากองค์กรลับฟรีเมสัน ซึ่งแต่ละทฤษฎี ต้องการคำอธิบายที่ค่อนข้างละเอียดพอสมควร

movie-hidden-02

 

หนึ่งทฤษฎีที่น่าสนใจคือในฉากหนึ่งของหนัง จะมีการฉายให้เห็นหนังสือเดินทาง (Passport) ของนีโอ ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าวันหมดอายุของหนังสือเดินทางคือวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเป็นวันที่เครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดในอเมริกานั่นเอง ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายเมื่อเดือนมีนาคม 1999 หรือก่อนที่โศกนาฏกรรมสะเทือนโลกนี้จะเกิดขึ้นถึง 2 ปีครึ่ง

 

3. Spiderman : วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ

movie-hidden-12

 

เหตุผลที่ตัวละครสไปเดอร์แมนได้รับความนิยมอย่างคาดไม่ถึงก็คือ “ความเรียบง่าย” ความจริงก็คือเรื่องราวของ ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ เสนอให้เห็นชีวิตของเด็กวัยรุ่นธรรมดาๆ คนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ หรือวัยแห่งความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคยเผชิญมาแล้วทั้งนั้น

movie-hidden-03

 

พระเอกของเราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ซึ่งในช่วงแรกเขาดูกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่เขาก็หาวิธีรับมือแบบเงอะๆ งะๆ และนั่นทำให้ชีวิตของเขาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

 

4. X-Men : การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

movie-hidden-13

 

X-Men เวอร์ชั่นแรก ถูกเขียนขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเป็นการ์ตูนที่เปรียบเทียบให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มคนผู้ที่เสียเปรียบทางสังคมอย่างแท้จริง แต่แนวคิดนี้ค่อนข้างมีบทบาทน้อยลงไปตามกาลเวลา

movie-hidden-04

 

ในขณะที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2000 ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการถูกกดขี่ทางเพศยังมีมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ คำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในภาพยนตร์คือ “เราต้องช่วยเด็กๆ ของเรา” หรือ “มนุษย์กลายพันธุ์จะมีสิทธิ์เท่าเทียมกับมนุษย์ปกติทั่วไป” จะเป็นประโยคที่คอยย้ำเตือนให้ทุกคนได้นึกถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในโลกแห่งความจริงได้เป็นอย่างดี

 

5. Groundhog Day : การรู้แจ้ง

movie-hidden-14

 

จะเป็นยังไง ถ้าคุณต้องตื่นมาแล้วพบว่ามันเป็นเมื่อวาน ? พระเอกของเรื่องนี้ต้องอาศัยอยู่ในวันเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกสิ่งที่เขาต้องเจอล้วนเป็นเหมือนเดิม เขาไม่สามารถข้ามผ่านไปวันพรุ่งนี้ได้ แล้วเขาจะต้องทำอย่างไรล่ะ ?

movie-hidden-05

 

หนังเรื่องนี้สอนให้เราเห็นถึงความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นและวิธีจัดการกับชีวิตจนสามารถทำลายวงจรนี้ไปได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา จนในที่สุดเขาก็ได้รู้แจ้งถึงวิธีการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในแต่ละวัน

 

6. The Lord of the Rings : การปกครองแบบเผด็จการ

movie-hidden-15

 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกอ้างอิงไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการเชื่อโยงอื่นๆ ไปถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของชาติตะวันตกและชาติตะวันออก และยังมีเรื่องราวอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตำนานความเชื่อโบราณระหว่างความดีกับความชั่ว

movie-hidden-06

 

หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ “Eye of Sauron” หรือ “ดวงตาแห่งเซารอน” ที่แสดงให้เห็นว่า ความชั่วร้ายที่แท้จริง ปรากฏให้เห็นชัดอยู่บนยอดหอคอยที่สูงตระหง่าน ซึ่งดูคล้ายกับดวงตาบนยอดพีระมิดในธนบัตร 1 ดอลลาห์สหรัฐ ที่เรียกว่า ตารู้แจ้ง (All Seeing Eye) เหมือนกับดวงตาของพระเจ้าที่เฝ้าดูทุกอย่าง ซึ่งสรุปแล้ว สัญลักษณ์ดวงตาเปรียบเสมือนกับแนวคิดของการสร้างระบอบเผด็จการของรัฐบาล ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกลัวและความรุนแรง

 

7. Toy Story 3 : การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

movie-hidden-07

 

อาจฟังดูแปลก แต่หลายคนมองเห็นสิ่งที่เรียกว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ในการ์ตูนอเนิชันภาคที่ 3 ของเรื่องนี้ ของเล่นที่ไม่ได้ใช้เพราะเจ้าของโตขึ้นถูกทิ้งไว้ในห้องใต้หลังคา ที่ถูกเปลี่ยนเป็นเหมือนห้องเรียนอนุบาล ซึ่งนั่นดูราวกับค่ายกักกันของฮิตเลอร์ ที่ถูกแทนด้วยเจ้าหมีลอตโซ่

movie-hidden-16

 

ฮีโร่ของเรื่องดูคล้ายกับชาวยิว ที่พยายามหาทางหนีจากการถูกจองจำ แถมผู้ที่ให้เสียกพากย์เรื่องนี้ ยังมีทฤษฎีที่อ้างอิงไปถึง แอนน์ แฟรงค์ หญิงสาวชาวยิว ที่ต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้หลังคา จากการล่าชาวยิวของนาซีในเนเธอร์แลนด์

 

8. The Wizard of Oz : ประชานิยม

movie-hidden-17

 

เรื่องราวที่เหมือนกับนิทานเล่าให้เด็กฟังก่อนนอนนี้ มีความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ ฮีโร่ของหนังเปรียบเหมือนชาวนาที่ยากจน และพ่อมด เปรียบเหมือนนักการเมืองที่ให้คำสัญญาเอาไว้มากมาย แต่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย และเมืองมรกตที่มีสีเขียวสวยงามดูราวกับเป็นเงินดอลลาห์สีเขียว

movie-hidden-08

 

มันอาจดูเป็นทฤษฎีที่ดูบ้าบอไปสักนิด แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธได้ว่า นิทานเรื่องนี้ประกอบไปด้วยสิ่งที่กล่าวถึงมาทั้งหมด

 

9. Game of Thrones : สงครามดอกกุหลาบ

movie-hidden-09

 

ผู้สร้างซีรีย์ที่โด่งดังชุดนี้ มีแรงบันดาลใจมาจากความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก ในสมัยศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นสงครามที่เรียกว่า สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses)

movie-hidden-18

 

ในช่วงระหว่างสงครามที่กินเวลานานกว่า 30 ปี ราชบัลลังก์ของอังกฤษถูกเปลี่ยนมือมากถึง 6 ครั้ง และทุกคนล้วนเตรียมพร้อมชิงความได้เปรียบจากการแต่งงาน หรือการควบคุมดินแดนบางส่วน ซึ่งเปรียบเทียบกับในซีรีย์ เราจะพบว่ามีหลายส่วนที่เหมือนกันอย่างเช่นแผนที่ของเวสเทรอสและอังกฤษในยุคกลาง ที่ถูกแบ่งออกเป็นแผ่นดิน 7 แห่งที่แตกต่างกัน

 

ที่มา : brightside | เรียบเรียงโดย เพชรมายา